ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ชม ฐานะธัมโม
วัดกู่พระโกนา
อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
หลวงปู่ชม ฐานะธัมโม นามเดิมชื่อ ชม จันทร์หนองสวง เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๗ (วัน ๔ ฯ ๖) ปีระกา ณ คุ้มวัดกลาง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด บิดาชื่ นายพรมราช และมารดาชื่อ นางบัวศรี
ชีวิตเยาว์วัยของหลวงปู่ชม เป็นคนตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตว์สุจริตรักษาความยุติธรรม เป็นคนกล้าหาญจิตใจแกร่งกล้า ชอบเล่นเครื่องลางของขลัง จนเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันในสมัยนั้นเกิดความยำเกรง หลวงปู่ชมท่านจึงมีมิตรสหายมากมายในระแวกนั้น ในวัยหนุ่มหลวงปู่ชมท่านใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า
จนเมื่ออายุได้ ๒๕ ปี จึงแต่งงานกับนางสีดา ตลอดระยะเวลาที่ใช้ชีวิตครองเรือนครองรักอยู่กับครอบครัว ท่านได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี ประกอบอาชีพทำนาหาเลี้ยงครอบครัว หลังเสร็จจากการเก็บเกี่ยวแล้ว ท่านจะหารายได้พิเศษมาจุนเจือครอบครัวอีกทางหนึ่ง โดยการเป็นพ่อค้าวัวซื้อขาย ควายสมัยนั้นเขาเรียกกันว่า..”นายฮ้อย“
จะรวบรวมสมัครพรรคพวกต้อนวัวควายไปขาย ตามแนวเขตชายแดนเขตเขมร แถวบริเวณอำเภอช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ การต้อนวัวควายไปขายตามแนวชายแดน มีทั้งราบรื่นและมีทั้งอุปสรรคทั้งนานัปการ ในปัจจุบันใครได้ดูละคร เรื่องนายฮ้อยทมิฬ ก็พอจะมองภาพออก หลวงปู่ชมคงจะทำหน้าที่เป็นนาย “ฮ้อยเคน” ในการทำนา และการค้าขายทำให้หลวงปู่มีฐานะครอบครัวดีขึ้น อาจพูดได้ว่ามั่งมีพออยู่พอกิน แต่หลวงปู่ขาดได้อยู่อย่างหนึ่ง คือ หลวงปู่ชมไม่มีทายาทที่จะสืบสกุลได้อุ้มชูดูแล
ด้วยบุญบารมีแต่ปางก่อนของหลวงปู่ ทำให้หลวงปู่ไม่มีบ่วงผูกคอ หลวงปู่ได้อยู่ร่วมครองเรือนกับครอบครัวเป็นเวลานาน ๙ ปี การที่หลวงปู่ไม่มีทายาท (บุตร) เงินทองทรัพย์ที่หามาได้ นอกจากจะนำไปทำบุญให้ทานแล้ว ไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไร หลวงปู่จึงขออนุญาตจากนางสีดา (ซึ่งเป็นภรรยา) ตัดสินใจออกบวชและภรรยาก็ไม่ได้ทัดทานหรือขัดข้องแต่อย่างใด นั้นเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ว่าหลวงปู่ชม ท่านเป็นบุคคลที่มีบุญบารมีมาแต่ปางก่อน ที่ท่านได้ออกบวชมุ่งสู่สายธรรมะ เพื่อที่จะได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างแท้จริงต่อไป
หลวงปู่ชม ฐานะธัมโม อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๑ เวลา ๐๗.๔๐ น. ขณะมีอายุได้ ๓๔ ปี โดยมี พระครูเหมถาพรมย์จารี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระปลัดสิงห์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ที่วัดกลาง ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
เมื่อหลวงปู่ท่านบวชได้ ๑ พรรษา ก็ได้ออกธุดงควัตร เพื่อแสวงหาทางดับทุกข์ ตามที่วิเวกสงัด ปักกลดพักอาศัยตามร่มเงา ไม้ หรือตามถ้ำภูเขา บำเพ็ญเพียรศึกษาหลักธรรม อยู่ตามแนวชายแดนอีสานใต้ เขตประเทศเขมร เขตจังหวัดอุบลราชธานี , ศรีสะเกษ , สุรินทร์ , บุรีรัมย์ ได้ศึกษาวิชาความรู้จากหลายๆ อาจารย์เป็นเวลานานหลายพรรษา จนหลวงปู่ชมมีวิชาความรู้ความสามารถหลายด้าน เช่น วิชาอาคมทางด้านเมตตามหานิยม, คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด, มหาอุต, ป้องกันและขับไล่คุณไสย คุณผี คุณคน ฯลฯ
หลวงปู่ชม เป็นพระเกจิที่มากความสามารถ ว่ากันว่าท่านมีอิทธิปฎิหาริย์นานัปการจน คนเล่าขานกันว่า “หลวงปู่มีวิชาสามารถล่องหนหายตัวได้” เรื่องราวตอนหลวงปู่เดินธุดงค์ไปตามแนวเขตทุรกันดารนั้นมีมากมาย ผจญทั้งสัตว์ร้าย ภูตผีปีศาจ และโรคภับไข้เจ็บ แต่ท่านสามารถฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้นได้โดยตลอด
หลังจากนั้นหลวงปู่ชมท่านก็ได้เดือนทางกลับบ้านเกิด อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างผ่านมาทางปรางค์กู่โกพระนา ซึ่งในบริเวณปรางค์กู่นั้นไปปกคลุมไปด้วยแมกไม้นานาชนิด มืดมิดจนมองดูน่ากลัว ชาวบ้านไม่กล้าผ่านเข้าไปในเขตปรางค์กู่ เพราะเป็นเขตผีดุมีบรรดาสัมภเวสี เปรตอสุรกาย ตลอดจนสัตว์ดุร้าย แมลงมีพิษนานาชนิด
ในบริเวณเขตป่ามีเนื้อที่ประมาณ ๑๕๐ ไร่เศษซึ่งผ่านไปทางประเทศเขมร (กัมพูชา) ศรีสะเกษจังหวัด – สุรินทร์ (ปัจจุบัน) หลวงปู่เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมหลวงปู่จึงเลือกที่ดังกล่าวพักพาอาศัยต่อมาได้พาชาวบ้านญาติโยมสร้างวัดขึ้นที่ปรางค์กู่รียกว่า “วัดกู่พระโกนา” จนถึงปัจจุบัน
จากการที่หลวงปู่ชม ท่านมีวิชาอาคมแกร่งกล้าดังที่กล่าวมาแล้วทำให้ชื่อเสียงของหลวงปู่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และนอกจากนี้หลวงปู่ชม ท่านยังมีลูกศิษย์ที่เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอยู่หลายรูป เช่น
๑. หลวงปู่วรพรตวิธาน วัดจุมพล ตำบลก้านเหลือง จังหวัดขอนแก่น (หลวงปู่วรพรตเหยียบรถเดี่ยง)
๒. หลวงพ่อกองยโสธโร (พระครูกิติคุณาภรณ์) วัดกู่พระโกนา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันทั้งสององค์ยังมีชีวิตอยู่
หลวงปู่ชมท่านเป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวบ้านตำบลแสนหนอง ตำบลเสือโก้ก อำเภอวาปีปทุม และชาวอำเภอแกดำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๐ เศษๆได้เกิดอาเพศและสิ่งประหลาดขึ้นภายในหมู่บ้านหนองแสนและหมู่บ้านใกล้เคียงหลายๆ หมู่บ้าน คือ ชาวบ้านได้รับความเดือนร้อน เจ็บไข้ได้ป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ เกิดโรดระบาดมีคนล้มตายเป็นประจำมิได้ขาด
จนชาวบ้านหวาดผวากินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่มีวิธีที่จะแก้ไขได้ ชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่พระภิกษุสงฆ์ได้ประชุมปรึกษาหารือกันตกลงเป็นเอกฉันท์ทราบว่าที่วัดกู่พระโกนาอำเภอสุวรรณภูมิมีพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาความรู้ความสามารถอยู่ท่านหนึ่งชื่อ “หลวงพ่อชม” สามารถปราบภูตผี ปีศาจและรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ตลอดจนป้องกันขับไล่คุณไสย คุณผี คุณคนได้ และตกลงกันว่าส่งตัวแทนไปนิมนต์ท่านมาเพื่อบรรเทาความทุกข์ของชาวบ้าน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อหลวงปู่มาถึงบริเวณบ้านหนองแสนแล้ว หลวงปู่ก็ได้ทำพิธีกรรมของท่านทางไสยศาสตร์ ปักหลักเขตเเดนให้เป็นที่เป็นทางและมีหลักซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางรวมใจอยู่ที่มุมหนองน้ำซึ่งเรียกว่า “หนองใหญ่ว่า” ด้านมุมทิศตะวันออกของหนอง คือหลักบ้านอยู่ทุกวันนี้ หลังจากที่หลวงปู่ได้มานั่งวิปัสสนากรรมฐานแล้วเหตุการณ์ทุกอย่างก็คลี่คลายไปในทางที่ดี พี่น้องชาวบ้านหนองแสนได้อยู่ร่วมกันมาด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
หลังจากนั้นชาวบ้านในเขตระแวกใกล้เคียงต่างได้ทราบข่าวเล่าลือแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ชมซึ่งมีหลายหมู่บ้านได้ไปนิมนต์ท่านมาทำพิธีกรรมเหมือนกับบ้านหนองแสน
เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๙๖ หลวงปู่ได้บอกลูกศิษย์คนสนิทของท่านคือหลวงพ่อกองว่าในวันที่ ๑๖ เดือน ๘ ปีนี้คือปี พ.ศ.๒๔๙๖ หลวงปู่จะตายแล้ว หลวงปู่ชมก็ได้บอกกล่าวหลวงพ่อกองหลายอย่าง หลังจากนั้นประมาณ ๕-๖ เดือนต่อมาตรงกับวันที่ ๑๖ กรกฎาคมพ.ศ.๒๔๙๖ หลวงปู่ชม ท่านก็ได้ละสังขาร มรณภาพอย่างสงบ ตรงตามวันเวลาที่ได้บอกลูกศิษย์ไว้ล่วงหน้า แสดงว่าท่านหลวงปู่มีญาณหยั่งรู้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นสิ่งแปลกประหลาดน่าอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่ง สิริรวมอายุได้ ๖๙ ปี พรรษา ๓๕
ปัจจุบันแม้เวลาจะล่วงเลยมานานแล้วหลังจากหลวงปู่ชมได้มรณภาพไปเป็นเวลาเกือบ ๗๐ ปีแล้ว บุญบารมีตลอดคุณงามความดีของหลวงปู่ชม ยังสถิตย์อยู่ในใจของลูกหลานชาวตำบลหนองแสนและผู้ที่รู้จักให้ความเคารพนับถือมาโดยตลอด ประดุจหนึ่งหลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยความอัศจรรย์ในอตีตและความหยั่งรู้ในอนาคตด้วยปฎิหารย์ทุกอย่างเป็นไปได้
◎คาถาหลวงปู่ชม วัดกู่พระโกนา
ตั้งนะโม ๓ จบ…ทุุพถุลลา อุตถุลลา มทุลลา ตัณทุลลา ปุปผาลา กันฑุลลา ขะละลาอิติ อุคันหิตะวา นะสาหิตัง อิมังสลา กริสวิชาสุตัง ทาเลนะ สาหิเต อิมังสลา กริสวิชาสุตังวา เจตัง เวสาหิเต อิมังสลา กริสวิชาสุตัง ยัง ภวิสสติ สุพยังวา สัมภิสสัตตังวา วาโรมะหัง โสวาโสปะ หิยิสาติ อิติปัตโต เสมัตตะ มัตจิลาจะยิตะอะรินัง อะนาจะถะ อุปปาทายะ สาทาลิเย เมตตังเจ บัพพะเต อะภินิติเลสา อุอะ หามะมะ อิติกะระนะมิทา จัตตาโร นะวะโมทะเวจะติ นิพปัญจะติ สัตตาฆะ อัฏฐา อะกาเอโอ ภาโว โสตถิ นะคุตติยารักขายะ จะสุวิหายะติ โยตะถาอุตตลัง น ลภิสสติ. สาธุ สาธุ สาธุ…