ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
วัดป่าประสิทธิธรรม
ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
พระอริยเจ้า แห่งบ้านดงเย็นองค์นี้ ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ศิษย์องค์สําคัญของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ก่อนที่ท่านจะบวช ท่านได้รําพึงในใจเพียงคนเดียว ภายหลังจากได้สดับตรับฟังธรรมกลับมา
“เหตุผล…ตราบใดที่ยังพัวพันอยู่กับครอบครัว และทรัพย์สมบัติต่างๆ เช่นนี้ ความสุขที่ แท้จริงดังที่ต้องการก็คงไม่มีโอกาสได้พบเป็นแน่
จึงตัดสินใจสละครอบครัว และทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไป โดยจะขอบริจาคเป็นทาน
ส่วนภรรยาท่านได้จัดการบวชชีให้ก่อน จากนั้นท่านเดินทางกลับมายังที่อาศัย นําสมบัติทุกชนิดออกมาบริจาค ถ้าจะนับค่าในปัจจุบัน ก็ต้องเป็นจํานวนล้านขึ้นไป
หลังจากสิ้นภาระ ท่านเดินทางเข้าสู่ร่มโพธิ์ทองในพระบวรพุทธศาสนา จนสามารถบรรลุธรรมชั้นสูงเปิดประตูชัยมุ่งสู่แดนเกษม ไม่กลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป…”
หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ แต่เดิมท่านมีชื่อว่า พรหม สุภาพงษ์ เกิดเมื่อวันอังคาร ปีขาล ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๓ ที่บ้านตาล ตําบลโคกสี อําเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
บิดาของท่านชื่อ นายจันทร์ สุภาพงษ์ มารดาชื่อ นางวันดี สุภาพงษ์ มีอาชีพทํานา ค้าขาย
ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา เดียวกัน ๔ คน คือ
๑. นายพรหม (หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ)
๒. นายพิมพา (ออกบวช เป็นพระภิกษุสงฆ์ตลอดชีวิต)
๓. นางคําแสน สุภาพงษ์
๔. นางตื้อ (ออกบวชเป็น ชีตลอดชีวิต)
จะเห็นได้ว่า ตระกูลของท่าน เป็นตระกูลที่ยึดมั่นต่อพระพุทธศาสนาและหลักธรรมคําสั่งสอนอย่างเคร่งครัดยิ่ง โดยถือแบบอย่างมาจากบรรพบุรุษที่ได้กระทํามาแล้วหลายชั่วอายุคน
สมัยเป็นฆราวาส เมื่อเติบโตขึ้นมาสู่วัยหนุ่ม ท่านคิดจะมีครอบครัว เพราะคิดว่า “การมี ครอบครัวนั้นเป็นสุข คงจะมีความสุขแน่แท้”
ดังนั้น ท่านจึงเข้าปรึกษาบิดามารดาทันที บิดามารดาเห็นชอบด้วยและไม่ขัดข้องเลย จึงได้ จัดหาสตรีที่คู่ควรให้เป็นคู่ครอง
ภรรยาคนแรกของท่านชื่อ “พิมพา” เป็นสตรีสาวสวยประจําถิ่น คือเป็นคนบ้านดงเย็น เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว ท่านเริ่มสร้างฐานะครอบครัวได้มั่นคงอย่างรวดเร็ว ทําให้ชีวิตครอบครัวของท่านราบรื่น เป็นที่ยกย่องในความสามารถของท่าน
ประกอบด้วยท่านเป็นบุคคลที่มีจิตใจดีมีการให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนบ้านใกล้เคียงอยู่ เสมอไม่เคยขาด
ต่อมาภรรยาของท่านตั้งครรภ์แก่ และในที่สุดภรรยาได้คลอดบุตรคนแรก
ท่านต้องประสบกับความ สะเทือนใจอย่างรุนแรงในวันที่ ที่ภรรยาคลอดบุตร เพราะทั้งภรรยา และบุตรได้เสียชีวิตลงพร้อมกัน หลังจากคลอดไม่ถึงชั่วโมง
ความคิดเดิมที่ว่า “การมีครอบครัวแล้วจะนําความสุขมาให้นั้น บัดนี้ไม่เป็นอย่างนึกเสียแล้ว มีแต่ความทุกข์เศร้าโศกเสียใจอย่างมากมาย”
ต่อมาอีกไม่นาน ญาติพี่น้องเกิดสงสาร จึงแนะนําให้มีภรรยาใหม่อีกคนหนึ่ง ชื่อ “กองแพง” ได้อยู่กินกันมาถึง ๕ ปี แต่ไม่มีบุตรด้วยกันเลย
ครอบครัวของท่านอยู่กันมา ๕ ปี เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นอีก เพราะขณะนั้นท่านมีทรัพย์สมบัติ มากมาย เงินทองนั้น ท่านหามาได้ด้วยการทํางานอย่างมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร
ท่านทํางานเป็นพ่อค้า เป็นหัวหน้า (นายฮ้อย) นําหมู่เพื่อนฝูงเดินทางไปค้าขายยังต่างเมือง เช่น นครราชสีมา (โคราช)
การค้าขายของท่านนี้ นํามาซึ่งความร่ำรวย มีแก้วแหวน เงินทองมากมาย จนเป็นฐานะที่มั่ง คั่งที่สุดในหมู่บ้านนั้นๆ
นายพรหม (หลวงปู่พรหม) ท่านเป็นผู้มีความยุติธรรมซื่อตรง ทางการให้ท่านเป็นผู้ใหญ่บ้าน แต่ต้องลาออก เพราะมองเห็นความไม่ดีไม่งาม ไม่ชอบด้วยธรรม เพราะจะทําลงไปตามคําสั่งมิได้ มันขัดแย้งจิตใจของท่าน ผิดศีล ผิดธรรมนั่นเอง
บุญบารมีเป็นสิ่งของที่บริสุทธิ์ จิตใจของท่านหลวงปู่พรหม สมัยเป็นฆราวาสอยู่นั้น ท่านได้ ฟังธรรมะที่ท่านอาจารย์สาร ซึ่งเป็นศิษย์องค์หนึ่งในสายของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ท่านอาจารย์สาร ได้มาแสดงธรรมะ จนเข้าจิตใจ เปิดจิตใจสว่างไสวขึ้น ท่านจึงคิดจะสละ โลกียทรัพย์ทั้งปวงเป็นทาน
ท่านจึงปรึกษาภรรยาถึง เรื่องการบวช ภรรยาไม่ขัดข้องขอบวชชี ส่วนตัวท่านได้กลับมาบ้าน ประกาศบริจาคทรัพย์ทุกอย่างให้เป็นทานแก่ทุกคน
การเปิดโรงทานครั้งนั้นมีเรื่องเล่าไว้ว่า เงินทองสมบัติทั้งปวงท่านมากมาย เอามากองกับเสื้อ ถึง ๓ ผืน ราคาเป็นล้าน
ท่านอุปสมบท ณ วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดย ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) สมัยเป็นพระราชกวี เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูประสาทคุณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านบวชเมื่ออายุ ๓๗ ปี
ในครั้งนั้นมีน้องชาย น้องสาว น้องเขย ออกบวชติดตามมาด้วย และได้ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาตลอดชีวิต
ภายหลังจากบวชแล้ว หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ได้ออกปฏิบัติเดินธุดงค์ นั่งสมาธิ เดินจงกรมไปถึงพม่า ประเทศลาว และภาคต่างๆในประเทศไทย
ภายหลังได้ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านหลวงปู่พรหม ได้ รับการอบรมธรรมจากหลวงปู่มั่นอย่างเคร่งครัดมาตลอด จนพบกับทางวิมุตติธรรมขั้นสูงได้สําเร็จ
หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ด้วยโรคชรา รวม สิริอายุ ๙๑ ปี ๔๓ พรรษา หลังจากประชุมเพลิงศพได้ ๑ ปี อัฐิของหลวงปู่พรหม กลับกลาย เป็น “ธาตุ” ขาวขุ่นบ้าง แดงบ้าง
นับได้ว่า หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ เป็นพระอรหันต์อันประเสริฐองค์หนึ่ง