วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง (วัดป่าสระแก้ว) อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข

วัดป่าซับคำกอง (วัดป่าสระแก้ว)
บ้านสระแก้ว ต.เพชรละคร อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง (วัดป่าสระแก้ว)

หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข พระอริยเจ้าผู้เป็นสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงรูปหนึ่ง แห่งวัดป่าซับคำกอง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

หลวงปู่คำสุข ท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงปู่คำดี ปภาโส ชีวิตของหลวงปู่คำสุข เริ่มต้นจากความสงสัย แล้วจบลงด้วยความไม่สงสัย สงสัยว่าพระอรหันต์น่าจะหมดจากโลกนี้ไปแล้ว แต่เหตุไฉนยังมีพระอรหันต์อย่าง หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อยู่อีก เมื่อสงสัยแล้วท่านก็แสวงหาและลงมือทดลองปฏิบัติค้นคว้า ผลสุดท้ายท่านก็จากไปด้วยความไม่กังขา

หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

หลวงปู่คำสุข เกิดเมื่อวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑ ปีฉลู ตรงกับ วันอังคารที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๘ ณ บ้านโคกยาว ต.หนองทับม้า อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็น จังหวัดอำนาจเจริญ)

หลวงปู่คำสุข เกิดในตระกูล บัวภาเรือง มีชื่อเดิมว่า “หาญ บัวภาเรือง

บิดาชื่อ นายสัว บัวภาเรือง มารดาชื่อ นางมนต์ บัวภาเรือง
มีพี่น้องร่วมมารดาทั้งหมด ๘ คน โดยท่านเป็นคนที่ ๒ มีชื่อตามลำดับดังนี้
๑. นายฝน บัวภาเรือง
๒. หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข
๓. หลวงปู่สำราญ ขันติโก
๔. นายอาน บัวภาเรือง
๕. นายถ่าย บัวภาเรือง
๖. นางเถื่อน บัวภาเรือง

พ่อแม่มีอาชีพทำนา ฐานะปานกลาง

หลวงปู่คำสุข บอกว่า ท่านบวชเมื่อแก่ แท้จริงแล้วท่านอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๗ หรือขณะอายุได้ ๒๙ ปี ที่วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง (วัดป่าสระแก้ว)

ท่านบอกถึงเหตุที่ทำให้ชีวิตหักเหคราวนั้นสั้นๆ ว่า “ตอนอายุ ๒๗ ปี หนีจากผู้หญิง พออายุ ๒๙ ปี ก็มาบวช”

หลวงปู่คำสุข ท่านว่า ไม่รู้เรื่องรู้ราวเกี่ยวกับการปฏิบัติอะไรนัก บวชแล้วปีแรกก็ไม่รู้เรื่องการปฏิบัติอยู่ดี แต่ก่อนจะบวชนั้นคิดไว้ว่า บวชแล้วจะไม่สึก แต่บวชสัก ๙ ปีเสียก่อน แล้วค่อยออกปฏิบัติ แต่กัลยาณมิตรผู้หนึ่งคือ “พระอาจารย์พวง” ทำให้ท่านปักหลักได้ว่า ชีวิตนี้จะไม่เป็นอื่น

เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในพรรษาที่สองที่ถ้ำม่วง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เมื่อพระอาจารย์พวงแนะนำให้ท่านอ่านประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

“…จะเข้าพรรษาที่ ๒ ก็ได้เห็นชีวประวัติของหลวงปู่มั่น ชีวประวัติตอนนั้นเป็นธรรมะ ไม่ค่อยมีแนวปฏิบัติ มีก็มีน้อย คนที่ต้องการศึกษาเล่าเรียนจึงต้องเข้าไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ไม่เหมือนทุกวันนี้ ครูบาอาจารย์ท่านเขียนไว้เยอะ หนังสือก็มีเยอะแยะแต่ไม่ค่อยมีคนสนใจ พออาตมาได้อ่านชีวประวัติของหลวงปู่มั่น อ่านกลับไปกลับมาทวนไปทวนมาอาจารย์พวงท่านแนะนำให้อาตมาได้อ่าน พออ่านแล้วก็เข้าใจ เราบวชเข้ามานี้เราต้องการจะเอาอะไร เมื่อก่อนก็รู้ว่าอยู่ที่ตัวเรา ธรรมะนี้ไม่ได้อยู่ที่อื่นใดเลย อยู่ที่ตัวเรานี่เอง แต่มันจับจุดไม่ได้ ไม่แน่นอน แต่พอมาอ่านชีวประวัติหลวงปู่มั่นก็จับจุดได้ จุดที่เอาไม่ทันก็ให้เอาสติใจนี่แหละ ไม่ได้เอาที่อื่น เอาใจ เอาสติ สัมมาสติ นี่แหละ…”

ชีวประวัติหลวงปู่มั่นไม่เพียงแต่ทำให้เห็นเป้าหมายและตัวตนของตนชัดขึ้น แต่ยังเห็นมรรควิธีแห่งวิถีการปฏิบัติชัดขึ้นด้วยว่า อะไรคือการพิจารณา

“ท่านเปรียบร่างกายนี้เหมือนกับถ้ำ ใจมาอาศัยอยู่ในถ้ำในกาย การปฏิบัติก็รักษาศีล ข้อวัตรปฏิบัติ ธุดงค์ กิจวัตรทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นเครื่องแก้จิตหลง ใจหลง พอหลงแล้วมันก็วุ่น ทุกข์เกิด วิธีปฏิบัติไม่มีเลย ต้องอาศัยการปฏิบัติ ขาดการปฏิบัติใช้ไม่ได้ ต้องปฏิบัตินี่แหละ ท่านที่จะสำเร็จมรรคผลนิพพานท่านก็ต้องปฏิบัติ จะไปดื้อด้านว่าได้ไปเฉยๆ ไม่มีต้องรู้ รู้แล้วก็ต้องได้ด้วย”

“การปฏิบัติต้องปฏิบัติทั้งกาย วาจา ใจ ใจต้องปฏิบัติด้วย ต้องให้รู้ เรียกว่าเอาปัญญาศึกษา ท่านว่าศึกษาในสิกขา ศึกษาในจิต ศึกษาในปัญญาสิกขา คือการนึกการคิดของจิต อย่างนี้แหละเรื่องของจิตของใจ ศีลสิกขา คือการละความชั่วนี้ มีแต่เรื่องแก้ เรื่องการปฏิบัติ มีแต่เรื่องแก้หลง แก้ทุกข์ แก้ความวุ่นวายออกจากดวงจิตดวงใจ เมื่อแก้ทุกสิ่งทุกอย่างในข้อปฏิบัติได้แล้ว ก็เรียกว่าเป็นผู้พ้นจากโลกแล้ว ไม่มีอะไรอีกแล้ว มีแค่ว่าจะต้องเป็นนักปฏิบัติ บวชเข้ามาในศาสนาพุทธดูแลอยู่แค่นี้ สงบมากเกินไปมันช้า ท่านว่าพิจารณาครึ่งหนึ่งสงบอยู่ครึ่งหนึ่ง จะพอดี ไม่เร็ว ไม่ช้า พิจารณาในเรื่องกายไม่ให้หนีจากกายจากใจของตน นี่แหละการพิจารณา…”

ท่านว่า ก่อนได้มาเห็นหนังสือประวัติหลวงปู่มั่นที่ถ้ำม่วงในพรรษาที่ ๒ นั้น ในพรรษาแรกแม้ได้ตั้งใจถวายสัตย์ไปแล้วว่า โกนผมแล้วจะไม่สึก ยังไงก็ขอให้ตายด้วยการปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติเดินจงกรมไปแล้วจะทำให้กายสบาย เบาก็จริงแต่กระนั้นก็ยัง “จับจุดไม่ได้” พอมาอ่านประวัติหนังสือหลวงปู่มั่นนั่นแล้ว ถึง “ได้รู้จักและรู้วิธีจับจุดแน่นอน”

เมื่อจับจุดได้ รู้วิธี หลังจากนั้นก็มีแต่ “จะเร่งความเพียรให้เป็นไปในเรื่องปฏิบัติ”

พอพรรษาที่ ๒ ตอนอยู่ถ้ำม่วง วิถีของท่านดำเนินไปโดย “สติจ้องอยู่กับลมหายใจอยู่กับกาย”

ด้วยวิถีเช่นนี้เอง วันหนึ่งก็เกิดนิมิตขึ้น

“ได้นิมิตเห็นว่ามีพระกรรมฐานองค์หนึ่งถือกระดานมาขนาดเท่าศอกอาตมานี่แหละ กระดานที่ถือมานั้นเป็นกระดานหมอโหร ทำท่าเป็นหมอดูหมอโหร เป็นพระกรรมฐานปฏิบัตินี่แหละ แล้วพระองค์นั้นก็บอกว่า ของผมนี่เสร็จแล้ว แต่ของท่านนี่ยังอีกสัก ๙ ปี ๑๐ ปี ท่านก็จะได้สำเร็จเหมือนกัน พอท่านพูดอย่างนี้แล้ว ท่านก็หายไปเลย อาตมาก็รู้สึกตัว เพราะขณะที่มีนิมิตนั้น อาตมานอนพักกลางวันอยู่ เลยรู้สึกว่าที่ผ่านมาอาตมาก็ไม่เคยได้ยินในเรื่องของความสำเร็จและก็ไม่เคยนึกเคยฝันว่าจะเป็นไปได้ในลักษณะอย่างนี้ แต่ก็รู้สึกดีใจในนิมิตที่เกิดขึ้น นิมิตเป็นเครื่องประกอบทำให้จิตใจเพลิดเพลินในการกระทำคุณงามความดี เมื่อนิมิตดีฝันดีก็พยายามทำดี”

ความพยายามนั้นประกอบไปด้วยปัญญา ไม่ใช่มีนิมิตดีแล้วรอวันให้มันเป็นไป หากแต่มุ่งมั่นทำไปด้วยความเพียรและสติปัญญา

ท่านได้ข้อวัตรของหลวงปู่มั่นเป็นแบบอย่าง ได้ความพิสดารของปริยัติจากหนังสือเจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจันโท) และได้รับการชี้แนะตรงจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายพระป่า เช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ฯลฯ

“อาตมานี่ก็อาศัยหนังสือเจ้าคุณอุบาลีที่ท่านแต่งถึงได้เข้าใจ เข้าใจพิสดารเพราะปริยัติของท่านเจ้าคุณอุบาลีท่านสมบูรณ์ อาตมาได้อ่านหนังสือของท่านตอนมาอยู่ที่ถ้ำผาบิ้ง เพราะมีพระรูปหนึ่งนำหนังสือของท่านเข้าไปด้วย ถ้ำผาบิ้งอยู่ที่ จ.เลย อาตมาได้ไปพักอยู่ที่นั่น พอได้อ่านแล้วอาตมาถึงได้เข้าใจ…”

ท่านเล่าไว้ถึงประสบการณ์ของการภาวนาจนจิตรวมได้เป็นครั้งแรกว่า
“…เมื่อเดือน ๙ แรม ๑ ค่ำ จิตมันลงแล้ว นั่งก็ไม่ไหว ไม่สู้ ท่านั่งก็ไม่อยู่ รู้สึกเหมือนมันจะตาย ก็เลยเอาทางนอน ทำอยู่อย่างนั้น ปีนั้นอาตมาตั้งสัตย์ไว้ ๗ ค่ำ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ไม่ได้นั่งเลยทั้งพรรษา กลางวันนั่งเฉพาะตอนฉันอาหารเท่านั้น บิณฑบาตมาก็ตามข้อวัตรเสร็จแล้วก็ฉัน เดือนนี้อาตมาทำความเพียรตลอด จะมีเจ็บป่วยเป็นไข้บ้างก็เล็กๆ น้อยๆ เพราะสถานที่มันเป็นป่า โยมก็พาหมอไปฉีดยาให้ และก็ฉันแต่สมอ เพราะเด็กที่ไปเลี้ยงควายแถวนั้นเขาเอามาถวายให้ เพราะเป็นบ้านป่าบ้านดอนอยู่กับป่า สมอก็ฉันกับน้ำพริกกับเกลือ เดือน ๙ แรม ๑ ค่ำ จิตมันลงแต่เป็นทางนอน นอนภาวนา จะขอตายในท่านอน ถ้ามันไม่เป็นก็ให้มันตายไปเลย คิดอย่างนั้น

“ท่านั่งนี่สู้ไม่ไหว พอไหว้พระทำวัตรเสร็จแล้วก็อธิษฐานจิตเตรียมตัว ถ้าปฏิบัติไม่ได้ก็ไม่ต้องฉันข้าว ไม่ต้องลุกเปลี่ยนอิริยาบถ ถ้ายังมีบุญมีคุณ ศีลคุณธรรม มีกุศลศาสนาเป็นความจริงก็ขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าให้มั่นคง จิตใจให้แน่วแน่ในคุณงามความดี อย่าได้มีสิ่งใดมาทำอันตรายได้ ก็นอนภาวนา
พอนอนภาวนาก็ยิ่งร้ายกว่านั่ง มันเจ็บมันปวดตั้งแต่เท้าขึ้นไปหาหัวเลยทีนี้ ชั่วโมงนี้ไม่ต้องกำหนดเลย เอาสติจ้องอยู่กับลมหายใจเข้าออก การพิจารณาก็เริ่มว่า ถ้าร่างกายนี้มันเกิดพร้อมกัน ตายพร้อมกัน ไม่มีอะไรจะค้างโลกเลย ร่างกายต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน มันไม่ตายพร้อมกัน มันถึงอยู่สืบไปในโลกอย่างนี้แหละ เรื่องโลกพระพุทธเจ้าท่านก็บอกไว้แล้ว มันไม่ตายพร้อมกัน เพราะร่างกายนี้มีแต่เกิด แก่ เจ็บ แล้วก็ตาย เพียงแค่นี้ในร่างกาย มันไม่เกินนี้ไปหรอก แต่ส่วนคุณงามความดีในด้านจิตใจนี่อีกแผนกหนึ่ง

อันนี้เป็นตัวสำคัญเลย มีสติจ้องอยู่กับลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างนั้น ไม่ได้บริกรรมพุทโธหรอก รู้อยู่เฉพาะลมหายใจออกหายใจเข้าเท่านั้น

นี่แหละ นอนสมาธิก็ต้องนิ่ง ที่เจ็บมันก็เจ็บตั้งแต่เท้าถึงหัว เจ็บไปหมด เหมือนกับไฟลวกไฟลน เพราะมันไม่ให้ขยับตัวกระดุกกระดิก พอความเจ็บถึงที่มันก็เกิดความว่างลงเลย ถ้ามันจะตายก็ให้มันตาย ลมก็หยุดเดินเท่านั้นแหละ ความทุกข์ตรงนั้นมันเหมือนกับฟ้าผ่า ต้องมีสติ จิตไม่มั่นคง ความงามความดีไม่ตาย ต้องอดทนอย่างเดียว มันลงครั้งแรกเสียงเหมือนกับฟ้าผ่านะ แต่ลมหายใจยังไม่ขาด

ครั้งที่หนึ่ง ธาตุขันธ์มันสงบปุ๊บมันลงไป ลมหายใจอยู่ตรงคอนี่แหละลอกแลกๆ ก็ถามตัวเองว่า กลัวตายไหม ถ้ากลัวตายก็ไม่เป็นไปอีก ในระหว่างร่างกายนี้มันจะเป็นยังไงก็เป็นไปเถอะ ถ้าเราไม่เป็นไปตามมัน ไม่ยอมหนี ไม่ลุกไม่หนีไปไหนสู้อย่างเดียว

พอครั้งที่สอง ไม่อาลัยอาวรณ์ในร่างกายแล้ว ถึงได้ลองเป็นครั้งที่สอง ทีนี้พอจิตมันรวมลงแล้วลมหายใจตัวนี้ขาดปุ๊บเลย เหมือนกับเรานั่งอยู่ในถ้ำนี่แหละ สว่างแจ้งแล้วเห็นเป็นพระกรรมฐาน ๒ องค์นั่งอยู่ ท่านบอก อ้าว…กำหนดแสงสว่างเข้ามา

พอนึกให้แสงมันเข้ามาเท่านั้นแหละ แสงก็รวมเข้ามาเหมือนกับคนที่เขาหว่านแหแล้วดึงแหเข้ามา นั่นแหละอย่างนั้น แสงสว่างก็รวมเข้ามาเป็นกระจกเงาอยู่ข้างหน้านี่แหละ มองเห็นเหมือนเรากำลังส่องกระจกเงา เพราะเห็นรูปตัวเองในนั้น
พระกรรมฐานท่านก็บอกว่า นี่แหละ…นี่แหละ‌อดทนเอาถึงขนาดนี้ นี่แหละจิตมันรวม

พอท่านบอกเท่านั้นแหละ ท่านก็หายไปเลยทั้ง‌สององค์ กายของเราก็ปลิวออกจากที่นั่น ลอยไป‌สูงประมาณหัวนี่แหละ ก็ไปเห็นคนเปื่อยคนเน่า‌คนตายเหม็นไปทั่ว ก็พยายามที่จะหนีจากตรงนั้น ‌เพราะมันเหม็นมาก จิตก็เลยถอนขึ้นมามีอาการ‌มึนๆ เหมือนคนจะตาย เย็นไปหมด ไม่รู้ว่ากี่‌ชั่วโมง ไม่รับรู้อะไรแล้ว พอเลือดลมมันวิ่งเป็น‌ปกติแล้วถึงได้รู้สึกตัว ขยับเขยื้อนร่างกายได้ ปาก‌ก็อ้าพะงาบๆ เหมือนกับคนจะตาย

ก็คิดได้ว่าคนเรานี่นะเวลาจะตายมันเป็น‌อย่างนี้เอง ไม่มีอะไรเลย ร่างกายนี้ท่านเปรียบ‌เหมือนกับท่อนไม้ ถ้าดวงจิตดวงใจออกไปแล้วไม่‌มีปัญหาอะไร นี่แหละมันเข้ากันสนิทสนมถึง‌ขนาดนี้เลยหรือ พอคนมันหลงกาย ยึดกาย คิดว่า‌เป็นความสุข มาพิจารณาว่ามันยึดกาย คิดว่า‌มีความสุขมีความทุกข์อยู่ อย่าคิดว่ามันไม่มีอะไรดี ‌มันมีอยู่ สุขกับกายจิตใจก็มาติดอยู่นี่แหละ ไม่ว่า|ผู้หญิงผู้ชายมาติดอยู่กับความสุขนี่แหละ มันก็เลย‌มีแต่ทุกข์”

พอจิตรวมครั้งแรกในพรรษาที่ ๒ เมื่อเดือน ๙ ‌แรม ๑ ค่ำ ต่อมาอีก ๗ วัน ๘ วัน ๙ วัน มันลง‌อีกครั้งหนึ่ง

ท่านว่า เวลาจิตจะรวมลงมันจะเป็นของมัน‌เอง เป็นเรื่องกำหนดไม่ได้ หลวงปู่มั่นท่านก็ว่ามัน‌จะเป็นของมันเองเวลาจะเป็น ไม่ใช่เราไปนึกเอา‌เดาเอาอย่างนั้นอย่างนี้

นั่นมันเป็นสัญญา มันไม่จริง ต้องให้มันเห็น‌ด้วยจิตด้วยใจของตนด้วยการปฏิบัติ ให้รู้ความ‌จริง อย่าหนีไปจากหลักความจริง ด้วยความเพียร ‌ไม่เช่นนั้นมันจะติดสุขแล้ว ใจจะหลอกใจ

ท่านว่า ความเพียรนี่ดี ไม่ต้องมีการระมัด‌ระวังในข้อวัตรปฏิบัติทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ต้องกลัว‌เสื่อม ถ้าใครมีสมาธิแล้ว ให้มีความเพียรเพื่อที่จิต‌จะได้มีความแข็งแกร่ง ไม่ทิ้งหลักเดิม ไม่ทิ้งกาย‌ทิ้งใจของตนในการปฏิบัติ อย่าไปหนีหลักปฏิบัติ ‌อย่าไปหนีกายหนีใจของตน เพราะถ้าปัญญาอ่อน‌เมื่อไหร่มันจะหลอกตัวเอง
ท่านเองไม่ใช่ว่าไม่เคยหลง

หนหนึ่งเมื่อจิตมันลงแล้ว ปรากฏว่าอยาก‌เหาะได้ ก็เกิดนิมิตเหมือนเหาะได้ ลอยไปข้างล่าง‌เห็นไฟกองใหญ่ ออกไปใหญ่เหมือนกับป่าช้า‌เหมือนเป็นบ้าน เห็นภรรยาเห็นลูกก็ร้องไห้ใส่กัน ‌จิตก็เลยถบ ก็เลยมาแก้ไขตัวเอง เพราะนี่คือการหลง‌รูปภายใน
“การหลงรูปภายในใจก็คือรูปตัวนี้มันหลอก‌จิตหลอกใจ มันเกิดเร็วมันดับเร็ว เวลามันเข้ามัน‌ออกรูปภายในใจท่านเรียกว่า นามธรรม นี่คือตัว‌การ ฉะนั้นเอาให้แน่นอน ต้องมีสติ มีความเพียร‌มั่นคงแน่นอน อย่าไปหลงมัน อย่าไปสำคัญว่ามัน‌เป็นตัวเป็นตน พอมันเกิดก็ให้มีสติรู้ มันเกิดเร็ว‌ตายเร็ว นี่คือรูปทางใจ ทุกสิ่งทุกอย่างอย่าไป|ติดมัน”

ประมาณพรรษาที่ ๑๖ ท่านก็มาอยู่ปฏิบัติกับ‌หลวงปู่ขาว อนาลโย และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง (วัดป่าสระแก้ว)
หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

“พระรุ่นเดียวกันที่อยู่วัดถ้ำกลองเพล ก็มี หลวงปู่เพ็ง อาจารย์จันทา ถาวโร อาจารย์บุญมา ‌คัมภีรธัมโม อาจารย์บุญพิน ทุกวันนี้เป็นอุปัชฌาย์‌อยู่ที่ จ.สกลนคร และก็อาจารย์ฝั้น ที่อยู่ถ้ำขาม ไปๆ ‌มาๆ เข้าๆ ออกๆ ที่วัดหลวงปู่ขาว”

หลวงปู่คำสุข ดำรงอยู่ในวิหารธรรมเช่นนี้มา‌กระทั่งวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ จึงถึงกาลมรณภาพ เมื่อ‌เวลา ๒.๓๖ น.

สิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี ๑๐ เดือน ๒๖ ‌วัน ๕๘ พรรษา

หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง (วัดป่าสระแก้ว)
หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง (วัดป่าสระแก้ว)
“ทันตธาตุ”
องค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์
หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข
ณ วัดป่าซับคำกอง ตำบลเพชรละคร
อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์
อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
รูปเหมือน ภายในเจดีย์ หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

โอวาทธรรม หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข

“..ถึงกายจะแก่ จะเจ็บจะตาย แต่ใจไม่ได้ตายตามกายหนา ปู่ก็ขอลา..สู่นิพพาน..”

“..พวกเธอพากันปฎิบัติภาวนาอย่าคิดว่าอยากนะ เพราะทุกข์มีอยู่ใกายนี้ ใจไม่มีรูปร่างเป็นนามธรรม เพราะฉะนั้นจงหมั่นเอาใจพิจารณากาย ให้ใจพิจารณาร่างกายให้ดี ให้พิจารณาไม่ถอย พิจรณาไปเรื่อยๆจนใจมันเบื่อหน่ายในกาย แล้วใจจะมีกำลังจนสามารถแยกใจออกจากกายได้..”

ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน