ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่สว่าง โอภาโส
วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม
ต.ทมนางาม อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี
พระครูสมณกิจจาทร (หลวงปู่สว่าง โอภาโส) พระอริยสงฆ์ผู้เป็นดั่งแสงสว่างส่องธรรมแห่งวัดป่าศรีอุดมรัตนาราม ต.ทมนางาม อ.โนนสะอาด จ.อุดรธานี อุปนิสัยของ หลวงปู่สว่าง โอภาโส ท่านมีปฏิปทามีความเป็นอยู่เรียบง่าย สันโดษ มักน้อย มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอันเป็นอัปปมัญญา ที่หาประมาณมิได้ เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในกิจการทั้งปวง ไม่ว่ากิจส่วนตัว หรือส่วนรวม องค์หลวงปู่จะเข้าพักผ่อนประมาณ ๕-๖ ทุ่ม ตื่นประมาณ ตี ๒-๓ ในช่วงกลางวันแทบจะไม่เห็นท่านพักเลยจะทำงานอยู่เสมอไม่ยอมอยู่นิ่ง งั้นเอาการทำงานเป็นเครื่องอยู่ของกาย ทั้งงานเล็กงานใหญ่ทำอยู่ทั้งวันบางครั้งก็ต่อเนื่องไปถึงทั้งคืนด้วย องค์หลวงปู่ไม่ชอบเที่ยวธุดงค์ไกลๆ ถ้ามีลูกศิษย์ลาไปธุดงค์ ถ้าจะแนะนำให้ไปอยู่กับครูบาอาจารย์ ไม่ให้ไปแบบไม่มีหลัก โดยนิสัยขององค์ท่าน ชอบที่จะเที่ยวไปในเขตภูเขา ใกล้ๆในป่าเขาสวนกวาง เมื่อเอ่ยถึงสถานที่ใด ไม่ว่าจะเป็นถ้ำ หน้าผา เนินเขาต่างๆ แล้ว ท่านจะรู้จักทุกคนแห่งแทบทุกก้อนหิน
ท่านสอนลูกศิษย์บ่อยๆ ว่า “ ผู้หลักหากินใกล้ ผู้ใบ้หากินไกล” ด้วยความหมายคือ ผู้มีหลักมีที่พึ่งของใจแล้ว ไม่ต้องไปเที่ยวไกล เที่ยวอยู่ใกล้ๆ มีก็ได้ พวกที่ไปเที่ยวไกลๆ นั้น มักเป็นพวกไม่มีหลักไม่ได้เรื่อง ถ้าจะขนาดผู้ที่คิดจะไปเที่ยวไกลๆ ว่า “พวกหมาขี้เรื้อนนอนที่ไหนมันก็คัน” “จิตดวงเดิมไปอยู่ที่ไหนก็เหมือนเดิม” “พระอรหันต์อยู่ที่ไหน จิตท่านก็สว่างอยู่ตลอดเวลา”
○ ชาติภูมิ
หลวงปู่สว่าง โอภาโส นามเดิมชื่อ นาย สว่าง สิทธิราช เกิดวันอาทิตย์ที่ ๑๔ สิหาคม ๒๔๗๖ ตรงกับแรม ๖ ค่ำ เดือน ๙ เวลาเช้าตรู่ ณ บ้านขามน้อย ต.โพนเมือง อ.เหล่าเสือโก้ก จ.อุบลราชธานี โยมบิดาชื่อนายพา โยมมารดาชื่อนางนิน ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวมกัน ๗ คน เด็กชายสว่าง สิทธิราช เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดบ้านขามน้อย หลังจากเรียนจบแล้ว ได้อยู่ช่วยบิดามารดา ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๘ อายุได้ ๑๒ ปี จะได้บวชเป็นผ้าขาวถือศีล ๘ ปฏิบัติอยู่กับหลวงลุงจอมที่วัดป่าโนนแดง ๓ ปี ต่อมาโยมบิดาได้ออกบวช เป็นหลวงพ่อพา จนกระทั่งมรณภาพ
ช่วงที่เป็นเด็กวัดอยู่นั้น ท่านได้ฝึกนั่งสมาธิภาวนาด้วย จนวันหนึ่งนั่งภาวนา พุทโธ พุทโธ ไป จิตก็สงบลงเกิดภาพนิมิต พระพุทธเจ้าประทับนั่งบนแท่นใต้ต้นไม้ใหญ่ กำลังแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่หมู่ชนที่พากันมาฟังธรรมเป็นจำนวนมาก เด็กชายสว่างในขณะนั้นได้สัมผัสกับรัศมีคุณธรรมของพระพุทธองค์ สัมภาษณ์กับแสงฉัพพรรณรังสี ที่พวยพุ่งออกมาจากพระวรกายของพระพุทธองค์เปล่งประกายเปล่งปลั่งเหมือนดั่งทอง ผ้าจีวรที่พระองค์ทรงครองอยู่ก็มีสีคล้ายสีทอง มิใช่สีกรัก เหลืองอร่ามงามดุจหุ้มด้วยทองคำ การได้เห็นภาพนิมิตในครั้งนั้นเป็นเหตุให้เด็กชายสว่างเกลือศรัทธาปสาทะเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปรารถนาจะบวชไปจนตลอดชีวิต
○ บรรพชาเป็นสามเณร
เป็นผ้าขาวที่วัดป่าโนนแดงปฏิบัติธรรมกับหลวงลุงจอมอยู่ ๒ ปี พอเข้าปีที่ ๓ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต ณ วัดสุปัฏวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระเทพวรคุณ (หลวงปู่อ่ำ ภัทราวุโธ) แห่งวัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังหลวงลุงจอมพิจารณาเห็นว่า สามเณรสว่างมีความขยันในการศึกษา จึงสนับสนุนส่งเสริมให้ได้เรียนทางปริยัติธรรมจึงส่งไปเรียนหนังสือที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี กับท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (หลวงปู่เส็ง ปุสฺโส) ท่านจึงได้สอนวิธีการนั่งสมาธิภาวนาให้กับสามเณรสว่าง ท่านบวชเป็นสามเณรอยู่จนถึงอายุ ๑๖ ปี จึงได้ลาสิกขา กลับมาช่วยทางบ้านทำไร่ไถนา จนถึงอายุ ๒๑ ปี ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว จึงมุ่งหน้าเข้าหางานเป็นช่างเย็บผ้าที่กรุงเทพมหานคร แล้วจึงเปลี่ยนอาชีพมาเป็นช่างตัดผม
○ การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
นายสว่าง สิทธิราช หลังจากทำงานเป็นช่างตัดผมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ถึง ๑๓ ปี แต่ก็ไม่ได้แต่งงานหรือมีครอบครัวแต่อย่างใด สาเหตุที่ทำให้ท่านกลับเข้ามาบวชในบวรพุทธศาสนาอีกครั้ง เพราะด้วยอาการป่วยด้วยโรควัณโรคลงปอดอาเจียนเป็นเลือด มีอาการทรมานทุรนทุรายอยู่ ๓-๔ ปี ท่านจึงอธิษฐานว่า “หากมีโอกาสจะได้บวชก็ขอให้โรคนี้หายภายในหนึ่งเดือน” จากนั้นท่านก็ลุกนั่งสมาธิเพราะว่าปวดท้องมากไม่สามารถนอนลงได้ เมื่อระยะเวลาผ่านไป ๑ เดือน อาการต่างๆ ได้หายเป็นปกติ แพทย์ก็วินิจฉัยว่าเป็นปกติแล้ว นี่จึงเป็นสาเหตุทำให้ท่านเดินทางจากกรุงเทพมหานครกลับมาที่ จ.ขอนแก่น เพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาอีกครั้ง
หลวงปู่สว่าง โอภาโส ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ เวลา ๑๑.๑๐ น. ณ พระอุโบสถวัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมี พระเทพบัณฑิต (หลวงปู่มหาอินทร์ ถิรเสวี) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศรีธรรมลังการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุพจนประกาศ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “โอภาโส”
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้อยู่ปฏืบัติธรรมกับ หลวงปู่ประเทือง ฐานุตฺตโม ที่วัดตาดฟ้า อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและอยู่ปฏิบัติอุปัฏฐากหลวงปู่ประเทือง จนท่านมรณภาพ
○ ออกปฏิบัติธรรมกับพ่อแม่ครูอาจารย์
พระสว่าง โอภาโส ปฏิบัติธรรมภาวนา ณ ดินแดนภูเขาสวนกวาง จนกระทั่งพรรษา ๓ ออกพรรษาท่านก็ได้ไปกราบขออนุญาตหลวงปู่ประเทือง เพื่อไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับครูบาอาจารย์ท่านต่างๆ จากนั้นพระสว่าง ท่านนได้เดินทางไปวัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู กราบนมัสการหลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านก็ได้เมตตาเล่าถึงเรื่องการปฏิบัติธรรมของท่าน ที่มีความพากเพียร มีแต่เข้มแข็งทั้งนั้น ภายหลังหลวงปู่สว่าง จะเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า “ลองคิดดูสิ หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านทำความพากเพียร เดือนตกจึงพัก วันเพ็ญเดือนไม่ตก ท่านก็ไม่พัก พำนักอยู่กับท่าน ลงอุโบสถร่วมกับท่านเพียง ๒ ครั้ง ท่านชี้แนะให้ไปอยู่ถ้ำนั้นนะ มีงู ไปภาวนาดี”
จากนั้นพระสว่าง จึงได้ออกวิเวกเพื่อมาฟังธรรมกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี ออกเดินทางจากวัดถ้ำกลองเพลมาถึงวัดที่หลวงปู่อ่อนพำนัก ท่านก็ได้ทักเสมือนหนึ่งว่าท่าหลวงปู่อ่อน รู้สภาวะจิตของพระสว่างในขณะนั้น “การภาวนานี่อย่าไปตะครุบแต่แสงสว่าง แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วอย่าไปตะครุบแต่แสงสว่างอยู่นั่น” ท่านคงจะรู้ว่าพระสว่าง ในขณะนั้นจิตเกิดโอภาสติดอยู่แต่ในแสงสว่าง ไม่ยอมพิจารณาเดินสู่ด้านปัญญา สำนักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่อ่อนพอสมควร พระสว่างก็ได้เดินทางไปกราบหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี ในตอนเช้าหลวงปู่บัว ท่านจัดอบรมญาติโยมในช่วงมาจังหัน โดยส่วนใหญ่ท่านจะอบรมเรื่องอริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เนื้อเรื่องพระไตรลักษณ์ ทุกข์ขัง อนิจจัง อนัตตา พระสว่างได้รับฟังก็เพลิดเพลินในธรรม พิจารณาธรรมใส่ตน ธาตุหลวงปู่บัว จะเน้นอบรมด้านปัญญาเป็นขั้นสูงสุด การฟังของพระสว่าง สมัยนั้นด้านสติปัญญาก็ยังไม่แก่กล้าพอ เพราะการพิจารณาสติปัญญาได้ยังไม่แจ่มชัดอาจจะแจ่มชัดก็ต้องอาศัยการเรียนฝึกสมาธิให้มากๆ เพื่อเป็นฐานอำนวยการสูงการเดินสู่ปัญญาขั้นสูง ตัดกิเลสให้ขาด จากนั้นพระสว่างก็มุ่งหน้าเดินทางไปสู่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี แล้วออกวิเวกไปทางอ.กุมภวาปี ต่อจากนั้นท่านก็มีโอกาสไปฟังเทศน์ของหลวงปู่คำดี ปภาโส
○ ผจญวิญญาณภูตสาว
การออกแบบเพื่อศึกษาธรรมกับครูบาอาจารย์ ของพระสว่างนั้น การไปศึกษากับครูบาอาจารย์ท่านต่างๆ ก็ล้วนแต่นโยบายเยี่ยมยล ๆ ดีทั้งนั้น ท่านจึงกลับมาเร่งเพียรภาวนาที่วัดป่าทมนางามอันเป็นสถานที่ท่านและหลวงปู่ประเทือง ได้อยู่บำเพ็ญสมณธรรม ครั้งหนึ่งพระสว่างได้มานั่งภาวนาอยู่ที่ถ้ำ จนจิตสงบลงสู่ภวังค์ ท่านก็ได้ทราบทางจิตสมาธิว่า มีวิญญาณหญิงม่าย รูปร่างอรชร สวยงามมาก มานอนคว่ำกายอยู่ตรงหน้าท่าน เพื่อมาเย้ายวนกวนอารมณ์จิตของท่าน มาพร้อมกับบุตรชาย ๒ คน บุตรนั้นก็นั่งขี่บนหลังแม่ของตน เด็กชายนั้นได้ถามหลวงปู่สว่างว่า “ศึกไปแล้วมาเป็นพ่อผมไหม? ” หลวงปู่ได้รับฟังคำขอจากเด็กน้อยผู้ต้องการพ่อแล้ว หลวงปู่จึงได้กล่าวกับเด็กชายนั้นว่า “โอ้! ไม่สึกหรอก เราไม่ได้มาแสวงหาทางด้านนี้ เรามาภาวนา” หลวงปู่บอกจุดประสงค์ของท่านในการออกบวชให้เด็กชายนั้นทราบ เด็กชายผู้นั้นจึงได้คลานกลับไปหาแม่ของตนดังเดิม จากนั้นวิญญาณสาวม่ายลูกสอง ก็อันตรธานหายไป หลวงปู่สว่างแล้วว่า “โอ้! ถ้าจิตเราไปชอบเขาเราจะต้องเป็นไข้หัวโกร๋น หรือไม่ก็ตาย มันเป็นอย่างนี้เอง ถ้าเราพอนานแล้วจะให้กิเลส ตัวชอบนี้ขึ้นมาแผดเผา มารักในทางนิมิตเราต้องเสร็จแน่ๆ อาจเป็นไข้ตายก็ได้”
○ เตือนอย่าขาดสวดมนต์ภาวนา
สมัยแรกๆ ที่หลวงปู่สว่าง มาอยู่ที่วัดป่าทมนางาม นพักอยู่ศาลไม้หลังเล็กๆ เวลานั้นอยู่ในช่วงเดือน ๓ เดือน ๔ หลวงปู่พำนักอยู่รูปเดียว ช่วงนั้นมักเกิดไฟไหม้ป่าอยู่เป็นประจำ ปกติหลวงปู่สว่างจะสวดมนต์ไหว้พระอยู่เป็นประจำมิได้ขาด โดยปกติธรรมดาในแต่ละวัน ท่านจะสวดเจริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ธรรมจักร เจริญเมตตามิได้ขาดโดยจะสวดมนต์อยู่ในกลดเพราะยุงเยอะ แต่ครั้งนี้แปลกใจพิกล หลวงปู่บอกกับตัวเองว่า “วันนี้ไม่ต้องสวดมนต์ก็ได้ วันนี้ขอเว้นสักหน่อยเถอะ” ความแปลกอัศจจรย์ก็บังเกิดขึ้น เมื่อจู่ๆ ปรากฎว่ามุ้งกลดได้ร่วงหล่นมาจากร่มกลด ลงกองอยู่บนพื้นศาลา หลวงปู่พิจารณา ว่ามุ้งกลดร่วงหล่นได้อย่างไร ปกติมุ้งจะไม่หลุดลงมาได้ง่ายๆ ท่านจึงนำมุ้งไปสวมแล้วทดลองดึงแรงๆ ดูก็ไม่หลุด หลวงปู่จึงพิจารณาเตือนตนว่า “เอ้อ เรามันขี้เกียจไม่อยากสวดมนต์บทธรรม เทพคงจะบรรดาลให้ทราบ” นับแต่นั้นมา ท่านจึงสวดมนต์มิได้ขาด พ่อแม่ครูอจารย์ท่านแนะนำว่า บทที่เทพเทวดาชอบฟังมากที่สุดก็คือบทสวดมนต์มหาสมัยสูตร เทพเทวดาจะมาฟงและอนุโมทนาเป็นประจำ
○ บำเพ็ญจิตภาวนาพิจารณากามราคะ
ขณะที่หลวงปู่มีอายุในช่วง ๓๗-๔๑ ปี เป็นช่วงที่หลวงปู่สว่างบำเพ็ญมาอย่างต่อเนื่อง สมัยนั้นท่านไปบำเพ็ญอยู่ที่ถ้ำพระอยู่ด้านท้ายวัด เร่งบำเพ็ญเพียรโดยการเดินจงกรมภาวนาจนจิตสงบอยู่ในสมาธิอย่างดูดดื่ม จิตดิ่งอยู่ในความสงบทั้งกลางวันและกลางคืน ประกอบกับการถือธุดงควัตรอยู่ในป่าเป็นวัตร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร โดยส่วนมาก ช่วงเข้าพรรษาในวันพระการภาวนาของหลวงปู่จะบำเพ็ญจนตลอดรุ่งเป็นประจำ สมัยที่หลวงปู่ปู่เป็นพระภิกษุหนุ่มธาตุขันธ์ยังแข็งแรง การบำเพ็ญเพียรจะเริ่มจากฉันจังหันเสร็จ ก็จะภาวนาไปถึงเที่ยง ตกเวลา ๔-๕ โมงเย็น เดินจงกรมแล้วก็ภาวนาในช่วง ๑-๒ ทุ่มเป็นประจำ ในภาวนาในอริยบทเดียวโดยไม่ขยับเขยื้อน ไม่ลุกขยับ นั่งภาวนาเป็นเวลาติดต่อเป็นเวลา ๑๐ ชั่วโมง แทบทุกเย็น แต่ก็ไม่ติดต่อกันทุกวัน การบำเพ็ญภาวนาของท่านภาวนาตั้งแต่ ๓ ทุ่ม อากาศหนาวจนนอนไม่หลับ ต้องลุกมานั่งสมาธิภาวนา จิตสงบเป็นสมาธิจนไปถึงเวลาสว่าง จิตมีแต่ผู้ลอยเด่น
บางช่วงแห่งการภาวนา หลวงปู่สว่างก็จะควบคุมกิเลสโดยการอดนอนผ่อนอาหาร สู่การพิจารณากามราคะ “เราเน้นอยู๋ในเรื่องอสุภกรรมฐานนี่แหละ เรากำหนดของเราแล้ว เราจึงไปพิจารณาผู้อื่น เมื่อเราเห็นของผู้อื่นปั๊บ เราก็น้อมของคนอื่นเข้ามาสู่ตัวเรา มันมีการแยกแยะอยู่หลายอย่าง บางทีก็พิจารณาอยู่ในธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ของเรา แต่นี้เราดูกายของเรา เพ่งดูตรงนั้นตรงนี้ ส่วนนั้นส่วนนี้ แล้วก็รวมเป็นอสุภกรรมฐานไปหมด เป็นของสกปรกโสโครก เห็นกายครั้งแรกเป็นร่างโครงกระดูก บางทีเรานั่งภาวนาก็เห็นร่างเดินเข้ามาหาเรานี้ ตรงนี้ทำให้เราชอบใจเหลือเกิน พอใจมาก
พอเราไปบิณฑบาตภาพใบหน้าคนตายมาติดตาเราแล้ว ดูใครก็เหมือนคนตายไปหมด ไปบิณฑบาตคนเดียวสมัยนั้นไมได้ยุ่งเกี่ยวกับใคร เห็นโครงกระดูกครั้งแรกในพรรษาที่ ๓ ไม่ได้เห็นเป็นแบบเน่าเปลี่ยนไปแบบบางท่านบางองค์ แต่เห็นกระดูกของเรา เวลามันเดินไป มันก็ฟัดกันไปฟัดกันมาดังก๊อกเก๊กๆๆๆ ก๊อกๆๆๆ กระดูกของเราเนี่ยแหละ เห็นเป็นกระดูกเดินจงกรม ตอนนี้จิตมันพยุงสมาธิให้อยู่ในอสุภะไว้เลย ไม่พิจารณา ไม่ยอมพิจารณา ในสมาธิจดจ่ออยู่มันเห็นนิมิตอันนี้แล้ว มันก็พยุงนิมิตอันนี้ไว้ ประคองนิมิตนี้ไว้ ก็เดินตัวเบาอยู่อย่างนั้น นานเท่าไหร่ไม่รู้มันเบาแล้ว
ถ้ามีเนื้อมีหนังมันหนัก มันเห็นเนื้อเห็นหนังมันหนัก มันเมื่อย ตอนเดินแรกๆ มันก็หนักร่างกาย(จิติดกาย) เป็นอย่างนี้เข้าเห็นกระดูก เบาไหม? มันจะหยุดไหม? เดินไม่หยุดหรอก มันต้องทำความเพียรอยู่อย่างนั้นจิตประคองนิมิต ประคองสมาธิอันนั้นไว้ ยังไม่ยอมพิจารณาอะไร แต่พอออกมาแล้วค่อยพิจารณากัน จะพิจารณาอย่างไรก็ได้ จะพิจารณาเป็นอย่างนี้ อย่างที่เราเกิดมานี่ก็เหลือแต่กระดูก มองใครก็มีแต่กระดูก ที่เหลืออยู่ในแผ่นดินอันนี้แผ่นดินอันนี้ก็จะทับถมกระดูกอันนี้ ไม่รู้ว่าเป็นกระดูกของใคร ไม่มีชื่อ ไม่มีนาม มีแต่กระดูกเต็มบ้าน เต็มเมือง เต็มแผ่นดิน นี่เมื่อพิจารณาอย่างนี้ ผู้หญิงผู้ชายมีไหมกระดูก นี่ก็พิจารณาไปอย่างนี้ เมื่อเวลาเราจะกำหนดให้เป็นกระดูก เราก็กำหนดเอา จะดีไหมทีนี้และจะไปกลัวอะไร
ปฏิปทาที่เห็นได้ชัดในการปฏิบัติ ภายในพรรษาทุกวันพระ หลวงปู่สว่างเป็นประธานทำวัตรสวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา ฝึกอบรมจิตตลอดคืน ซึ่งหลวงปู่กระทำให้ดู อยู่ให้เห็นเป็นแบบอย่างผู้นำที่ดี หรือธุดงควัตรข้อที่ ๑๓ คือเนสัชชิ ไม่นอนตลอดคืนธุดงค์ข้อนี้จะรวมไปถึงวันสำคัญพิเศษทั้ง ๓ วันอีกด้วย คือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา
ท่านเน้นกิจการงานส่วนรวมเป็นหลัก คือกิจสงฆ์ถือว่าสำคัญมาก การลงอุโบสถฟังปาฏิโมกข์ การทำวัตรเช้า-เย็น สวดมนต์ไหว้พระ การแสดงพระธรรมเทศนาอบรมลูกศิษย์ การบวชนาค ในฐานะที่ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ แม้จะป่วยอาพาธขนาดหนัก จนไม่สามารถจะเดินได้ ก็ต้องหาประครองท่านลงไป บวชในสีมากลางน้ำ
หลวงปู่มักสอนเสมอๆ ว่า “บําเพ็ญเพียรไปเถอะ ถ้าไม่ได้บรรลุธรรมในชาตินี้ก็จะเป็นทุนในภพชาติหน้าต่อไป จะได้ไม่ต้องทำเพิ่มอีกมาก หรือว่าหากเราบำเพ็ญได้เต็มรอบแล้ว เมื่อก่อนจะตายมีเวลาพินิจพิจารณาในช่วงวาระสุดท้ายงั้นแล้ว ก็อาจสามารถตัดกิเลสให้ขาดได้ในช่วงก่อนตาย ซึ่งเรียกว่า “สมสีสี” ก็เป็นได้…”
○ รู้ล่วงหน้าเรื่องการอาพาธและมรณภาพ
หลวงปู่สว่าง เมตตาเล่าเรื่องราวในอดีตที่สำคัญมากถ้ามาว่า “ในพรรษาที่ ๗ เราได้เร่งภาวนาเป็นอย่างมาก ในช่วงนั้นเราได้ภูมิธรรมพอสมควรแล้วล่ะ มีเสียงคำว่าบอกว่า จะมาเอาเราไปก่อนอายุพรรษา ๔๑” เราสังเกตดูความรู้ที่ปรากฏแก่เราอยู่เนือง ๆ ความรู้ใดจะจริงไม่จริง เรารู้ของเราอยู่ อาการของโรคจะรุมเร้าบีบรัดธาตุขันธ์จนทำให้อยู่ไม่ได้ และในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ มีญาติโยมมาเยี่ยมหลวงปู่ที่โรงพยาบาลศิริราช หลวงปู่สว่าง ท่านได้ฝากไปบอกญาติพี่น้องทั้งอุบลราชธานีและกรุงเทพมหานครว่า “บอกให้ทุกคนขึ้นมาที่วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม เพราะวันที่ ๒ มกราคม ก็จะตายจากกัน ถ้าใครไม่ขึ้นมา ก็จะไม่ได้เห็นหน้ากันอีกแล้ว”
การมารักษาที่โรงพยาบาลศิริราชครั้งสุดท้ายนั้นดูราวกับว่าท่านอยากจะมาโปรดศรัทธาญาติโยม ที่โรงพยาบาลศิริราช ในญาติโยมที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งสุดท้าย สิ่งที่สังเกตเห็นได้จากภายนอก คือ หลวงปู่สว่าง มีวรรณะอันผ่องใส ไม่แสดงสีหน้าแววตา ความวิตกกังวลในเรื่องอาการอาพาธ และเวทนาที่บีบรักทรมานท่านอยู่ในขณะนั้น หลวงปู่ทั้งกล่าวว่า “เวทนาเหล่านี้มีผลแต่ทางร่างกายเราเท่านั้น แต่ทำอะไรต่อจิตใจเราไม่ได้”
นับเเต่ หลวงปู่สว่าง ท่านมาพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช อาการอาพาธต่างๆ โดยรวมดูเหมือนจะดีขึ้น แต่อยู่มาวันหนึ่ง หลวงปู่ได้พูดให้ฟังว่า เวลาฉันอาหารลือน้ำเข้าไป จะเกิดอาการปวดท้อง เกิดเป็นจนาขึ้นแก่ท่าน ท่านจึงกล่าวว่า “ตรงนี้ล่ะ ที่เราชอบใจ ถ้าไม่ฉันอะไรเลยจะสบายกว่า ไม่ทรมานสังขารร่างกาย” และนั้นท่านจึงตั้งใจว่า นับแต่นี้ไปจะไม่ขอทานอาหารอะไรอีก ท่านกล่าวต่ออีกว่า “เราจะขอปล่อยแล้วนะ” (หมายถึงละวางธาตุขันธ์) และท่านยังย้ำถึงเจตนารมณ์ที่แนวหน้าอีกว่า “เราพิจารณาดีแล้ว พิจารณาหลายรอบแล้ว อย่างไรก็ตามธาตุขันธ์เหล่านี้ มันก็ไม่มีวันจะดีขึ้น มีแต่จะเสื่อมลงไปตามกาลเวลาเท่านั้น” จากนั้นท่านจึงเดินทางกลับวัดที่อุดรธานี
หลังจากกลับมาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดป่าศรีอุดมรัตนารามได้ไม่นาน อาการหลวงปู่ท่านก็ทรุดลงเรื่อยๆ ซึ่งดำเนินไปตามอาการของโรค จนถึงเวลา ๐๒.๒๒ น. ของเช้าวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๔๘ ท่านก็ได้ละสังขารจากไปด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ ๗๑ ปี ๘ เดือน ๑๐ วัน พรรษา ๔๐
ขอบขอบคุณข้อมูลจากเพจ : ท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน