วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่ด่อน อินทสาโร วัดถ้ำเจีย อ.ปากคาด จ.หนองคาย

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ด่อน อินทสาโร

วัดถ้ำเกีย
อ.ปากคาด จ.หนองคาย

หลวงปู่ด่อน อินทสาโร วัดถ้ำเกีย

หลวงปู่ด่อน เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี เกิดที่บ้านกุดข้าวปุ้น อําเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ ปีมะเมีย พ.ศ.๒๔๔๘

หลวงปู่ด่อน เข้าบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ซึ่งตรง กับ พ.ศ.๒๔๖๓ จนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี ท่านจึงได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุโดยท่านไม่ได้สึกจากสามเณรแต่อย่างใด เมื่อท่าน บวชเป็นพระแล้ว ท่านก็ได้อยู่จําพรรษาที่วัดบ้านเกิดของท่าน เพื่อเป็นการศึกษาพระธรรมวินัยในเบื้องต้น

หลวงปู่ด่อน ท่านจําพรรษาอยู่ที่สํานักเดิมถึง ๕ พรรษา ท่านจึงได้ออกเดินธุดงค์ไปยังฝั่งลาว โดยท่านมุ่งตรงไปยังจังหวัดหนองคาย เพื่อข้ามไปยังฝั่งประเทศลาว จุดประสงค์ของท่านก็เพื่อจะไปศึกษาเล่าเรียนวิปัสนากรรมฐานกับหลวงปู่ศรีทัตถ์ วัดพระบาทโพนสัน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งในฝั่งลาวสมัยนั้น

พระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ

หลวงปู่ศรีทัตถ์องค์นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่มีความสามารถในทางวิปัสนากรรมฐาน ตลอดทั้งยังเก่งทางวิชาไสยศาสตร์เป็นอย่างมาก และท่านยังเป็นอาจารย์ที่มีพลังพิเศษ ที่เข้าใจกันว่าท่านสําเร็จ กสิณ ๑๐ คือ ท่านสามารถ ล่องหนได้ และเดินไปบนน้ำได้อย่างไม่น่าเชื่อ

เรื่องที่หลวงปู่เดินไปบนน้ำได้นี้ ได้รับการเปิดเผยจากพระอาจารย์ลูกศิษย์ของท่านองค์หนึ่ง ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดช้างเผือก จังหวัดหนองคาย ท่านเล่าว่า วันหนึ่งท่านต้องการอยากข้าม มาบิณฑบาตยังฝั่งไทย เพราะในขณะนั้นท่านจําพรรษา อยู่ฝั่งลาวท่านได้พูดกับหลวงปู่ด่อนว่าจะพาข้ามไปบิณฑบาตยังฝั่งไทยบ้าง ซึ่งหลวงปู่ด่อน ก็ยินดีที่จะไปกับท่าน

หลวงปู่สีทัตต์ท่านได้ พาหลวงปู่ด่อนและพระ-เณร ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านเดินนําหน้าลงไปยังแม่น้ำโขงยังความ ตกใจและแปลกใจแก่หลวงปู่ด่อนและพระลูกศิษย์ของท่านเป็นอันมาก โดยหลวงปู่สีทัตต์ได้เดินออกนําหน้าแล้วหยุดยืนเพื่อตั้งจิตของท่านอยู่ขณะหนึ่ง แล้วท่านก็พูดกับ ลูกศิษย์ว่า “ข้ามได้” แล้ว ท่านก็พากันเดินข้าม โดยลูกศิษย์ของท่านเดินตามหลังไป ได้อย่างสบายเหมือนเดินอยู่บนดินธรรมดาๆ นี่เอง

หลวงปู่ด่อน ท่านจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงปู่ศรีทัตถ์เป็นอันมากแล้วท่านก็ขอเรียนวิชาต่างๆ จากหลวงปู่ศรีทัตถ์จนหมดสิ้น ทั้งทางด้านปฏิบัติในการเจริญวิปัสนาและวิชาไสยศาสตร์ จนท่านมีความสามารถที่จะทําการแทน หลวงปศรีทัตถ์ได้ทุกอย่าง จนหลวงปู่ศรีทัตถ์ผู้เป็นอาจารย์ วางใจได้แล้ว ท่านจึงอนุญาตให้เดินทางกลับมายังประเทศไทย เพื่อที่จะได้นําวิชาความ รู้ที่ได้ร่ำเรียนมาไปใช้ให้เป็น ประโยชน์ในการช่วยเหลือบุคคลอื่นต่อไป

เมื่อท่านกลับมาจากฝั่งลาวแล้ว หลวงปู่ด่อนก็เดินทางไปจําพรรษาอยู่ที่ถ้ำศรีธน อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย ต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำเจีย (ถ้ำเกีย) ในเขตท้องที่เดียวกัน โดยท่านเห็นว่าสถานที่แห่งใหม่เหมาะสําหรับเป็นที่จะปฏิบัติธรรมมากกว่า เพราะห่างไกลผู้คนที่จะมาพลุกพล่านได้

หลวงปู่ด่อน เป็นพระนักปฏิบัติที่ถือเคร่งมากองค์หนึ่ง ในบรรดาพระเกจิอาจารย์มีชื่อต่างๆ ที่เป็นพระสหายทางธรรมกับท่าน เช่น หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร และ หลวงปู่เพชร ปทีโป ที่เคย ร่วมเดินธุดงค์มาด้วยกันแล้วครั้งหนึ่ง เพราะท่านยึดถือในการปฏิบัติคือ การฉันข้าวเพียงมื้อเดียวมาตลอดและเป็นอาหารจาพวกมังสวิรัติ เท่านั้น

ถึงแม้ท่านจะหนีมาอยู่ ห่างไกลผู้คนก็ยังมีประชาชน ไปหาท่านมิได้ขาด ทั้งนี้เพราะบารมีของท่านสูงมากนั่นเอง จะเห็นได้จากมีผู้หลงผิดไป เป็น ผ.ก.ค. ได้กลับเป็นคนดีด้วยการมาถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ของท่านเป็นจํานวนมาก

ส่วนในด้านการช่วย เหลือญาติโยมนั้นหลวงปู่ต่อน ท่านได้ไปบัดเป่าสิ่งอาถรรพณ์ที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้านชาวอําเภอพล, อำเภอกุดข้าวปุ้นเมื่อครั้งที่เขตพื้นที่นั้นฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ท่านก็ได้เดินทางมากระทําพิธีปัดรังควานด้วยการบริกรรมคาถา เพื่อแผ่เมตตาจิตขอฝนให้ชาวบ้านถึง ๓ ชั่วโมง ฝนจึงได้ตกลงมาทันตาเห็น จึงทําให้ประชาชนมีความเลื่อมใสเป็นอันมาก

หลวงปู่ด่อน อินทสาโร ท่านยังมีเมตตาพิเศษแก่ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารที่ไม่สามามารถมาให้ท่านช่วยเหลือ ท่านก็เดินทางไปหาเองด้วยการเดินเท้าเปล่าของท่านเพื่อไปเทศนาธรรมะอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยแต่อย่างใด

ในด้านพุทธานุภาพ และอภินิหารอันเกิดจาก บารมีของท่านนั้น ได้ปรากฎแก่สายตาของประชาชนเป็นจำนวนมากมาแล้ว เมื่อคราวที่มีผู้มานิมนต์ให้ท่านมาร่วม ในพิธีพุทธาภิเษกที่วัดเงิน อําเภอตลิ่งชัน ธนบุรี โดยนิมนต์ให้ท่านนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลร่วมกับพระเกจิ อาจารย์รูปอื่นๆ อีกนั้นได้มี ช่างภาพหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งมาถ่ายรูปท่าน โดยที่ไม่ได้ขออนุญาตจากท่านปรากฏว่าเมื่อช่างภาพคนนั้นกลับมาที่โรงพิมพ์ เพื่อจะล้างเอารูปของท่านนําลงใน หนังสือพิมพ์ ก็ต้องแปลกใจเป็นอย่างมากที่ฟิล์มที่ล้างนั้น ไม่ปรากฏว่ามีรูปของหลวงปู่ด่อนเลย จนเป็นที่เลื่องลือในเวลาต่อมาว่าท่านมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มากในสมัยนั้น

หลวงปู่ด่อน ท่านเป็นพระที่มีความเมตตาแก่ทุกคน ไม่มีมีการแบ่งชั้นวรรณะ กล่าวคือถ้ามีผู้ไปหาท่านถึงที่วัดท่านก็เมตตาพรมน้ำมนต์ให้และผูกด้วยด้ายสายสิญน์ เพื่อรับเป็นบุตรบุญธรรม ในนามของท่านจึงมีชาวบ้านทั้งฝั่งลาวและฝั่งไทยต่างก็พากันไปหาท่านมิได้ขาด จนชาว บ้านทั้งสองฝั่งเรียกชื่อท่านให้ ใหม่ว่า “พ่อแม่ด่อน

ทําไมจึงมีประชาชน ตั้งสมญานามให้ท่านว่า “พ่อแม่ด่อน

คําตอบก็คือท่านเปรียบ เสมือนเป็น “พรหม ของลูกทุกคนนั้นเอง

ในปัจจุบันหลวงปู่ด่อน ท่านได้ละสังขารไปแล้ว แต่คุณงามความดีและชื่อเสียงของท่านที่สร้างไว้ ก็ยังคงได้รับการกล่าวขานตราบจนถึงทุกวันนี้