วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่ดี จัตตมโล วัดพระรูป อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ดี จัตตมโล

วัดพระรูป
อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

หลวงปู่ดี จัตตมโล วัดพระรูป ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
หลวงปู่ดี จัตตมโล วัดพระรูป ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (หลวงปู่ดี จัตตมโล) วัดพระรูป พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ผู้สร้างตำนาน พระขุนแผน ผงสุพรรณ อันโด่งดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี

◉ ชาติภูมิ
พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (หลวงปู่ดี จัตตมโล) วัดพระรูป นามเดิมชื่อ “ดี ศรีขำสุข” เกิดเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๔ ที่บ้านคันลำ ต.ดอนตาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี บิดาชื่อ “นายปั้น” และมารดาชื่อ “นางหรุ่น ศรีขำสุข” มีพี่น้อง ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง

ในช่วงวัยเยาว์ ติดตามพี่ชายคือ พระอาจารย์เผื่อน ปุสสชิโน (ศรีขำสุข) ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ มาอยู่อาศัยที่วัดพระรูป ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมกับพระอาจารย์คง วัดไชนาวาส เขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี และเรียนหนังสือไทยกับพระอาจารย์ช้าง เจ้าอาวาสวัดพระรูป

◉ อุปสมบท
ครั้นอายุ ๒๓ ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดไชนาวาส โดยมี พระครูสมณะการพิสิฐ (หลวงพ่อท้วม) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูถาวรสุวรรณคุณ (หลวงพ่อคำ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์บุญ วัดไชนาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จตฺตมโล

อยู่จำพรรษาที่วัดพระรูป และมุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นเจ้าอาวาส

พ.ศ.๒๔๘๘-๒๕๒๐ ร่วมกับคณะกรรมการวัด พระภิกษุ-สามเณร บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ พระอุโบสถ

และได้จัดสร้างพระเครื่องและพระบูชาแบบต่างๆ เพื่อหาเงินสร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ได้นิมนต์พระคณาจารย์ชื่อดังร่วมปลุกเสก โดยมีพิธีพุทธาภิเษกครบไตรมาส ๓ เดือนเต็ม จึงได้นำออกมาให้เช่าบูชา

นอกจากนี้ ยังมีพระขุนแผน รุ่นปี พ.ศ.๒๕๑๓ พระกรุของวัดพระรูป ชุดกิมตึ๋ง ประกอบด้วยพระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ พระนาคปรกชุมพล รวมทั้งพระกรุขุนแผนไข่ผ่าซีก เป็นพระ กรุยอดนิยม ที่เซียนพระทั้งประเทศรู้จักกันดี

พระเครื่องทุกแบบ ทุกพิมพ์ ทุกรุ่น ที่หลวงปู่ดีสร้างปรากฏว่าได้รับความนิยม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวเมืองสุพรรณบุรี จนกระทั่งถึงระดับประเทศ ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังระดับประเทศอีกรูปหนึ่ง ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา สามารถกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ

◉ มรณภาพ
กระทั่ง เมื่อเวลา ๑๘.๔๐ น. วันที่ ๑๘ กุมภาพัน พ.ศ.๒๕๕๑ พระลูกศิษย์ใกล้ชิดได้เข้าไปถวายภัตตาหารหลวงปู่ดี ที่นอนพักผ่อนในกุฏิ ปรากฏว่าขณะที่หลวงปู่ดีลุกขึ้นรับอาหารเสริม ได้ล้มหงายแน่นิ่งบนที่นอน

พระลูกศิษย์ใกล้ชิดรีบเข้าไปพยุง แต่ปรากฏว่า หลวงปู่ดี ได้ละสังขารไปแล้ว สิริอายุรวมได้ ๙๖ ปี พรรษา ๗๓

ลูกศิษย์ท่านมีทั้งเจ้านายผู้ใหญ่ คนร่ำรวย และคนยากคนจน แต่ท่านก็สงเคราะห์ลูกศิษย์เท่าเทียมกัน ไม่มีใครเป็นศิษย์คนพิเศษแต่อย่างใด ทุกวันนี้ท่านยังอยู่ในใจคนที่เคารพท่านเสมอ ไม่ใช่เพียงการสะสมพระเครื่องเท่านั้น

◉ ด้านวัตถุมงคล
ในปี พ.ศ.๒๕๑๒-๒๕๑๔ หลวงปู่ดี วัดพระรูป ได้สร้างพระเครื่องและพระบูชาแบบต่างๆ เพื่อหาเงินสร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ โดยท่านได้ตั้งจิตอธิษฐาน จุดธูปเทียนบูชาพระ ชุมนุมเทวดา ก่อนปฏิญาณตนต่อหน้าพระพุทธรูป ว่า

ข้าพเจ้าขอสร้างพระชนิดต่างๆ เพื่อนำเงินมาบูรณะวัดพระรูป จะไม่นำเงินส่วนนี้มาใช้ส่วนตัวเป็นอันขาด ถ้าข้าพเจ้าเอาไปใช้ส่วนตัว ขอให้ตกนรกอย่าได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีกเลย

หลวงปู่ดี วัดพระรูป ได้นิมนต์พระคณาจารย์ รวบรวมดอกไม้ร้อยแปด ว่านร้อยแปด แร่ธาตุต่างๆ และผงกรุต่างๆ นำมาสร้างพระเครื่องขึ้น ดังนี้ พระผงสุพรรณ, พระนางพญา, พระซุ้มกอ, พระสมเด็จ, พระรอด, พระกำแพงศอก, และโลหะพิเศษต่างๆ พระที่ชำรุด และมวลสารที่มีคนนำมาถวาย โดยมีพิธีพุทธาภิเษกครบไตร มาส ๓ เดือนเต็ม จึงได้นำออกมาให้เช่าบูชา

พระผงสุพรรณ หลวงพ่อดี วัดพระรูป รุ่นแรก เนื้อดำหูจุด
พระผงสุพรรณ หลวงพ่อดี วัดพระรูป รุ่นแรก เนื้อดำหูจุด
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ดี วัดพระรูป บล็อกนิยม
เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ดี วัดพระรูป บล็อกนิยม

พระเครื่องทุกแบบ ทุกพิมพ์ ทุกรุ่น ที่หลวงปู่ดีสร้างปรากฏว่าได้รับความนิยม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวเมืองสุพรรณบุรี จนกระทั่งถึงระดับประเทศ ได้ชื่อว่า เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังระดับประเทศอีกรูปหนึ่ง ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา สามารถกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ

หลวงปู่ดี ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านได้เข้าไปในพระอุโบสถและตั่งสัตย์ปฏิญาณว่า “ลูกไม่มีเงินที่จะพัฒนาวัด และเกินกำลังเหลือเกินจะขอสร้างวัตถุมงคลเพื่อหารายได้เข้าวัด ขอให้วัตถุมงคลนี้มีเมตตา บารมี และศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ผู้ที่มาเช่านำไปใช้เกิดศิริมงคล ลูกขอทำวัตถุมงคลนำเงินมาบูรณะวัดพระรูปให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ในการสร้างพระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ ท่านได้นำพระพิมพ์ต่าง ๆ ที่แตกหักจากเจดีย์ต่าง ๆ ทั่วเมืองสุพรรณ โดยเฉพาะพระชำรุดหักของวัดบ้านกร่าง วัดพระรูป และวัดมหาธาตุ พระผงสุพรรณ ฯลฯ มาเป็นส่วนผสมในมวลสาร

การสร้างพระเครื่อง หลวงปู่ดี วัดพระรูป เวลาท่านทำพระเครื่องท่านจะกดพิมพ์เองกับมือวันหนึ่งทำไม่มากองค์หรอกครับ เพราะเมื่อหมดฤกษ์ดี ยามดี ในแต่ละวันท่านก็หยุด)ท่านสร้างและเก็บไว้ เมื่อเกจิสมัยนั้นแวะเวียนมาหาท่าน ก็จะร่วมกันปลุกเสกด้วย หลวงปู่โต๊ะ, หลวงพ่อมุ่ย ฯลฯ

และนำเข้าพุทธาภิเศก ใหญ่อีกครั้ง ท่านสร้างพระเพราะต้องการให้ชาวบ้านได้ร่วมทำบุญและได้พระเครื่องไว้บูชาและนำเงินมาบำรุงวัดซึ้งในขณะนั้นวัดพระรูปได้ทรุดโทรมมาก เมื่อได้เพียงพอแล้วจะหยุดสร้างทันที ต่อมาท่านก็หยุดสร้างจริงๆ ไม่ได้สร้างทุกๆปี หรือตามวาระพรรษา รุ่นหลังๆเป็นลูกศิษย์ขอสร้างเนื่องจากจะซ่อมแซมวัด จึงเป็นเหตุให้ผงสุพรรณและพระขุนแผน พระปิดตา รุ่นที่หลวงพ่อกดพิมพ์เองจริงๆแล้วมีจำนวนไม่มากนัก แต่รุ่นหลังๆ พุทธคุณก็เหมือนกันทุกประการ ชาวเมืองสุพรรณและพื้นที่ใกล้เคียงล่ำลือกันว่า จะมีผีเสื้อ ผึ้ง และนกหลายชนิด บินมาเกาะที่มือหลวงพ่อและอยู่ใกล้ๆ เวลาหลวงพ่อดีกดพิมพ์พระเครื่อง

เมื่อหมดฤกษ์ดี ท่านก็หยุด พระเครื่องของท่าน จะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ ปัจจุบันยังมีผู้ชีวิตอยู่สามารถยืนยันเรื่องการสร้างพระเครื่องของหลวงปู่ดี วัดพระรูปได้ ตามตำราโบราณ สายตรงต่างทราบดี พุทธคุณดีด้านเมตตา มหาเสน่ห์ มหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรี มหาอุตม์ พุทธคุณดีทุกๆ ด้าน