วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส วัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส

วัดป่าพระสถิตย์
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส

หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส ท่านเป็นพระเถระผู้อาวุโสในสายปฏิบัติกรรมฐานองค์หนึ่งของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

พระครูปัญญาวิสุทธิ์ (หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส)

หลวงปู่บัวพาเป็นพระที่เคยอยู่ใกล้ชิด คือ ปรนนิบัติรับใช้เช่นศิษย์รับใช้ครูบาอาจารย์ โดยมีหน้าที่เทกระโถนปัสสาวะและอุจจาระของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

คุณธรรมทั้งหลายจึงตกทอด มาอยู่ในองค์ท่านทั้งสิ้น ดังจะเห็นได้ว่า

หลวงปู่บัวพาเป็นพระที่พูด น้อยชนิดถามค่าหนึ่ง ก็ตอบคําหนึ่ง ไม่ต่อเติมให้มากเหตุ

ในชีวิตของพระธุดงค์ที่เคยติดตามครูบาอาจารย์เช่น หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไปทุกๆแห่งในสมัยหนึ่งนั้น นับได้ว่ามีคุณค่าแก่หลวงปู่บัวพาเป็นอันมาก

ดังจะเห็นข้อวัตรปฏิบัติธรรม ของท่านในปัจจุบันคือ…

ท่านมีอุบายธรรมอันลึกซึ้ง แม้จะกล่าวเพียงสั้นๆ แต่ก็ได้ใจความ ดังนี้

“อาจารย์ท่านสอนปฏิบัติภาวนา จิตสงบแล้วก็เห็นของจริงคือ ทุกข์…. คนไปเลย

จิตสงบลงแล้วก็รู้ทุกข์ มันหยุดอยู่ตรงนั้น เพราะทุกข์มันเป็นของหยาบ

นี่…พระพุทธเจ้าท่านถึงพูดว่า ทุกขสัจ ท่านสอนให้เรากําหนดรู้ตรงนี้

พอจิตสงบอยู่ เราก็รู้ที่อยู่ ของมันเลย”

ความหมายทิ้งท้ายอีกว่า….

“ผู้ที่ว่าจิตสงบๆ แต่ไม่พบตัวทุกข์ละก็ ยังสงบไม่จริง พูดไป เปล่าๆ เท่านั้นยังอีกไกล กว่าจะ เห็นมันตัวทุกข์แท้ๆ นี่ !

คนเราเดี๋ยวนี้น่ะ ร้องโอ๊ย ! พอร้องแล้วก็ยิ้มร่า อย่างนี้มันไม่ มีสติไม่มีปัญญานะ

เออ….จําไว้! ไม่รู้จักตัวทุกข์ หรอก…นี่”

หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส ท่านเป็นพระผู้มีความสันโดษ มักน้อย ไม่ยินดีในลาภยศ ท่านพูดน้อย แต่เมื่อกราบเรียนถาม ท่านก็จะตอบด้วยรอยยิ้มแห่งความเมตตา

แต่หลักธรรมข้างต้นนั้น ท่านแนะให้รู้จักคําว่า “ทุกข์” ถ้าแม้บุคคลใดรู้จักคําว่าทุกข์อย่างเที่ยงแท้แล้ว ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย คลายความยึดถือสอง

แต่ขนาดร้องโอดโอยครวญ ครางดังท่านว่า พอหายเจ็บปวดก็ ยิ้มร่าลืมอดีตเสียสิ้น ยากนักจะเกิด “นิพพิทา” ความเบื่อหน่ายได้

หลวงปู่บัวพา เคยเล่าให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า โดยเฉพาะปฏิปทาที่ท่านต้องจดจํา ครั้งหลวงปู่เสาร์ยังมีชีวิตอยู่ดังนี้

“อาตมาอยู่กับหลวงปู่เสาร์ เดินธุดงค์ไปทั่ว ท่านถือตามแบบ เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)

ท่านเคร่งครัดมาก ลูกศิษย์ทุกคนต้องถือเคร่งกับการปฏิบัติภาวนาตั้งแต่หัวค่ำยันรุ่งก็จะดีมาก

การประพฤติปฏิบัติบําเพ็ญภาวนานั้น พูดคุยกันไม่ได้ เวลาปฏิบัติต้องเอาจริง จะเป็นจะตายก็ เอาไว้วันพรุ่ง

เมื่อถือธุดงค์กรรมฐานอย่างเคร่งครัดแล้ว ถ้าถึงเวลา ๔ ทุ่ม ต้องนอนพักผ่อน ตอนแรกจะหลับหรือไม่หลับก็ต้องหัดกันเลยทีเดียว

พอตี ๓ ตื่นนอนทันที ฝึกอยู่อย่างนี้จนเคยนิสัย ครั้นต่อไปไม่ยอมลุกขึ้นไปได้แล้ว ขืนนอนต่อไปมันจะเจ็บปวดเมื่อยตัว ไม่หลับแล้วยังนอนเกร็งตัวอีกนะ ไม่ดี ทําให้เจ็บป่วยได้

ใครปฏิบัติก็เอาเลย จะแนะ ให้นิดหน่อย

ก่อน ๔ ทุ่มนี้ต้องเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ศึกษาข้อวินัย กับท่าน (หลวงปู่เสาร์)

อีกอย่างหนึ่ง ท่านไม่นิยม ให้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ การหลับนอนให้เคร่งครัด หัดจนคล่องตัว

ถ้าใครฝึกได้ ก็จะแนะนําการสอนต่อไปอีก พระอาจารย์เสาร์เป็นผู้ให้คําแนะนําแก่อาตมา ตัวเองจึงเป็นศิษย์ต้นของท่าน นอกนั้นก็ได้สึกหาลาเพศไป บ้างก็ล้มหายตายจาก

นอกจากอาตมาพระบัวพาแล้ว ก็ยังมีเจ้าคุณชินวัดป่าสาลวัน นครราชสีมาอีกองค์หนึ่ง เป็นรุ่น สุดท้าย ศิษย์ของอาจารย์เสาร์นะ ไปถามท่านเถิด รู้จักท่านไหม?

อาจารย์เสาร์ไม่ค่อยจะพูดอะไรมาก ก็อุบายธรรมนี้ก็เหมือนกัน ถามก็ตอบ ถ้าไม่ถามก็นั่งเฉยกันทั้งวัน อาตมาจึงไม่ค่อยจะเทศน์ ไม่ค่อยพูดตามท่านพระอาจารย์ เสาร์ไปด้วย

การปฏิบัตินั้น เราทั้งหมดนี่ ต้องทําจริงๆ อย่าทําเล่นๆ มันจะไม่ได้อะไร

ครูบาอาจารย์นั้นท่านเมตตา สอนเราด้วยดีเสมอ แต่เราต้องอาศัยทนเอาหน่อย อาตมานี้ดื้อนะ อยู่กับครูอาจารย์ ฆ่าก็ไม่หนี ตีก็ไม่วิ่ง ต้องทําใจอย่างนี้นะจึงจะกว้างขวาง มีสายตาก้าวไกล..เอาละ…”

หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ศิษย์สําคัญของหลวงปู่เสาร์ กันต สีโล

ท่านอยู่จําพรรษา ณ วัดป่าพระสถิต อําเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย และอยู่ที่นี่ตลอดจนมรณภาพ

หลวงปู่บัวพา ได้มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๕ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันมหาปวารณาออกพรรษาพอดี หลวงปู่ได้ละกายสังขารอันเป็นภาระหนักและทรมาน ที่อาพาธมานานไปโดยอาการอันสงบ เมื่อเวลา ๒๐.๔๕ น. สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน นับพรรษาได้ ๖๑ พรรษา

คณะสงฆ์พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ได้จัดงานฌาปนกิจศพ โดยขอพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ณ เมรุวัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย