วันอาทิตย์, 7 กรกฎาคม 2567

หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ถนอม จันทวโร
วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม
หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ พระเกจิชื่อดังเมืองนครพนม มีวัตรปฏิบัติดี เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ศิษย์หลวงปู่สนธ์ วัดท่าดอกแก้ว

◎ ชาติภูมิ
พระครูสิริโพธาภิวัฒน์ (หลวงปู่ถนอม จันทวโร) วัดขามเตี้ยใหญ่ นามเดิมชื่อ “ถนอม นนทศรี” เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๓ ปีมะโรง ที่บ้านขามเตี้ยใหญ่ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม บิดาชื่อ “นายนวน” และมารดาชื่อ “นางปรียา นนทศรี” เป็นบุตรคนที่ ๓ ในบรรดาพี่น้อง ๑๒ คน คือ
๑. นายบุญน้อม นนทศรี
๒. นางบุญล้อม นนทศรี (เสียชีวิตแล้ว)
๓. นายถนอม นนทศรี (หลวงปู่ถนอม จันทวโร)
๔. นายหนู นนทศรี
๕. นายนาค นนทศรี
๖. นายสมอาด นนทศรี (เสียชีวิตแล้ว)
๗. นางสุภาพ นนทศรี (เสียชีวิตแล้ว)
๘. นายประสาท นนทศรี (เสียชีวิตแล้ว)
๙. นายนิวาท นนทศรี
๑๐. นางเคลือวัลย์ นนทศรี
๑๑. นายบัลลังค์ นนทศรี (เสียชีวิตแล้ว)
๑๒. นางลำดวน นนทศรี

อายุ ๑๘ ปี บรรพชา เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๑ ที่อุโบสถวัดโพธิ์ศรี บ.ขามเตี้ย ต.นาขมิ้น อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม (ปัจจุบันคือ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม)

◎ อุปสมบท
ต่อมาเข้าพิธีอุปสมบท เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๓ โดยมี พระครูสันธานพนมเขต (หลวงปู่สนธิ์ สุรชโย) วัดท่าดอกแก้วเหนือ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูโสตถิธรรมคุณ (หลวงพ่ออุทา ท่าจำปา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ที วัดท่าดอกแก้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จนฺทวโร”

หลังอุปสมบท กราบลาพระอุปัชฌาย์ กลับมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่บ้านเกิด โดยร่ำเรียนที่สำนักวัดศรีทอง ต.โพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จบนักธรรมชั้นเอกใน ๓ ปีแรก ด้วยความเป็นคนใฝ่รู้ท่านได้ไปร่ำเรียนสรรพวิชา และวิทยาคมต่างๆ จาก หลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้ว ผู้เป็นพระอาจารย์ นาน ๗ ปี จนช่ำชอง

พ.ศ.๒๕๑๐ ได้กราบลาพระอาจารย์จาริกธุดงค์ไปในภาคเหนือของฝั่งลาว จำพรรษาอยู่ที่วัดพระบาทแอวขันธ์มหาวิหาร บ้านนาคาย เมืองชัยธานี นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ อักษรธรรม อักษรขอม อักษรไทยและอักษรลาว เป็นต้น

ในช่วงที่จำพรรษาอยู่วัดดังกล่าวได้ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงปู่เพ็ง ซึ่งเป็นพระเกจิที่วัดพระบาทแอวขันธ์ และได้พบกับอดีตพระเกจิชื่อดังของเมืองไทยหลายรูป อาทิ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมภาคอีสาน, พระอาจารย์วัน อุตตโม, พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ และพระเถราจารย์อีกหลายรูปที่วัดแห่งนี้ด้วย

ต่อจากนั้นจึงได้เดินธุดงค์ไปฝึกกัมมัฏฐานที่ดินแดนอริยภูมิ เมืองบังบด-ภูเขาควาย ฝั่งลาว กับหลวงปู่เพ็ง โดยนั่งสมาธิบำเพ็ญภาวนาในถ้ำยักษ์นาน ๖ เดือน

หลังจากจาริกแสวงบุญไปตามป่าเขาฝั่งลาวก่อนจะหยุดธุดงค์ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ จึงกลับสู่มาตุภูมิเพื่อมาจำพรรษาที่วัดบ้านเกิด สงเคราะห์โปรดญาติโยม และอยู่จำพรรษาที่วัดขามเตี้ยใหญ่ จวบจนปัจจุบันนี้

ระหว่างที่อยู่วัดแห่งนี้ หลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม สหธรรมิก อดีตพระเกจิชื่อดังสายป่า ซึ่งอยู่วัดละแวกใกล้เคียงกัน ท่านก็หมั่นแวะเวียนมาสนทนาธรรมบ่อยครั้ง

หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม
หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

◎ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์
ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี
ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นเจ้าคณะตำบลนาขมิ้น
ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ต.นาขมิ้น อ.ท่าอุเทน (ปัจจุบัน อ.โพนสวรรค์)
ในปีพ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ จนถึงปัจจุบัน

◎ ลำดับสมณศักดิ์
ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูสิริโพธาภิวัฒน์
ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

หลวงปู่ถนอม จันทวโร เป็นพระชั้นผู้ใหญ่ที่มุ่งมั่นในศีลธรรม หมั่นอบรมอุบาสกอุบาสิกา และญาติโยมให้เข้าวัดปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ ไม่ถือตัว ทั้งยังมีความชำนาญด้านช่างไม้ ช่างปูน ช่างเหล็ก ลงมือก่อสร้างกุฏิ โดยมีพระภิกษุ-สามเณรภายในวัดร่วมลงแรง

“..สมณเพศต้องมีวินัยศีล ปัญญา สมาธิ ที่สำคัญต้องตั้งมั่นในสติ ไม่ว่าจะอยู่ในมหานิกาย หรือธรรมยุต ศีล ๒๒๗ ข้อก็ไม่ได้แตกต่างกันเลย อยู่ที่การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และตัวผู้ปฏิบัติเท่านั้น..”

๏ โอวาทธรรม พระครูสิริโพธาภิวัฒน์ (หลวงปู่ถนอม จันทวโร) วัดขามเตี้ยใหญ่

หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม
หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

◎ มรณภาพ
ในบั้นปลาย ด้วยความไม่เที่ยงของสังขาร พระครูสิริโพธาภิวัฒน์ (หลวงปู่ถนอม จันทวโร) รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ อดีตเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ หมู่ ๑๒, ๑๕ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ท่านได้ละสังขารอย่างสงบที่กุฏิ สร้างความเศร้าสลดแก่ศิษย์ยานุศิษย์ คณะสงฆ์ และสาธุชนชาวพุทธที่ทราบข่าว แห่ไปเคารพศพและสรงน้ำศพที่ศาลาการเปรียญของวัดมากกว่า ๑๐๐ คน

ลูกศิษย์ใกล้ชิด กล่าวว่า ช่วงเช้าได้รับแจ้งจากพระสงฆ์ในวัดว่า หลังจากหลวงปู่ทำวัตร กวาดลานวัดตามปกติเป็นประจำ และพูดคุยกับพระลูกวัด มีอาการปกติ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส โดยลูกศิษย์ประคองหลวงปู่เข้าไปในกุฏิ ซึ่งหลวงปู่บอกว่าเหนื่อย จึงประคองตัวลงนอนหน้าโต๊ะหมู่บูชา เกิดช็อกหมดสติ จึงเรียกพระลูกวัดมาดู กระทั่งพบว่าหลวงปู่ละสังขารที่กุฏิด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๐๖.๓๐ น. สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี พรรษา ๖๑

หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม
หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

◎ ด้านวัตถุมงคล
ในปีพ.ศ.๒๕๖๑ คณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาจัดสร้างวัตถุมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อไว้บูรณะอุโบสถที่เริ่มจะชำรุดทรุดโทรม และเสนาสนะภายในวัด เป็นเหรียญหลวงปู่ถนอม รุ่นแรก ในชื่อรุ่นลาภ ผล พูนทวี และเป็นเหรียญรุ่นเดียวที่จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

๏ ด้านหน้าเหรียญมีขอบเส้นสันนูน ใต้หูเชื่อมสลักอักขระยันต์ ปิดท้ายด้วยสัญลักษณ์อุณาโลม ๒ ตัว ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ข้างใบหูด้านซ้ายของเหรียญตอกโค้ดดอกจัน ตรงจีวรมีอักขระยันต์ตัวอุ ด้านล่างสุดสลักคำว่า หลวงปู่ถนอม จันทรวโร

๏ ด้านหลังเหรียญ ใต้หูเชื่อมสลักคำว่า ลาภ ผล พูน ทวี บรรทัดถัดลงมาตอกโค้ดเลข ๙ ไทย ซึ่งเป็นนัมเบอร์ของเหรียญ บรรทัดถัดลงมาสลักอักขระ ๒ บรรทัด ถัดมาสลักคำว่า รุ่นแรก และ ๒๕๖๑ ส่วนบรรทัดสุดท้ายสลักคำว่า วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ ๙ เหรียญ เนื้อตะกั่ว ๙ เหรียญ เนื้อลงยาสีแดงหลังเรียบ ๙ เหรียญ เนื้อเงินหน้าทองคำ ๕๙เหรียญ เนื้อทองแดงหน้าทองคำ ๑๙ เหรียญ เนื้อเงิน ๗๙ เหรียญ เนื้อทองทิพย์ลงยาสีแดง ๙๙ เหรียญ เนื้อทองทิพย์ลงยาสีม่วง ๙๙ เหรียญ เนื้อสตางค์ ๔๙๙ เหรียญ และเนื้อทองแดงผิวรุ้ง ๒,๕๖๑ เหรียญ

เหรียญรุ่นดังกล่าวหลวงปู่ถนอมนั่งอธิษฐานปลุกเสกเดี่ยวข้ามคืนในอุโบสถ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑

แม้เป็นเหรียญใหม่ออกแบบได้สวยงามอีกทั้งเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียว