ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่พวง กันตธัมโม
วัดรัตนวัน บ้านสระแคน
อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
พระครูสังฆกิจพิเชษฐ์ (หลวงปู่พวง กันตธัมโม) วัดรัตนวัน บ้านสระแคน พระเกจิเรืองวิทยาคมยุคเก่าแห่งเมืองมหาสารคาม
◉ ชาติภูมิ
พระครูสังฆกิจพิเชษฐ์ (หลวงปู่พวง กันตธัมโม) วัดรัตนวัน บ้านสระแคน เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๔ ที่บ้านซองแมวตำบลเหล่า อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
เมื่ออายุได้ ๑๕ บรรพชาอยู่ที่วัดบ้านซองแมว ได้ศึกษาวิชาความรู้อยู่วัดนั้นเป็นเวลา ๔ ปีก็ลาสิกขาบท ระยะที่ท่านลาสิกขาบทมานั้นมารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม บิดาจึงได้พาอพยพไปอยู่ที่อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคาม เมื่อบิดามีภรรยาใหม่ท่านได้จากบิดาไปอยู่กับญาติ และได้พักอาศัยอยู่กับญาติเป็นเวลาปีเศษ ต่อมาท่านมีความปรารถนาที่จะหันเข้ามาสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ การตัดสินใจแล้วคณะญาติพี่น้องก็ไม่มีการขัดข้องแต่ประการใด และได้จัดการอุปสมบทให้ตามความประสงค์
◉ อุปสมบท
หลวงปู่พวง กันตธัมโม อุปสมบทเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายนพ.ศ ๒๔๕๗ ณ พัทธสีมาวัดบ้านหนาด ตำบลเหล่า อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่ออุปสมบทแล้วนามฉายาว่า “พระพวง กนฺตธมฺโม” ในปีต่อมาหลวงพ่อได้ย้ายมาศึกษาเล่าเรียนที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และที่อื่นๆ อีกอาจารย์ที่มีวิชาความรู้ทางสนธิ์ มูลเดิมในสมัยนั้นเป็นสมัยที่นิยมเรียนสนธิ์เรียนมูล (มูลกัจจายน์) ท่านหลวงพ่อยังมีความรู้ทางนี้เป็นอย่างดี เพราะเหตุที่ว่าท่านได้เรียนสนธิ์เรียนมูลเป็นเวลาหลายปี
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ท่านจะย้ายไปจำพรรษาที่อำเภอสหัสขันธ์ เพื่อไปบำเพ็ญเพียร เรียนวิปัสสนากรรมฐาน เช่น หลวงพ่อได้นั่งวิปัสสนาที่ป่าภูพาน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ นอกนั้นท่านยังได้ไปที่ือื่น อีกหลายจังหวัด หลังจากนั้นท่านก็ได้กลับมายังบ้านเดิม ที่บ้านซองแมว พักจำพรรษาอยู่ที่นั้นเป็นเวลา ๔ ปี ระยะที่ท่านมาอยู่บ้านเดิมนั้น มีผู้เคารพนับถือมาก ประชาชนในถิ่นนั้นต่างก็มีความเลื่อมใสในคุณธรรมของหลวงพ่อ พ่อหลวงพ่อมีปฏิปทาน่าเลื่อมใส บริบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร น่าเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ท่านจะย้ายไปจำพรรษาที่อำเภอสหัสขันธ์ เพื่อไปบำเพ็ญเพียร เรียนวิปัสสนากรรมฐาน เช่น หลวงพ่อได้นั่งวิปัสสนาที่ป่าภูพาน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ นอกนั้นท่านยังได้ไปที่ือื่น อีกหลายจังหวัด หลังจากนั้นท่านก็ได้กลับมายังบ้านเดิม ที่บ้านซองแมว พักจำพรรษาอยู่ที่นั้นเป็นเวลา ๔ ปี ระยะที่ท่านมาอยู่บ้านเดิมนั้น มีผู้เคารพนับถือมาก ประชาชนในถิ่นนั้นต่างก็มีความเลื่อมใสในคุณธรรมของหลวงพ่อ พ่อหลวงพ่อมีปฏิปทาน่าเลื่อมใส บริบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร น่าเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง
ครั้นต่อมาได้ออกจากวัดบ้านซองแมว มาจำพรรษาที่วัดรัตนวัน บ้านสระแคน ซึ่งสมัยนั้นสังกัดอยู่ตำบลเมืองเตา และต่อมาแยกไปสังกัดอยู่ตำบลหนองบัวแก้ว และปัจจุบันนี้แยกอยู่ในเขตปกครองตำบลราษฎร์เจริญ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ขณะที่มาอยู่วัดบ้านสระแคนนั้นท่านยังยึดมั่นในการเดินกรรมฐาน แล้วเจริญวิปัสสนาอยู่เป็นประจำ ท่านเป็นผู้มีศีลาจารวัตรอันงดงาม น่าเคารพบูชา น่าเลื่อมใส ท่านประดุจร่มโพธิ์ร่มไทร มีน้ำใจประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ให้ความอบอุ่นและอุปการะแก่ศิษยานุศิษย์ด้วยดีตลอดมา
◉ ตำแหน่งที่ได้รับ
๑.พ.ศ.๒๔๗๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดรัตนวัน บ้านสระแคน
๒.พ.ศ.๒๔๘๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลเมืองเตา
๓.พ.ศ.๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูสังฆกิจพิเชษฐ์”
ตลอดเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดรัตนวันเจ้าคณะตำบลเมืองเตา,เจ้าคณะตำบลหนองบัวแก้ว
ท่านได้รับธุระหน้าที่ทางพระศาสนา เป็นภาระอบรมสั่งสอนประชาชน ให้การบรรพชาอุปสมบท ช่วยบำรุงวัดวาศาสนา และปกครองคณะสงฆ์ด้วยดีตลอดมา ผลงานที่ท่านบำเพ็ญมานั้นพอจะแยกประเภทและสรุปกล่าวได้ดังนี้:-
◉ การปกครอง
ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดรัตนวันเจ้าคณะตำบลหนองบัวแก้ว ได้ให้ความอบอุ่นแก่พระภิกษุสามเณรผู้อยู่ใต้การปกครองฉันบิดาปกครองบุตร ยึดพรหมวิหารธรรมเป็นหลัก รักระเบียบเคร่งครัดขัดต่อวินัย ผู้อยู่ใต้ปกครองจึงมีความเคารพยำเกรงเป็นอย่างดี
ทำให้การปกครองดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยไม่ค่อยมีความยุ่งยากเกี่ยวกับการศสอน พ่อขาดครูผู้ทำการสอนแต่ท่านก็ไม่ละความพยายาม ตั้งใจจะเปิดแผนกบาลีให้ได้ ท่านจึงส่งศิษย์ของท่านไปเรียนแผนกบาลี ณ สำนักเรียนต่างจังหวัด จนสอบได้เป็นสามเณรเปรียญ มหาเปรียญ และสอบได้เปรียญสูงๆก็มีมาก เมื่อท่านมีลูกศิษย์เป็นมหาเปรียญมากแล้ว ปัญหาการขาดแคลนผู้สอนบาลีจึงหมดไป และท่านได้เปิดทำการสอนแผนบาลีขึ้นที่วัดรัตนวันตั้งแต่บัดนั้นมา จนถึงปัจจุบันนี้ มีสอนทั้งแผนกธรรมและบาลี แต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรมาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก
ท่านเป็นผู้รับอุปถัมภ์ให้ทุนบำรุงการศึกษาแก่พระพระภิกษุสามเณร ตลอดทั้งอำนวยความสะดวกต่างๆทั้งขณะเรียน และเดินทางไปสอบ ท่านจัดหาอุปกรณ์การสอบให้ ออกค่าพาหนะเดินทางให้ด้วย นับว่าท่านเป็นผู้ส่งเสริม อุปถัมภ์บำรุงการศึกษาเป็นอย่างดี
◉ การเผยแผ่
อบรมประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม ชักชวนให้ทำบุญกถศลสร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา สอนให้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามไว้มิให้เสื่อมสูญ ด้วยเหตุที่ท่านเป็นผู้มีปฏิปทาน่าเลื่อมใสดังกล่าวมาแล้ว จึงทำให้ประชาชนเคารพและเลื่อมใสในคำสอนของท่าน ท่านจะชักชวนทำอะไรก็เป็นไปตามประสงค์ทุกประการ เช่น การชักชวนให้ทำบุญกุศลและสร้างถาวรวัตถุไว้ในบวรพระพุทธศาสนา เป็นต้น
◉ การสาธารณูปการ
ท่านมีความสนใจในแผนกนี้มาก ได้เอาใจใส่ซ่อมแซมเสนาสนะ และสร้างถาวรวัตถุไว้ดังนี้
๑.สร้างพระอุโบสถ ขึ้นที่วัดรัตนวัน ๑ หลัง
๒.สร้างศาลาการเปรียญ ที่วัดรัตนวัน ๑ หลัง
๓.เจาะบ่อน้ำ ที่วัดรัตนวัน ๑ บ่อ
◉ ปัจฉิมวัย
ท่านพระครูเป็นผู้ที่พุทธศาสนิกชนเคารพนับถือมาก แม้แต่ประชาชนที่อยู่ถิ่นไทยก็มีความเลื่อมใสศรัทธาท่าน จึงได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีกรรมทางศาสนาอยู่เป็นประจำ ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน ประกอบกับความขราด้วย สุขภาพของท่านจึงเริ่มทรุดโทมลงๆ แล้วท่านเริ่มมีอาการไม่สบายเกิดขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๑๔ อาการป่วยของท่านก็ทวีขึ้นทุกที เรื่องของท่านก็ค่อยๆ หมดไปทีละน้อย ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๑๔ ก็ยิ่งทรุดหนักลง แต่จิตใจของท่านยังเข้มแข็งอยู่ ท่านคงรู้อยู่ในตัวท่านแล้วปีนี้คงไม่รอดแน่ ท่านจึงคิดทำบุญสังฆทานเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับไป โดยจะซื้อผ้าไตร ๑๔ ไตร และ ปัจจัยไทยทานอื่นๆอีกมากมาย เพื่อถวายพระเถระ พระสังฆาธิการ ตลอดทั้งสามเณรที่อยู่ในวัด
หลังจากที่ท่านทำบุญสังฆทานเสร็จแล้ว คงเป็นเพราะ ผลบุญช่วยอาการป่วยจึงเริ่มทุเลาลง เป็นเวลาประมาณเดือนกว่า ในระยะนี้ญาติโยมมานิมนต์ท่านไปร่วมในงานทำบุญหลายแห่ง แทบไม่ได้อยู่วัดเลย ทั้งๆที่อาการป่วยก็ยังไม่หายขาด เพียงแต่พอไปได้มาได้เท่านั้น เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาค พ.ศ.๒๕๑๔ กลับจากงานบ้านโนนแคน และมาพักที่ วัดพยัคฆภูมิวราราม (วัดนอก) อาการป่วยก็ค่อยทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ท่านได้พักเพื่อรับการรักษาพยาบาลที่วัดนี้เป็นเวลาเดือนกว่า
ในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๖ ญาติโยมบ้านสระแคนได้พร้อมกันมามานิมนต์ท่านกลับด้วยรถยนต์ เพราะวันแรม ๓ ค่ำเดือน ๖ เป็นวันงานอุปสมบท หลังจากอุปสมบทแล้วอาการป่วยก็ทรุดลงอย่างไม่ลดละ ฉันอาหารไม่ค่อยได้ หมอก็ได้ให้การรักษาพยาบาลอย่างสุดความสามารถ
พอถึงวันที่ ๘-๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๔ ท่ามกลางพระภิกษุสามเณรและญาติโยมที่มีความเศร้าสลดเป็นอย่างมาก ต่างก็เฝ้าดูอาการของท่านอย่างเงียบสงัด ขณะนั้นท่านจึงพูดออกมาว่า “ไปไม่รอดเสียแล้ว” ขอให้ศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ตลอดญาติโยมลูกหลาน จงพากันยึดมั่นในพระพุทธศาสนา รักษาศีล ให้ทานไปเถิด แล้วช่วยเก็บศพหลวงพ่อให้ดีด้วย เสร็จแล้วท่านก็หลับไปด้วยความอ่อนเพลีย
รุ่งขึ้นวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๔ เวลา ๐๙.๓๕ น. หลวงพ่อสิ้นลมหายใจไปท่ามกลางความเศร้าสลด และสังเวชแก่บรรดาพระภิกษุสามเณรและญาติโยมที่เฝ้าปฏิบัติอยู่ รวมอายุของท่านได้ ๘๐ ปี พรรษา ๕๗
◉ ด้านวัตถุมงคล
วัตถุมงคลของ หลวงปู่พวง เป็นสุดยอดปรารถนา ของบรรดาเซียนพระและนักสะสม โดยเฉพาะ เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่พวง วัดรัตนวัน รุ่น ๑ จัดสร้างในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ด้วยความเข้มขลังของหลวงปู่ ทำให้เหรียญรุ่นนี้มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน อาทิ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ลาภผลพูนทวี มั่งมีศรีสุข
เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่พวง รุ่น ๑ วัดสระแคน ได้จัดสร้างเพื่อมอบให้ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนที่บริจาคร่วมทำบุญสมทบทุนสร้างสาธารณูปโภคสาธารณูปการในวัด เป็นเหรียญทองแดงผิวไฟ รูปไข่ จำนวน การสร้างไม่น่าจะเกิน ๕,๐๐๐ เหรียญ
ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่พวงครึ่งองค์ เริ่มจากด้านซ้ายของเหรียญโค้งขึ้นไปด้านบนลงไปถึงขอบเหรียญด้านขวา เขียนว่า “พระครูสังฆกิจพิเชษฐ วัดรัตนวัน จ.มหาสารคาม” และบริเวณใต้ตัวหนังสือเขียนว่า “รุ่น ๑”
ด้านหลังของเหรียญเป็นคาถาตัวขอมลาวแถว ๔ แถว แถวที่ ๑ เขียนว่า “นะ มะ พะ ทะ” แถวที่ ๒ เขียนว่า “มะ พะ ทะ นะ” แถวที่ ๓ เขียนว่า “พะ ทะ นะ มะ” และแถวที่ ๔ เขียนว่า “ทะ นะ มะ พะ” เป็นคาถาปราบเจ้าที่เจ้าภูมิแข็งและปราบสิ่งอัปมงคลทั้งปวง
เหรียญรุ่นนี้หลวงปู่พวงประกอบพิธีพุทธาภิเษกปลุกเสก ๑ ไตรมาส ด้วยความที่หลวงปู่พวง มีพลัง จิตที่แก่กล้า เจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ พุทธคุณเหรียญจึงโดดเด่นรอบด้าน
คณะศิษยานุศิษย์ หรือผู้ที่ห้อยเหรียญหลวงปู่รุ่นนี้ต่างมีประสบการณ์มากมาย รถคันใดที่แขวนเหรียญหลวงปู่พวงหรือติดรูปถ่ายของท่านไว้หน้ารถ จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุหรือผ่อนหนักเป็นเบาอย่างน่าอัศจรรย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
อาจารย์อ๊อด ศิลาอาสน์, พระพิษณุ แพงสร้อยน้อย