วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ

ประวัติ และปฏิปทา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม

หลวงปู่จาม กําเนิดในตระกูล “ผิวขำ” ที่บ้านห้วยทราย อ.คําชะอี จ.มุกดาหาร เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค. ๒๔๕๓

ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวผู้มีปัญญา และมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

ตามประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ พุทธังกโร มหาปุญโญ โดย พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนตุสสโก เจ้าอาวาสวัดป่านาคําน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี ซึ่งมีศักดิ์เป็น “หลานอา” ของหลวงปู่จามนั้น แสดงถึงศรัทธาอัน มั่นคงที่ นายกา และนางมะแง้ โยมบิดาและโยม มารดาของหลวงปู่จามมีต่อคณะสงฆ์ ซึ่งนําโดย หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นอย่างดี

“ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลวงปู่มั่นได้มาจําพรรษากับ หลวงปู่เสาร์ ที่ภูผากูด ซึ่งอยู่ในเขต อ.คําชะอี นายกา และนางมะแง้ โยมบิดาและโยมมารดาได้พา ท่านซึ่งขณะนั้นอายุประมาณ ๓ ปี ไปกราบพระมหาเถระทั้งสองรูป..”

๕ ปีถัดมา พ่อแม่ก็พาลูกชายผู้นี้ไปร่วมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ กล่าวคือ

“ต่อมาช่วงปี พ.ศ. ๒๔๖๔ บรรดาศิษย์ของหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น จํานวนประมาณ ๗๐ รูป ได้ มารวมกันเป็นกองทัพธรรมสายพระกรรมฐานมาก เป็นประวัติการณ์ ขณะเด็กชายจามอายุได้ ประมาณ ๑๑ ปี ได้ติดตามพ่อแม่ไปอุปัฏฐากดูแลรับใช้พระกรรมฐานอย่างใกล้ชิด แม่มะแง้ได้แกงขนุนอ่อนถวายพระสงฆ์ สามเณรแห่งกองทัพธรรมทั้งหมด เท่าที่ตรวจดูสอบถามได้มี หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่กงแก้ว ขันติโก, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร, หลวงปู่แว่น ธนปาโล, หลวงปู่กว่า สุมโน, หลวงปู่มหาปิ่น ปัญญาพโล, หลวงปู่หลุย จนทสาโร, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน, หลวงปู่ดี ฉันโน, หลวงปู่ซามา อจุตโต, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่สาม อกิญจโน, หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตโต, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่คํา คัมภีรญาโณ เป็นต้น”

อีก ๕ ปีต่อมา พอลูกอายุย่างเข้า ๑๖ ปี นาย กาจึงนําไปฝากกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในหนังสือดังกล่าวบันทึกเรื่องราวตอนนี้ไว้ อย่างน่าสนใจว่า

“ก่อนที่หลวงปู่มั่นจะรับฝากได้ถามนายกาว่า “โยมรักลูกไหม”

ท่านตอบว่า “ยังรักอยู่”

หลวงปู่มั่นตอบว่า “ถ้ายังรักอยู่ก็ไม่รับ”

จากคําตอบเด็ดขาดของหลวงปู่มั่นทําให้นายกาต้องคิดหนัก เพราะผิดหวังแต่ก็ยังไม่ย่อท้อ ได้ปรึกษากับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และศิษย์หลวงปู่มั่นท่านอื่น จึงได้รับคําแนะนําว่า

“ถ้ามอบให้ท่าน ก็ให้เป็นลูกท่านเลย ไม่ต้องห่วงใย จะสมประสงค์”

จึงเข้าไปกราบหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่งแล้วกราบ เรียนว่า ขอมอบนายจามให้เป็นลูกโดยเด็ดขาด จะทําอย่างไรก็แล้วแต่หลวงปู่มั่นจะเห็นสมควรท่านจึง ยินยอมรับฝากตั้งแต่นั้นมา และหลวงปู่มั่นกล่าว ยกย่องนายกาว่า

มีสติปัญญาดี ตัดสินใจถูกต้อง ไม่เสียแรงที่ได้อบรมธรรมะให้ตลอดที่อยู่ห้วยทราย”

ในวัย ๑๖ ปี นายจามกลายเป็น “ผ้าขาวจาม” เป็นศิษย์นุ่งขาวห่มขาวอยู่ประมาณ ๙ เดือน ก่อนจะได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้วอยู่รับการ อบรมสั่งสอนจากพระอาจารย์ปู่มั่น ที่บ้านหนองขอน อ.ทุ่ง (อ.หัวตะพาน) จ.อุบลราชธานี

กระทั่งพระอาจารย์ปู่มั่นเดินทางจาริกจากไป ท่านได้ฝากให้สามเณรจามอยู่ในความดูแลของ หลวงปู่กงมา หลวงปู่อ่อน หลวงปู่มหาปิ่น

ท่านเป็นสามเณรอยู่ ๔ ปี คือระหว่างปี พ.ศ ๒๔๖๗-๒๔๗๑ ก่อนจะลาสิกขา แล้วชะตาชีวิตก็ หันกลับเข้ามาสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ขณะอายุเกือบ ๒๙ ปี โดยได้รับฉายาว่า มหาปุญโญ อันมีความหมายว่า ผู้มากมีบุญ

ตั้งแต่บัดนั้นมากระทั่งอายุ ๑๐๓ ปีเศษ เป็นการดําเนินอยู่ในเส้นทางเดียวคือ วิถีแห่งการพ้นทุกข์

ไม่เพียงแต่ตัวท่านเอง สติปัญญาอันมั่นคงของโยมพ่อโยมแม่ของท่านยังดําเนินตรงไปบนวิถีเดียวกัน นางมะแง้ ผู้เป็นโยมมารดานั้นต่อมาได้บวชชี และมีบทบาทในประวัติพระอาจารย์มั่น ตั้งความที่ปรากฏในหนังสือเดียวกันนั้นว่า

“แม่ชีมะแม้เป็นผู้มีสติปัญญาดี มีไหวพริบ ปฏิภาณดี มีอุปนิสัยเป็นคนละเอียดช่างสังเกต การปฏิบัติที่แสดงถึงคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อคราวหลวงปู่มั่นพาโยมแม่กลับไป จ.อุบลราชธานี ได้แวะพักที่ห้วยทราย เห็นหลวงปู่มั่นเดินหลังจากบิณฑบาตได้แวะไปแบ่งอาหารให้โยมมารดาถึง ๒ ครั้งใน วันเดียวกัน แม่ชีมะแม้เห็นอย่างนั้นจึงจัดแจงทําอาหารคาวหวานไปให้โยมแม่หลวงปู่มั่นเสียเองเป็นที่ประจักษ์ใจท่าน เมื่อหลวงปู่มั่นจะนําอาหารใน บาตรออกมาให้โยมแม่ของท่าน โยมแม่ของหลวงปู่มั่นจึงห้ามว่า

“แม่แดงจัดมาให้ฉันทานแล้ว”

แม่แดง ในคําเรียกขานของโยมแม่หลวงปู่มั่นก็ คือ แม่ชีมะแง้ ผู้มีบุตรชายคนโตนามว่าแดง และ นายแดงผู้นี้ก็คือ โยมบิดาของพระอาจารย์อินทร์ ถวายนั่นเอง

ประวัติของหลวงปู่จามหลายสํานวนระบุตรงกันว่า แม้จะได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระอาจารย์มั่น ตลอดจนพระมหาเถระรูปสําคัญๆ ซึ่งล้วนแต่ล่วงเข้าสู่พระนิพพานโดยการชี้แนะของ พระอาจารย์มั่น แต่หลวงปู่จามนั้น มิได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์เช่นเดียวกับพระอริยบุคคลเหล่านั้น ด้วยเพราะมีความตั้งใจมั่นมาหลายภพ หลายชาติแล้วในเป้าหมายของตัว ดังปรากฏความว่า

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้เดินธุดงค์ไป จ.เชียงใหม่ ได้จําพรรษาอยู่ที่วัดโรงธรรม อ.สัน กําแพง อยู่กับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ๒ พรรษา ในช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านจึงอยู่ที่นี่ เป็นหลักในบางโอกาสก็ออกไปหาวิเวกตามดอยต่างๆ

ต่อมาได้ไปจําพรรษาอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ ในช่วงนั้นได้มีการทิ้งระเบิดในเมืองบ่อยครั้ง จึงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะปลอดภัย หลวงปู่สิมจึงชวนหลวงปู่จามออกไปอยู่ที่จอมทองระยะหนึ่ง

การปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนาที่จอมทองแห่งนี้ ได้พบกับความแปลกใหม่ของจิตตัวเอง เพราะเป็นสถานที่สัปปายะเหมาะสมแก่การบําเพ็ญพาก เพียร และบุคคลสัปปายะเนื่องด้วยหลวงปู่สิมเคย เป็นสามเณรอยู่ด้วยกัน ขณะที่อยู่กับหลวงปู่มั่น จึงมีความเข้าใจสนิทสนมกันดี

ในช่วงแรกของการภาวนา จิตไม่สงบแส่ส่ายออกนอกเกิดสัญญาปรุงแต่งลักษณะเดียวกันกับที่เคยปรากฏมาก่อนแล้ว แม้ว่าจิตจะเคยสงบถึงขั้น อัปปนาสมาธิหลายครั้งแล้วก็ตาม เกิดเสื่อมลงอย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆที่ได้ใช้อุบายต่างๆ แก้ไขมาหลายครั้งต่อหลายหนแล้ว บางคืนจิตร้อนรน เสมือนว่ากิเลสไม่เบาบางเลยทั้งๆ ที่ปกติธรรมดาจะไม่ปรากฏ แต่พอเริ่มอธิษฐานจิตเข้าที่ภาวนาจะ เกิดอาการลักษณะนี้ขึ้นมา คิดทบทวนเหตุการณ์ ต่างๆ ที่ผ่านมา ทั้งๆที่บําเพ็ญพากเพียรอย่างจริงจัง แต่ผลที่ได้ดูเหมือนไม่คุ้มค่ารู้สึกว่าเกือบหมดกําลังใจ แต่เนื่องด้วยอุปนิสัยของท่านเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ท่านระลึกถึงหลวงปู่มั่นตลอดจนครูบาอาจารย์ที่เคยให้คําแนะนําสั่งสอน และปฏิปทาของท่านเหล่านั้นแล้ว จึงเกิดพลัง ใจตั้งสัจจะอธิษฐานว่า

“ถ้าจิตจะสงบหรือไม่สงบก็ไม่ว่า จะเกิดหรือไม่เกิดอะไรก็ไม่ว่า เราไม่หวังอะไรอีกแล้ว ต่อไปนี้จะเอาเฉพาะพุทโธให้แนบแน่นกับลมหายใจที่ตรง หัวใจของเรา จะไม่ยอมให้หนีไปไหน”

ต่อจากนั้นอีกไม่นาน จิตค่อยๆสงบละเอียด รวมลงเป็นสมาธิ กายเบาจนไม่มีกายเหลือแต่จิตดวงเดียว เกิดนิมิตภาพเจดีย์ปรักหักพังมากมาย พระพุทธรูปเก่าแก่ปางต่างๆ มากมาย ต้นโพธิ์ ต้นจิก และอื่นๆ เป็นภาพแล้วภาพเล่า ต่อจากนั้นก็เห็นภาพตนเองในอดีตชาติเกิดขึ้นมาจนนับไม่ไหว ท่านได้กําหนดรู้ในภาพนิมิตที่เกิดขึ้นมาโดยลําดับ ปัญญารู้แจ้งในแต่ละชาติในอดีตทั้งกรรมดีกรรมชั่วคละเคล้าปะปนกันไป ตลอดจนบุญบารมีที่สร้างไว้แต่อดีตชาติ ทั้งขึ้นสูงและลงต่ํา สวรรค์ นรก มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน

การพิจารณากลับไปกลับมาปรากฎความรู้แจ้ง ชัดขึ้นมาว่าการที่มุ่งทําความเพียรเพื่อละกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นเพื่อความหลุดพ้นทุกข์ในชาตินี้ คงเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว เสมือนว่ามีอะไรสักสิ่งหนึ่ง ปิดกั้นไว้ ปัญญาไม่ทะลุแจ้ง ฉุกคิดถึงแนวทางปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาพุทธภูมิมาแล้ว ชะรอยเราจะเคยปรารถนา..มาแล้วกระมัง ท่านจึงถอนจิตออกจากสมาธิแล้วไปที่หน้าองค์พระพุทธรูป ห่มผ้าจีวรจรดไหล่เรียบร้อย กราบแล้วตั้งจิต อธิษฐานว่า

“ถ้าได้เคยปรารถนาที่บําเพ็ญมาเพื่อการเป็นในภายภาคหน้าแล้วก็ขอให้จิตสงบเยือกเย็น ขอให้ภาพนิมิตเหล่านั้นหายไป และให้เกิดความรู้แจ้งเห็นชัดเป็นที่ประจักษ์เถิด”

จึงได้พัก ผ่อนหลับ

ในคืนต่อมาการภาวนาได้ผลดี จิตสงบรวดเร็ว จิตใจที่เคยร้อนมีแต่เยือกเย็น เบาสบาย จิตรวมลงถึงฐานอัปปนาสมาธิ พักในสมาธิเพื่อให้เกิดพลัง เต็มที่แล้วจิตถอนขึ้นมาเองอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ เกิดญาณทัศนะสามารถรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ อย่างที่ไม่เคยรู้เห็นมาก่อน หยั่งรู้เข้าใจภาพนิมิตที่ เคยปรากฏมาแล้วอย่างปราศจากข้อสงสัย รู้แจ้งแล้วว่าชาตินี้ยังไม่สามารถบําเพ็ญพากเพียรให้สิ้นอาสวะกิเลสได้ ได้รู้เห็นจิตใจของตนในส่วนลึก อย่างละเอียดว่า ได้เคยอธิษฐานตั้งความปรารถนาไว้แล้วในอดีตชาติและได้รับการ…แล้ว ไม่สามารถถอนออกได้ จึงจะต้องบําเพ็ญบารมีเพิ่มขึ้น จะต้องเกิดตายอีกหลายชาติจนกว่าบารมีจะเต็ม และถึงระยะเวลาที่จะต้องลงมาอีกเพื่อการที่จะต้องมาโปรดสัตว์ที่โลกกําลังร้อนระอุ ซึ่งเป็นระยะเวลาอีกนานเท่าใดไม่สามารถจะประมาณได้

การสั่งสมอุปนิสัยบุญบารมีในแนวทางของ ความเป็น…และได้รับการแล้วนั้นก็เป็นเรื่องเฉพาะตน การจะบําเพ็ญบารมีเพื่อเป็นใครก็เป็นเรื่อง เฉพาะของการเป็นใครคนนั้น กรณีบําเพ็ญสาวกบารมีก็จะเป็นสาวกบําเพ็ญอัครสาวกบารมีก็จะเป็นอัครสาวก บําเพ็ญปัจเจกบารมีก็เป็นปัจเจกพุทธเจ้า ถ้าบําเพ็ญพุทธบารมีก็ต้องเป็นพระพุทธเจ้า

ผู้เขียนได้ถามหลวงปู่ว่า “เกิดตายอีกหลายชาติ ไม่เบื่อหรือ”

ท่านตอบว่า “เบื่อไม่ได้เพราะเป็นหน้าที่ต้องมา เกิดตายจนกว่าจะหมดภาระหน้าที่นั้น”

เส้นประที่ละไว้นี้ คืออะไร? คําตอบมีอยู่ในบันทึกของท่านผู้ถาม

ท่านผู้ถามนี้เป็นผู้ได้รับมอบหมายจาก พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนตุสสโก ให้ช่วยเขียน ประวัติปฏิปทาและสาระธรรมของหลวงปู่จาม ท่านว่า ตอนท่านจะเขียนนี้ได้พยายามรวบรวม ข้อมูลตลอตจนไปสอบถามรายละเอียดจากหลวงปู่จามแต่ “เอาเข้าจริงหลวงปู่ท่านคงจะรู้ว่าเรามา เพื่อจะเขียนประวัติของท่าน ท่านจึงตอบคําถามแต่ เพียงสั้นๆ ทําให้ผู้เขียนหนักใจอยู่แต่ก็ได้รับความ อนุเคราะห์ร่วมมือจากหลายท่าน จึงค่อยอุ่นใจบ้าง แม้จะไม่สมใจก็ตาม ถึงแม้ว่าหลวงปู่จะตอบสั้นแต่ มีสาระที่สมควรนํามาคิด จึงขอนํามาลงบันทึกไว้ บ้างดังนี้

ถาม : หลวงปู่ไม่เอาพระอรหันต์ในชาตินี้หรือ?

ตอบ : เอาอยู่ แต่เอาไม่ได้

ถาม : หลวงปู่สร้างสมบุญญาบารมีไว้มากมาย พอหรือยัง และได้ญาณทัศนะถึงขั้นไหน?

ตอบ : ธรรมดาผู้ที่เกิดตายหลายชาติ นับไม่ไหว ย่อมมีอยู่

ถาม : พลังอํานาจทางกสิณ หลวงปู่ได้เมื่อใด?

ตอบ : มีของเดิมอยู่

ถาม : หลวงปู่ปรารถนาพุทธภูมิจะต้องเกิดอีก กี่ชาติ?

ตอบ : เกิดตายอีกหลายชาตินับไม่ไหว

ถาม : เกิดตายอีกหลายชาติ หลวงปู่ไม่เบื่อหรือ?

ตอบ : เมื่อไม่ได้ เป็นหน้าที่

ตอนบวชเมื่ออายุได้ ๒๙ ปีนั้น หลวงปู่จามตั้งเป้าว่าจะบรรลุมรรคผลนิพพานให้ได้แต่ในพรรษา ที่ ๖ ขณะที่อายุได้ประมาณ ๓๖ ปี จึงได้รู้แจ้ง ประจักษ์ชัดในต่ออนาคตของตนเองว่า “ได้ปรารถนาพุทธภูมิไว้แล้ว”

ใน “พุทธังกุโร มหาปุญโญ” ระบุชัดถึง เหตุการณ์นี้ว่า

“พระจามเดินธุดงค์ไปยังเชียงใหม่ ได้ปักกลดบําเพ็ญภาวนาทําความเพียรบริเวณที่เนินเขาแห่งหนึ่งใกล้แม่งัด การภาวนายังไม่ก้าวหน้าจิตจะดิ้นรนแส่ส่ายออกไปภายนอกอยู่ตลอดเวลา จิตจะปรุง แต่งไม่ยอมสงบ แม้ว่าจะผ่านการทดสอบจิตใจอย่างเข้มข้นมาแล้ว เป็นปัญหาหนักที่ท่านต้องเอาไปขบคิดอย่างหนัก ต้องหาทางออกที่เหมาะสมเป็นอย่างไรแน่ ท่านหวนคิดถึงแนวคําสอนของหลวงปู่มั่น ที่ตนต้องค้นหาแนวทางที่เหมาะสม หาความ พอดีของตนเอง แต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านได้ทบทวนแนวคําสอนของพระพุทธเจ้าที่ได้ไปพบปัญจวัคคีย์ พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตตน สูตร จึงเกิดความคิดขึ้นว่าเราเองทดลองมาสมควร ยังหาจุดสมดุลของจิตยังไม่ได้ กระนั้นเลยเราต้องหาจุดที่เป็นมัชฌิมาเฉพาะตนให้รู้แจ้งให้ได้มิฉะนั้น จะดําเนินไปสู่อริยมรรคไม่เกิดผล เกิดความเชื่อว่าจะหามัชฌิมาที่นี่แหละคราวนี้

วันหนึ่งได้ไปสรงน้ําที่ริมน้ําแม่งัด เหลือบเห็นขอนไม้จมอยู่ใต้น้ํา เกิดสะดุดใจขึ้นว่า เราต้องใช้ขอนไม้นี้เป็นครูสอนจิตของเราที่ดื้อด้านนัก จึงพิจารณาท่อนซุงจมน้ํา ซึ่งเขาคงไม่รู้จักร้อนไม่รู้จักหนาวอยู่ของเขาเฉยๆ แม้น้ําจะไหลแรงก็เฉย ความรู้เกิดขึ้นว่านั้นคือธรรมชาติของเขา เมื่อน้อมนํามาสู่จิตของตนเองก็เกิดปัญญาฉุกขึ้นว่า เราคงต้องวางเฉยไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ต้องอยากได้ใคร่ดี จะภาวนา “พุทโธ” อย่างเดียวจิตจะสงบหรือไม่ก็ไม่สนใจ ไม่ต้องการใดๆ ไม่รู้สึกใดๆ เป็นแบบซุงไม้จมน้ํา จิตเราก็จมอยู่ในกิเลสก็เป็นทํานองเดียวกันนั้นแหละ

ต่อจากนั้นท่านก็จัดแจงนุ่งผ้าให้กระชับเพื่อไม่ให้หลุดลงน้ําแล้วตั้งจิตอธิษฐาน แล้วดําลงไปใต้ซุงเอามือค้ําซุงไว้บริกรรม “พุทโธ” จนสุดกลั้นลม หายใจก็โผล่ขึ้นมาหายใจ ต้องการรู้ว่าจิตจะเป็นสภาพอย่างไรขณะกําลังจะหมดลมหายใจ ขณะใจจะขาดจะเป็นอย่างไร

ปัญญาได้เกิดขึ้น ขณะที่ลมหายใจจะหมดกําลัง จะขาดใจ จิตจะรวมลงเป็นสมาธิเป็นระยะๆ จะดําน้ําได้นานขึ้นเรื่อยๆ เพราะขณะที่จิตรวมเป็นสมาธิ ได้ ลมหายใจจะแผ่วเบา ต้องการอากาศไปใช้น้อยลง เกิดความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์สามัคคีกัน ของจิตกับกาย สติ สมาธิ ปัญญา มารวมกันแนบแน่นเป็นเอกัคคตารมณ์ มีพลังมาก จึงเข้าใจอํานาจของจิต ความรู้แจ้งเกิดขึ้นว่านี้คือ มัชฌิมาของตน เฉพาะมีพลังแรงมาก เดินทางปัญญาได้แล้ว

ท่านเกิดความมั่นใจว่าตนเองดําเนินตามแนวทางปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว คงจะสามารถบรรลุธรรมขั้นสูง หลุดพ้นได้ในชาตินี้กระมัง เกิดปีติอย่างแรง กล้า หารู้ไม่ว่าเป็นวิปัสสนูปกิเลส ที่หลอกให้หลงทางเสียอีกแล้ว จึงมุ่งมั่นภาวนาเดินทางปัญญาหนักขึ้น เพื่อพิจารณาสติปัฏฐาน เอาอริยสัจสี่ มรรคแปด มาดําเนินไปแต่ผลที่ได้ยังไม่เป็นที่พอใจ กลับมีสัญญาเกิดขึ้นเป็นนิมิตแบบเดิมๆ

ท่านหันมาพิจารณาในนิมิต โดยตั้งใจใหม่ว่า ถ้านิมิตจะเกิดก็ให้เกิด เราจะดูให้รู้เฉยๆ เกิดก็เกิดไป เราจะรู้เขาเท่านั้น โดยไม่เอาจิดดามเหมือนที่เคยทํามาแล้ว เราจะวางจิตเป็นกลางไว้เสมือน ท่อนซุงที่จมอยู่ในน้ํา กิเลสจะหลอกก็หลอกไปดูซิ ว่าจะมีฤทธิ์เดชสักแค่ไหน ในที่สุดนิมิตที่เกิดขึ้นนั้น มีปัญญาเกิด เพราะญาณทัศนะเกิดขึ้นบอกชัดว่า อดีตชาติตนเองเสริมสร้างบารมีไว้มาก นิมิตภาพ เหล่านั้นชัดเจนว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมสร้างไว้หลายต่อ หลายชาติมาแล้ว ดังนั้นจึงปรากฏให้เห็นซ้ําแล้วซ้ําอีก จิตส่วนลึกว่าเราอาจไม่ใช่จะเป็นสาวกที่สามารถหลุดพ้นอาสวะกิเลสได้เพราะการอธิษฐาน ไว้เดิมคงไม่ใช่เสียแล้ว

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

หลวงปู่จามได้ฝึกอบรมตนเองและจาริกไปสั่งสอนเรื่องปฏิบัติจิตภาวนาไปทั่ว จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ขณะอายุล่วงเข้า ๖๐ ปี ญาติโยมที่บ้านห้วย ทรายนําโดย แม่ชีแก้ว เสียงล้ํา จึงได้ไปนิมนต์ท่าน กลับมาอยู่ ณ ดินแดนบ้านเกิด กระทั่งท่าน มรณภาพในวันที่ ๑๙ ม.ค. ๒๕๕๖

ท่านจะ เกิดตายอีกหลายชาตินับไม่ไหว เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง “พุทธภูมิ