วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่พิบูลย์ วัดพระแท่นบ้านแดง อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่พิบูลย์
แซ่ตัน

วัดพระแท่นบ้านแดง
อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดรธานี

หลวงปู่พิบูลย์ วัดพระแท่นบ้านแดง อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดรธานี

เมืองอุดรธานี เป็นที่ทราบกันดีว่ามีพระเกจิอาจารย์ที่ทรงบารมีพุทธาคมสูงส่ง อีกทั้งศิลาจารวัตร งดงาม ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติควร ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาปสาทะของสาธุชนทั่วไป มากมายหลายรูป แต่จะมีบูรพาจารย์รูปหนึ่งที่จะกล่าวถึง คือ หลวงปู่พิบูลย์ แซ่ตัน พระมหาเถระผู้ทรงอภิญญา มีบุญญาบารมีสูงส่งทั้งในด้านอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ สามารถเป็นที่พึ่งให้กับชาวบ้านทั้งใกล้และไกล ท่านถูก ใส่ร้ายว่าเป็นกบฏผู้มีบุญ ซึ่งสมัยนั้นจะกระทบกับความมั่นคง ท่านจึงถูกจับกุมไปคุมขังยังเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จับท่านถ่วงน้ําเพื่อพิสูจน์ความผิด เมื่อไม่สามารถชี้มูลความผิดได้ ก็ปล่อยตัวท่านกลับมา จนครั้งสุดท้าย เจ้าเมืองอุดรธานีท่านหนึ่ง ก็ได้มีคําสั่งจับกุมท่านมาไว้ที่วัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวงสังกัดธรรมยุติกนิกาย) กลางเมืองอุดร ในคดีก่อกบฎผีบุญ โดยกักบริเวณท่านไว้ที่กุฏิในป่าข้างสระน้ําท้ายวัดเป็นเวลากว่า 15 ปี ตลอดเวลาที่หลวงปู่พิบูลย์ มาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ แต่ละวันก็ได้ออกช่วยชาวบ้านที่ถูกผีปอบเข้า ผีสิง เจ็บไข้ได้ป่วย โดยท่านใช้ยาสมุนไพรและธรรมะเข้ารักษาจนชาวบ้านหายเจ็บป่วย และชื่อเสียงของท่านก็เลื่องลือออกไปอีก คนเจ็บไข้ได้ป่วยจากแต่ละจังหวัดต่างมาให้ท่านรักษา โดยท่านได้สร้างโรงเรือน สร้างกระต๊อบรักษาชาวบ้าน มากมาย ตรงบริเวณนั้นปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ช่วงเวลาประมาณปี พ.ศ. 2485 หลวงปู่พิบูลย์ ท่านได้มีวัตถุประสงค์จะสร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึกแก่ผู้คนที่ศรัทธา และเคารพนับถือท่าน ท่านจึงได้ให้ลูกศิษย์เดินทางไปยังกรุงเทพฯ เพื่อไปติดต่อโรงงานโดยในสมัยช่วงประมาณปี พ.ศ. 2480 นั้นโรงงาน ที่รับปั้มพระแกะบล็อกจะมีแห่งแรกในประเทศ อยู่แถวดีโอสยาม ซึ่งโรงงานนี้ คือโรงงานที่ปั้มเหรียญหลวงพ่อโบถส์น้อย ปี 2482 และ หลวงพ่อคงวัดบางกระพร้อม เมื่อลูกศิษย์ท่านเดินทางไปถึงก็สอบถาม หาโรงงานจึงได้โรงงานและช่างแกะบล็อกให้หลวงปู่พิบูลย์ ซึ่งเป็น เหรียญหยดน้ํารุ่นแรกและรุ่นเดียวที่ท่านปลุกเสกไว้ . ด้วยอิทธิ ปาฏิหาริย์เหนือคําบรรยายด้วย ที่ท่านรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า เราจึง มีเหรียญหยดน้ําไว้บูชาแทนตัวท่านนับแต่นั้นเป็นต้นมา

หลวงปู่พิบูลย์ วัดพระแท่นบ้านแดง อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดรธานี

หลวงปู่พิบูลย์ หรือ หลวงปู่บ้านแดง นามเดิมชื่อ พิบูลย์ แซ่ตัน เกิดที่บ้านพระเจ้า ต.มะอึ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด บิดาเป็นคนจีนชื่อ สา และมารดาเป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ดชื่อ โสภา มีอาชีพทําไร่ทํานาและค้าชายจนมีฐานะมั่นคง

ตั้งแต่เยาว์วัยท่านจะมีอุปนิสัยชอบทําบุญ บําเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญเมตตาแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยเชื่อว่าผลบุญกุศลที่ได้ทําแล้วจะทําให้เกิดบุญกุศลเกิด ความสุขในภพนี้และภพหน้า ต่อมาเติบโตมีครอบครัว และมีบุตรบุญธรรมเป็นหญิง 1 คน จนกระทั่งบุตรบุญธรรม ได้เป็นฝั่งเป็นฝา มีครอบครัวที่ดี ท่านจึงตัดสินใจบรรพชา โดยไม่ปรากฏชื่อวัด พระอุปัชฌาย์ และฉายาของท่าน ทราบเพียงว่าหลังจากเป็นพระภิกษุแล้ว ได้จําพรรษาและ ศึกษากัมมัฏฐานที่วัดนั้นเป็นเวลาพอสมควร จากนั้นกราบ ลาพระอุปัชฌาย์เพื่อออกเดินรุกมูลเจริญกัมมัฏฐานไป ในป่าเพียงลําพัง โดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ค่ำไหนนอนนั่น ไปจนถึงริมแม่น้ําโขงและข้ามสู่ฝั่งประเทศลาว อาศัยถ้ําเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ณ ภูอาก ที่อยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง เมื่อลงมาบิณฑบาตที่หมู่บ้านก็ได้ สั่งสอนธรรมะแก่ญาติโยมจนเป็นที่เคารพศรัทธา เมื่อครั้ง ออกพรรษาหลวงปู่พิบูลย์จึงเดินทางออกจากฏอากมุ่งสู่ถ้ํา แถบภูเขาควาย และได้ไปพบกับอาจารย์ไม้เท้าหนักหมื่น (12 กิโลกรัม) ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกันกับลูกศิษย์ อีก 7 รูป เป็นเวลาหลายปี จนอาจารย์เห็นว่าลูกศิษย์แต่ละรูปได้ปฏิบัติในธรรมอย่างเคร่งครัดและส่วนมากได้ บรรลุธรรมแล้ว จึงได้เรียกลูกศิษย์ทั้งเจ็ดออกมา แล้วเอา ลูกสมอให้คนละลูกและให้เคี้ยวลูกสมอนั้นให้แตก ปรากฏ ว่าหลวงปู่พิบูลย์และศิษย์อีก 4 รูป เคี้ยวลูกสมอแตกละเอียด ส่วนอีก 2 รูปนั้นไม่แตกแม้กระทั่งเปลือก อาจารย์จึงรู้ว่าผู้ใดบรรลุธรรมและไม่บรรลุธรรม ผู้ไม่บรรลุธรรม ก็ให้อยู่ปฏิบัติธรรมต่อไป สําหรับหลวงปู่พิบูลย์อาจารย์ ท่านแนะนําให้ไปสร้างวัดอยู่ในเขต อ.หนองหาน เมื่อ

หลวงปู่เดินทางมาถึงเขต อ.กุมภวาปี ท่านได้สร้าง “วัดเกาะแก้วเกาะเกศ” ซึ่งอยู่ติดกับลําน้ําปาว และอยู่ที่นั่นหลายปี จนเมื่อได้กลับมากราบอาจารย์ไม้เท้าหนักหมื่น อาจารย์บอกว่าวัดที่หลวงปู่ไปสร้างนั้นไม่ใช่วัดเดิมของ หลวงปู่ที่บอกไปสร้างจะอยู่ทางทิศเหนือของ อ.หนองหาน ซึ่งอยู่ติดริมห้วยหลวง เมื่อลาอาจารย์กลับมายังฝั่งไทย หลวงปู่ได้จําพรรษาที่วัดเกาะแก้วเกาะเกศระยะหนึ่ง จากนั้นจึงลาญาติโยมมุ่งหน้าสู่ทิศเหนือของหนองหานมุ่งหน้าสู่บ้านไทย (บ้านแดงในปัจจุบัน) และด้วยบารมีของท่าน วัดเก่าแก่โบราณที่เคยเป็นที่หวาดกลัวของผู้คน ก็กลับเจริญรุ่งเรืองจนมาเป็น “วัดพระแท่น” ดังกล่าวแล้ว

ในปี พ.ศ.2489 ท่านอาพาธด้วยโรคชรา มีลูก ศิษย์ลูกหาคอยดูแลรักษาปรนนิบัติ อาทิ หลวงปู่หนู และ หลวงปู่โชติ ในที่สุดท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวัน ขึ้น 7 ค่ํา เดือน 3 ในปีเดียวกัน ณ วัดโพธิสมภรณ์ ใน ตัวเมืองอุดรธานี สิริอายุได้ 135 ปีหลวงปู่พิบูลย์ เป็นพระเกจิที่ชาวบ้านในยุคนั้น มีความเชื่อว่า ท่านสําเร็จอรหันต์ เพราะเคยได้เห็นปาฏิหาริย์ปรากฏในหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งการรักษา คนป่วย คนบ้า คนถูกคุณไสย หรือผีปอบเข้า (ในยุคนั้น) ด้วยน้ําพระพุทธมนต์จนหายเป็นปกติทุกราย ชาวบ้านบางคนเคยเห็นท่านทําความเพียรจนตัวท่านลอยขึ้นไป ถึงหลังคาพระอุโบสถก็มี และหลังจากที่ท่านละสังขารไปแล้ว ในวันพระชาวบ้านก็มักจะเห็นลําแสงพุ่งออกจาก ยอดพระเจดีย์ซึ่งบรรจุอัฐิของท่าน แล้วค่อยๆเคลื่อน ไปลงที่ต้นโพธิ์ใหญ่กลางหมู่บ้าน ไม่นานนักลําแสงนั้น ก็จะพุ่งขึ้นจากต้นโพธิ์ลอยกลับคืนมายังเจดีย์อยู่เป็นประจํา ซึ่งชาวบ้านมักเรียกกันว่า “พระธาตุหลวงปู่เสด็จ

ส่วนวัตถุมงคลของหลวงปู่พิบูลย์ คือ เหรียญหยดน้ํา “เหรียญรุ่นแรก” ที่ว่ากันว่าหายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรนั้นเพราะเป็น เหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่สร้างเมื่อครั้งท่าน ยังมีชีวิตอยู่ที่วัดต่างหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นหลวงปู่โชติ ก็ได้ สร้างบล็อกสายฝนเรียบ ในงานบําเพ็ญกุศลหลวงปู่พิบูลย์ ในปี 2504 จํานวนประมาณ 4,000 เหรียญ โดยมีการปั้ม เฉพาะบล็อกสายฝนนี้ ปั้มออกมาถึง 3 ครั้ง เหรียญ สายฝนเรียบสวยๆ ราคาขึ้นแสนมานานแล้ว โดยไม่มีการแก้ไขบล็อกใดๆ ทั้งสิ้น ถัดมาได้มีการนําบล็อกสายฝน เรียบที่ชํารุด มาทําการแก้ไขบล็อก แล้วก็ได้ทําการปั้ม เหรียญออกมาอีกถึง 4 ครั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 ได้มีการจัดสร้างเหรียญบล็อกฝาบาตรออกมา มีเนื้อทอง ฝาบาตรรมดํา และทองฝาบาตรไม่รมดํา บล็อกนี้เป็น บล็อกที่มีราคาแพง สวยๆ ขึ้นหลักแสนไปแล้วและก็หายากเช่นกัน เพราะจํานวนการสร้างน่าจะไม่เกิน 2,000 เหรียญ ต่อจากนั้นมาปี พ.ศ. 2516 ได้มีการแกะบล็อกขึ้นมาอีก โดยได้แกะเป็นบล็อกกนก 7 ชั้น ไม้เท้าทู่ และต่อมาบล็อกหน้าแก่ หลวงปู่ชมก็ได้ให้ช่างแกะขึ้นมาอีกบล็อก คือ บล็อกรุ่นที่ 1 หลวงปู่ชม โอภาโส สร้าง ในปี 2516 บล็อกพิมพ์หน้าแก่กลางปี 2525 กับบล็อกหน้าหนุ่ม ในปี 2530 ส่วนบล็อกยายเขียวถือว่าเป็นอีกบล็อกที่มีประสบกราณ์มากมาย ก็ได้สร้างในปี พ.ศ. 2538 และรุ่นเมตตาก็ได้ทําการจัดสร้างรุ่นสุดท้ายที่หลวงปู่โชติได้สร้างไว้เป็นรุ่นเดียวที่ท่านได้สร้างพร้อมกับเหรียญมหาเศรษฐีหลวงปู่โชติ คือ เหรียญห้าเหลี่ยมพิบูลย์รักษ์ ปี พ.ศ. 2540 ยังมีอีกหลายรุ่นหลายวัดที่ได้จัดสร้างรูปเหรียญหลวงปู่พิบูลย์ตามสายบูรพาจารย์ ซึ่งในแต่ละครั้งที่จัดสร้างวัตถุมงคลของท่านต่างก็มีประสบการณ์ เป็นที่เสาะหาของบรรดาผู้ที่ศรัทธาในองค์หลวงปู่พิบูลย์เป็นอย่างมาก ตราบใดที่ความศรัทธายังคงมั่น ความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิฤทธิ์ย่อมตามมาอยู่เสมอ ขอแค่ให้เชื่อมั่นทําแต่ความดีงามตามที่หลวงปู่พิบูลย์ท่านสั่งสอน แม้จะอยู่ใกล้ไกลท่านจะตามไปรักษาเราตลอดกาลนาน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง