วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่ทอง วัดบ้านโนนยาง ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ทอง

วัดบ้านโนนยาง
ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี

หลวงพ่อทอง วัดบ้านโนนยาง
หลวงพ่อทอง วัดบ้านโนนยาง

พระครูสุวรรณประภาต (หลวงปู่ทอง) วัดพระธาตุสว่างโนนยาง บ้านโนนยาง อ.เมือง จ.อุดรธานี ชาติกําเนิดหลวงปู่ทอง ไม่ปรากฏ แน่ชัดว่าท่านเกิดวันที่เท่าไหร่ ทราบเพียงว่าท่านเกิดที่ จ.นครราชสีมา บิดา-มารดาได้พากันย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านโนนยาง อายุ ๑๕ ปี ท่านได้ บวชเณรที่ วัดมัจฉิมมาวาส จ.อุดรธานี

ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดมัจฉิมมาวาส เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้จําพรรษาและอยู่รับใช้ หลวงปู่ดีเนาะ พระอุปปัชฌาย์ ที่วัดมัจฉิมมาวาส หลวงปู่ทองก็ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้จากหลวงปู่ดีเนาะมาตลอด ได้มีโอกาสติดตามหลวงปู่ดีเนาะอยู่เสมอ เมื่อท่านมีกิจนิมนต์ตามงานหรือพิธีการต่างๆ ทั้งยังมีภาพถ่าย เป็นหลักฐานจากหนังสือประวัติวัดมัจฉิมมาวาส

หลวงปู่ทอง ท่านยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่หนู วัดบ้านกุดสระ หลวงปู่ใหญ่ วัดบ้านท่าตูม อีกด้วย ซึ่ง พระอาจารย์ทั้งสองท่านมีความแตกต่างในการปฏิบัติ คือหลวงปู่หนูท่านจะเก่งเรื่องการปัดเป่าสิ่งร้ายๆ และเก่งในการ ทําเรื่องรางของขลัง แจกจ่ายชาวบ้านไว้คุ้มครองป้องกันภัย โดยท่านก็ได้มอบตําราเลขยันต์อักขระโบราณให้แก่หลวงปู่ทอง ๒ เล่ม ซึ่งหลวงปู่ท่านก็ได้ศึกษาตามตํารานั้นจนแตกฉาน และได้ทําวัตถุมงคลแจกจ่ายชาวบ้านตามแบบ พระอาจารย์คือหลวงปู่หนู จนโด่งดังมากๆ ในยุคสงครามลาว และสงครามเวียดนาม ส่วนหลวงปู่ใหญ่ วัดบ้านท่าตูม จะเก่งทางปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานมากๆ ในยุคนั้น โดยจะห้ามทําเครื่องรางของขลัง และปลุกเสกวัตถุมงคลปัดเป่า ทุกชนิด

หลวงปู่ทองท่านก็ปฏิบัติตามหลวงปู่ใหญ่ วัดบ้านท่าตูมตลอดมา จนหลวงปู่ใหญ่ท่านมรณะภาพหลวงปู่ทอง จึงได้จัดทําวัตถุมงคลและเครื่องรางต่างๆ ออกมาอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้

วัตถุงมงคลต่างๆ ที่หลวงปู่ทองได้จัดสร้างตาม ที่ได้ศึกษามาจากหลวงปู่หนู และจากตําราที่ได้รับมาจากหลวงปู่หนูจนชํานาญท่านจึงได้เลือกจะใช้ยันต์มหาอํานาจ ๔ แถว ๘ แถว ๑๖ แถว และ ๒๔ แถว ลงในวัตถุมงคลของท่าน ช่วงนั้นจะอยู่ช่วงสงคราม วัตถุมงคลของท่านที่จะเห็น ได้มากคือ ตะกรุด ๑ ดอก ตะกรุด ๖ ดอก ตะกรุด ๘ ดอก ตะกรุด ๑๒ ดอก และตะกรุด ๑๖ ดอก ซึ่ง จําพวกตะกรุด ชุด ๘-๑๖ ดอก จะหาดูได้ยากยิ่ง ส่วนมากจะชํารุดหรือตัดแบ่งปันไปก็มาก จะมีเหรียญ ร.๕ ลงเหล็กจาร ภาพถ่ายขนาด ต่างๆ

เหรียญรูปไข่รุ่นแรก เหรียญรูปอามรุ่น 2 รูปเหมือนหล่ออุดกริ่งและวัตถุมงคลต่าง เช่น เขี้ยวเสือแกะ เขี้ยวหมู แกะ งาช้างแกะ กะลาแกะ เขาสัตว์แกะ หินเสก หรือบางครั้งก็เป็นของชาวบ้านทํามาให้ท่านปลุกเสกให้ มีหลาก หลายชนิด ต่างก็มีประสบการณ์กันมาก

หลวงปู่ทองท่านได้รับกิจนิมนต์ไปปลุกเสกวัตถุมมงคลทั้งในจังหวัดอุดรธานี และในต่างจังหวัดอยู่บ่อยครั้ง แม้กระทั่งในกรุงเทพฯ สมัยนั้น ท่านยังได้รับนิมนต์ไปปลุกเสกวัตถุมงคลหลายครั้ง ส่วนพิธีปลุกเสกเหรียญหลวงปู่พิบูลย์ท่านก็ได้รับกิจนิมนต์ร่วมปลุกเสกเกือบทุกรุ่น ด้วยท่านยังเป็นศิษย์อีกรูปของ หลวงปู่พิบูลย์ แซ่ตัน ครั้งที่ท่านอยู่วัดโพธิสมภรณ์ จากวัดมัจฉิมมาวาสท่านเดินลัดเลาะหนองประจักษ์ไปหาหลวงปู่ พิบูลย์ไม่ถึงกิโลเมตร ส่วนหลวงปู่โชติท่านก็เป็นสหายธรรมศึกษาแลกเปลี่ยนวิชากันอยู่เสมอ วัตถุมงคลทุกชนิด ของหลวงปู่ทองต่างเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีประสบการณ์ แม้บางอย่างจะราคาไม่กี่ร้อย แต่คุณค่าทางจิตใจของคณะศิษย์ ต่อหลวงปู่นั้นใหญ่หลวงปู่ทองนัก จึงถือว่าเป็นของดีของขลังอีกสํานักหนึ่งที่คนอุดรฯ ต่างหวงแหน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง