ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่คำพอง ติสโส
วัดถ้ำกกดู่
อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
หลวงปู่คำพอง ติสโส ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ผู้ฝากชีวิตและจิตใจไว้กับความดีงาม ท่านเชื่อความดีที่เคยกระทํามา จึงมีความมั่นใจว่า “ความดีงาม นั้นต้องชนะอุปสรรคได้อย่างสิ้นสงสัย”
ท่านหลวงปู่คําพอง ติสโส ท่านเป็นพระที่เปิดเผย พูดคําใดต้องเป็นคํานั้น และในคําพูด คําสอนของท่าน แม้เราไม่เข้าใจ จะคิดว่าเป็นวาจาที่รุนแรง แต่ ความจริงแล้ว ท่านไม่ได้รุนแรง กับคนฟัง! แต่รุนแรงกับกิเลสใน ตัวคนฟังต่างหาก…ดังนั้นผู้ฟัง เป็นจึงมีความเคารพบูชาท่าน ในฐานะที่พูดความจริงและเป็น การฆ่าเสียซึ่งกิเลสภายในใจคน ได้อย่างชะงัด!…
หลวงปู่คําพอง ติสโส ท่านเกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔ ณ บ้านตําบลสงเปลือย อําเภอเขื่อนคําแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี
บิดาชื่อ บุญนาค มารดาชื่อ ลุน นามสกุล สงเคราะห์ อาชีพ ทํานาค้าขาย
พออายุท่านเข้ารุ่นหนุ่ม ท่านเป็นนักค้ากําปั้นบนเวที (บนสังเวียน)
ชีวิตอันทรหดและแสนลําเค็ญนี้ เป็นสัจธรรมให้ข้อคิดตั้งแต่บัดนั้นมา จึงหันเหเข้าสู่ทางธรรม
อายุได้ ๒๒ ปีเต็มบริบูรณ์ ท่านได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ปีมะเมีย ณ พัทธสีมา วัดมหาไชย อ.หนองบัวลําภู จ.อุดรธานี โดยมี พระพิศาลคณานุกิจ (เส็ง กณฺณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์
หลังจากบวชเป็นพระภิกษุหนุ่มแน่นแข็งแรงได้ไม่นาน ท่านก็ได้ออกเดินทางมายังพระธาตุพนม ในลักษณะธุดงควัตร จะเป็นด้วยความบังเอิญ หรือบุญบารมี ก็หารู้ไม่ ท่านได้มาพบบุพพาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านนามน จ.สกลนคร
เพราะว่าขณะที่เดินทางไปถึงพระธาตุพนมนั้น เกิดได้ยินกิตติศัพท์ของท่าน จึงเดินทางมานมัสการ ซึ่งในคราวนั้น ก็มีท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม เดินทางไปพร้อมกัน ท่านจึงได้มอบกาย ถวายตัวเป็นศิษย์ตั้งแต่บัดนั้น
อุบายธรรมะต่าง ๆ ในระยะ แรก ๆ ท่านก็ได้รับการแนะนําจากครูบาอาจารย์ฝ่ายผู้ใหญ่ เช่น หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ บ้างเช่นกัน
ท่านหลวงปู่คำพอง ติสโส เป็นพระนักต่อสู้ ประกอบกับท่านเป็นนักมวย มีเลือดนักต่อสู้อันโชกโชนมาก่อน
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมภาวนา ท่ามกลางดงสัตว์ป่านานาชนิดนั้น ไม่เคยหวั่นเกรงอันใดเลย ท่านต่อสู้ขอเพียงเพื่อลุจุดหมายปลายทาง คือ ทางพ้นทุกข์
การประพฤติปฏิบัติธรรม ของท่านหลวงปู่คำพอง นั้น เกือบตายเพราะไข้ป่าก็หลายครั้ง ความเด็ดขาดที่ว่า “เอ้าเป็นอย่างไง ก็เป็นกัน” นั่นแหละจึงพ้นมาได้ เพราะกิเลสทั้งหลาย มันกลัวคนเอาจริง….
ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ท่านเป็นกําลังสําคัญในกองทัพธรรมองค์หนึ่ง เดินธุดงค์ไปเผยแพร่ธรรมะทางภาคใต้รวมกําลังกับ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ในการนั้นได้มีครูบาอาจารย์ ที่ชาวภาคใต้รู้จักดีคือ ท่านพระอาจารย์เหรียญ ท่านพระอาจารย์คําพอง ท่านพระอาจารย์โสม หลวงพ่อเอี่ยม พระมหาปิน ชลิโต เป็นต้น…
และการเผยแพร่ธรรมะทางภาคนี้ เป็นไปด้วยความทุกข์ยากลําบาก ทุกองค์ต้องทรงจิตไว้ ด้วยพรหมวิหารธรรมอย่างเข้มแข็งจริง ๆ
เพราะอุปสรรคที่เกิดขึ้นนั้น มีผู้ต่อต้านธรรมะของพระศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น พระภิกษุ เจ้าถิ่นเอง พวกชาวบ้านที่เป็นบัวเหล่าที่ ๕ บ้าง แต่ก็ต้องแพ้ภัย ตนเองจนหมดสิ้น
ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ไม่เคยละลดความเพียร ยืน เดิน นั่ง นอน มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ท่านเคยเล่าว่า
“สันดานนี้มันติดตัวมา เมื่อสมัยอยู่กับพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระอาจารย์ ใหญ่ผู้เลิศด้วยคุณธรรมวิเศษ หลวงพ่อก็เลยได้นิสัยจากท่าน มาแค่ปลาย ๆ เล็บเท้าของท่านเท่า นั้นแหละลูก ๆ เอ๊ย”’
ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง มีนิสัยคล้ายคลึงกับครูบาอาจารย์หลาย ๆ องค์ เช่น หลวงปู่ตื้อ พระอาจารย์มหาบัว พระอาจารย์วัน คือ..พูด แบบโผงผาง ถ้าแข็งก็แข็งดังเพชร ถ้าอ่อนก็อ่อนเป็นน้ํา ไม่ ไว้หน้าใครเอาใจใครไม่เป็นธรรมะใดที่เป็นสัจธรรม ตามความเป็นจริงแล้ว ท่านจะนํา มาฆ่าเสียซึ่งกิเลสในใจคนฟัง อย่าง เอาเป็นเอาตาย สมกับนักต่อสู้ เลือดอาชาไนย ในสายผู้ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา
ท่านพระอาจารย์คําพอง ติสโส ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ “ไม่มีมายา” คือ ท่านเป็นพระที่จะพูดเอาอกเอาใจญาติโยมไม่เป็น ในการนี้ได้เคยสอบถามเอา ความจริงจากท่านก็ได้รับคําตอบ ชนิดโผงผางเลยว่า
“ลูกเอ๋ย…. ความเมตตาปรานี พรหมวิหารธรรม ย่อมต้องมีอยู่ในจิตใจของทุก ๆ คนนั่นแหละ นะ…
แต่บางคราว เจ้ากิเลส ตัวเชื้อโรคนี้ มันยังตัว ฝังหัว ลงบนจิตใจมนุษย์เข้าไปแล้ว จะไม่ไล่ ไม่เข้าย่ํายีมันบ้างเลยนั้น ต่อไปมันจะเคยตัวนะ
ฉะนั้นเวลาถางป่ารก ๆ โดย เฉพาะป่ากิเลสนี้ เราต้องฟันหนักๆ หน่อย มิเช่นนั้นต้นรากเหง้ามันไม่ขาด ไม่ขุดรากขุดโคน ไม่ช้ามันก็งอกเงยขึ้นอีก ไหมล่ะ
ยิ่งพวกเรานี่นะ ชอบเลี้ยง ชอบขุน รดน้ําพรวนดินอยู่เป็นประจํา ๆ มันจะกลับงามขึ้นอีก ประไรเล่า”
หลวงพ่อจึงพูดอยู่เสมอ ๆ ว่า…
ถ้ารู้ตัวเจ้ากิเลสนี้ มันจะอยู่ จะอาศัยอะไรอยู่ก็ต้องฟันให้มัน กระเทือนเลย มันจะได้รู้สึกตัว
และอีกอย่างหนึ่ง เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราจะมาพูดโกหก หลอกลวงไม่ได้ ก็พอเราไม่เคยสอนเลย พระพุทธเจ้าท่านพูดแต่ ค่าจริง สงสารจริง รักชอบจริง ไม่เคยโกหกสักครั้งเดียว
ดังนั้น เราเป็นบุตรผู้ดําเนินตาม จะเอาคําพูดใดเล่ามาสอน ก็ต้องเอาคําพูดของพ่อ คือ พระพุทธเจ้าเท่านั้นมาสอนสั่งญาติโยม
ถ้าผิดไปเสียจากคําสอนที่ เที่ยงธรรมแล้ว จะเป็นคําสั่งสอนปลอม พูดเอาอกเอาใจ ก็มิใช่เป็นธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมปลอม เพราะนั่นเป็นการพูดเพาะ กิเลสให้แก่ผู้ฟังธรรม ไม่ใช่พูดเพื่อขัดเกลากิเลส พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนเรื่องให้พูดเอาใจญาติโยม
ฉะนั้น อาตมาขอพูดอย่างตรง ๆ ว่า “เอาใจใครไม่เป็น”
หลวงปู่คำพอง เป็นโรคหัวใจโตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจไม่เต็มปอด เมื่อต้องบิณฑบาตไกลๆ หรือเดินขึ้นเขา
กระทั่งคืนวันที่ ๒ ธ.ค.๒๕๔๔ หลวงปู่คำพอง มรณภาพอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ สิริอายุ ๘๐ ปี พรรษา ๕๙