วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่สีโห เขมโก วัดป่าวิเวกธรรม อ.เมือง จ.ขอนแก่น

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่สีโห เขมโก

วัดป่าวิเวกธรรม (เหล่างา)
อ.เมือง จ.ขอนแก่น

หลวงปู่สีโห เขมโก
หลวงปู่สีโห เขมโก วัดป่าวิเวกธรรม อ.เมือง จ.ขอนแก่น

หลวงปู่สีโห เขมโก ท่านเป็นศิษย์รุ่นเดียวกันกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร , หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ซึ่งทุกองค์ที่ได้กล่าวมานี้ เป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ที่เรายอมรับว่า “เป็นพระอรหันตเจ้า

หลวงปู่สี โห ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างยิ่งยวด ท่านชอบรุกขมูลไปตามป่าดง ไม่ชอบอยู่วัดวาอาราม ท่านจะอยู่แต่ในป่าเปลี่ยว ป่าช้าที่ไม่มีประชาชนเข้าไปพลุกพล่าน

นิสัยของท่านนั้น รักสถานที่วิเวกแวดล้อมด้วยสิงสาราสัตว์ ท่านถือว่า

“การอยู่วัดวาอารามนี้ ย่อมใกล้ชิดกับชาวบ้าน ทําให้ใกล้ความประมาท ถ้าแม้ทรงจิตไม่ได้ กิเลสจะเข้าเกาะกุมทําให้จิตใจกําเริบ”

จึงควรหลีกหนีสิ่งเหล่านี้ เข้าป่าดงพงไพรในภาคต่างๆ อยู่เป็นนิตย์

ในปี พ.ศ.๒๔๗๓ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้สั่งให้ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ออกรวมพระภิกษุและสามเณรจํานวนมาก จัดเป็นกองทัพธรรม ออกเผยแพร่ ธรรมปฏิบัติไปส่วนภูมิภาคต่างๆ ซึ่งท่านจัดเป็นหมู่คณะ ๕-๖ องค์ แยกย้ายกันไปเผยแพร่ความจริงในพระธรรมคําสั่งสอนของศาสดาเจ้า

หลวงปู่สีโห เขมโก ท่านก็ได้เป็นกําลังสําคัญองค์หนึ่งในครั้งนั้น กองบัญชาการ กองทัพธรรมในคราวนั้น ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ท่านเอาป่าช้าบ้าน เหล่างา (ปัจจุบันเป็นวัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น)

หลวงปู่สีโห เขมโก ท่านเป็นพระหนุ่มแน่นแข็งแรง แต่ทางด้านจิตภาวนานั้น มีชื่อเสียงในทางวิปัสสนากรรมฐานมาก เป็นที่ยกย่องจากหลวงปู่มั่น และท่านพระ อาจารย์สิงห์

หลวงปู่สีโห เดินธุดงค์พาคณะไปอยู่ในป่าช้าแห่งหนึ่ง ใน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ท่านได้แนะนําชาวบ้านให้มีหลักยึดถือ สําหรับจิตใจ คือ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก

หลวงปู่สีโหท่านมีจิตเมตตา ช่วยฉุดพวกมนุษย์ที่ชอบมั่วสุมในอบายมุขทั้งปวงให้กลับกลายเป็นคนดี มีศีลธรรมได้มาก

แต่พวกที่มีความเห็นผิดไม่รู้จักธรรม มีทิฐิแรงกล้ากลุ่มหนึ่งปองร้ายท่านด้วยการจะฆ่าคณะของหลวงปู่สีโห

“ความที่มีคุณธรรม มีศีล สมาธิ ปัญญานี้เอง สามารถโน้มน้าวจิต ใจ ของกลุ่มชาวบ้านพวกนั้น ให้อ่อนโยนลงได้ เพราะไปเจอเอาอิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่สีโหเข้า ทุกคนเกิดความหวาดกลัว ต้องร้องวอนขอขมาลาโทษ จึงจะพ้นจากบาปกรรมนั้น

การเดินธุดงคกรรมฐานของ หลวงปู่สีโห เขมโก ท่านประกอบความเพียรในป่าเขาเรื่อยมาจนมา ถึง จ.อยุธยา เพื่อมากราบนมัสการ หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง ท่านได้ มาพักปักกลดอยู่ท้ายวัดบําเพ็ญภาวนาธรรม

หลวงปู่สีโห เขมโก ท่านดําเนินจิตเข้าสู่ฌานสมาบัติและวิปัสสนาญาณ หลวงปู่ท่านได้ตั้ง ใจและตั้งมั่นคงที่จะจาริกธุดงค์ไปตามมรรคาของตน เพื่อแสวงหาพระนิพพานให้ถึงที่สุดบรรลุเป้าหมายในเบื้องปลาย

อุปสรรคหรือเหตุการณ์ร้ายๆ ทั้งหลายในขณะออกอยู่ป่าอยู่ดง หลวงปู่สีโห ได้รับและผ่านพ้นมาจนหมดสิ้น ทั้งหนักทั้งเบา

อันใดที่เกิดขึ้นท่านหลวงปู่จะตัดทอนให้สั้นเข้า ภาระหนักทั้งหลายก็เบาบางและสิ้นไป ความเห็นโทษในสงคราม ทําให้ท่านมีกําลังใจทุ่มเทกําลังทุกส่วนในร่าง กายลง เพื่อความเพียรทุกด้านไม่ยอมจน

ความอดทนต่อหน้าที่ไม่ยอมให้ขาด แม้จะทุกข์แสนทุกข์ก็ไม่ยอมหนี พยายามอด พยายามทน พยายามตีฝ่าวงล้อมจนทุกข์แตก หลวงปู่สีโห เขมโก สมกับเป็นศิษย์ ของพระเทศพลญาณผู้แกล้วกล้า โลกจึงตกลงปลงใจยอมกราบไหว้บูชาและปฏิบัติตามเรื่อยมาจนถึงพวกเรา

ศาสนธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ในทุกแง่ทุกมุม หลวงปู่สีโห เขมโก ได้ปฏิบัติมาแล้ว ล้วนเป็นสวากขาตธรรมโดยสมบูรณ์

หลวงปู่สีโห เขมโก ท่านเป็น พระที่มีปฏิปทาอันบริสุทธิ์งดงามยิ่ง

คําบอกเล่าจาก หลวงปู่คําดี ปภาโส แห่งวัดถ้ําผาปู่ จ.เลย ท่านยกย่องดังนี้

“อาตมาไปพบกับพระธุดงคกรรมฐานองค์แรก ที่ได้สนทนาธรรม คือ หลวงพ่อสีโห ท่านเป็นพระที่มีความสันโดษองค์หนึ่ง คุณธรรมก็สง่าน่านิยม ปฏิปทาแก่กล้าในทางความเพียร จิตใจแกล้วกล้าอาจหาญ

อิริยาบถต่างๆ ที่ได้พบในครั้งแรกตอนที่ท่าน หลวงปู่สีโห ออกบิณฑบาตในตลาดยามเช้าวันนั้น ก็เลื่อมใสในทันที และหลวงปู่ได้ตัดสินใจ ออกปฏิบัติธรรมบ้าง”

เมื่อ หลวงปู่คําดี ปภาโส กล่าวไว้เพียงเท่านี้ ก็เป็นอันว่านะ “พระสุปฏิบัติชาติอาชาไนยที่เป็นศิษย์ในสายของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทุกองค์ในยุคนั้น จะต้องมีหลักปฏิบัติที่เหมือนกัน แน่วแน่ในทางธรรมะยิ่งกว่าชีวิต

เมื่อได้อุทิศชีวิตเข้ามาในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ไม่ว่าพระผู้เฒ่า พระหนุ่ม สามเณรทุกองค์ ย่อมมีความเด็ดเดี่ยวภายในจิตใจดีแล้วว่าจะไม่มีการหันกลับไปใช้ชีวิตทางโลกอีกต่อไป ชีวิตของท่านเหล่านั้น จะต้องทุ่มเทอุทิศกายตายในผ้าเหลืองด้วยทุกองค์อย่างแน่นอน”

งานสร้างมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ ที่ดีมีจิตใจเป็นศีลเป็นธรรมนั้น ครูบาอาจารย์หลายๆ องค์เคยกล่าวไว้ว่า

“เป็นงานที่ยากยิ่ง…ทำมนุษย์ให้เป็นเทวดา ทําเทวดาให้เป็นพรหมนี้นะ

ทั้งนี้จิตใจเขาจะยอมรับเรา สอนไปไหนเท่านั้นเอง ถ้าเขาเอาเราก็หมดภาระ ถ้าเขาไม่เอาเราก็แย่กว่าจะทําสําเร็จลงเป็นขั้นตอน”

หลวงปู่สีโห เขมโก วัดป่าวิเวกธรรม (เหล่างา)

หลวงปู่สีโห ท่านได้ออกเผยแพร่ธรรมะสู่จิตใจชาวบ้าน เป็นเรื่องที่ต้องอดทน หลวงปู่เคย สอนชาวบ้านให้หันกลับมานับถือ พระไตรสรณคมน์ โดยเลิกนับถือ ผีป่า ผีปู่ตา ซึ่งเป็นสิ่งที่ยึดมั่นถือมันกันต่อๆ มาหลายชั่วอายุคนนั้น

ท่านเคยมานะพยายามอยู่เป็นเวลานาน แม้บางครั้งก็ต้องแสดงฤทธิ์ทางใจให้ปรากฏ พวกชาวบ้านจึงเชื่อและนับถือ พุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ต่อไป

การที่ หลวงปู่สีโห ท่านทรมานกิเลสภายในจิตใจของประชาชนนั้น ล้วนเข้าใจว่า อภินิหารทั้งนั้น

เช่นเกี่ยวกับครั้งหนึ่ง งูเหลือมมาพันร่างท่านไว้เพื่อจะกินเป็นอาหาร หลวงปู่สีโห ก็อาศัยอํานาจ ธรรมเมตตาโปรด งูจึงยอมคลายให้ท่าน

ถึงแม้ว่าบัดนี้ หลวงปู่ท่านจะมรณะภาพไปแล้วก็ตาม แต่คุณธรรมต่างๆ ของท่านที่ได้บำเพ็ญไว้ดีแล้วสมเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เดินตามรอยบาทพระศาสดา เป็นพระอริยสงส์ที่เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศที่ควรเคารพกราบไหว้บูชา อย่างแท้จริง