วันจันทร์, 25 พฤศจิกายน 2567

หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ

วัดดอยธรรมเจดีย์
อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์

ชาติกําเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เดิมชื่อ กงมา วงศ์เครือสอน

เกิด วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๒ ปีชวด ณ บ้านโคก ตําบลตองโขบ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

เป็นบุตร คนสุดท้องของ นายบู่ นางนวล วงศ์เครือสอน ซึ่งมีพี่ร่วมท้องเดียวกัน ๖ คน ในวัยหนุ่มมีร่างกายกํายำล่ำสันสูงใหญ่ใบหน้าคมตายเป็นนักต่อสู้ชีวิต แบบเอางานเอาการ สมัยหนึ่งได้เป็นนายฮ้อย ต้อนวัว ควาย หมูเที่ยวขายตามจังหวัด ใกล้เคียงกับบ้านเกิด จนต่อมาได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้านายฮ้อย พาคณะนายร้อยต้อน สัตว์ไปขายถึงกรุงเทพฯ โดยอาศัยการเดินทางด้วยเท้ารอนแรมหลายเดือน การเป็นหัวหน้านายฮ้อย ได้แสดงถึงความสามารถเฉพาะตัวของท่าน เช่น จดจํา ชํานาญ รู้ทิศทางดีหนึ่ง มีความสามารถอาจหาญป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดกับลูกน้องหนึ่ง มีคุณธรรมมีศีลธรรมรักษาคําสัตย์ มีความยุติธรรมหนึ่ง เป็นต้น การที่ท่านได้ท่องเที่ยวค้าขายไปในต่างถิ่นหลายที่มีประสบการณ์นําความเจริญเข้าสู่หมู่บ้าน จนเป็นที่นับหน้าถือตา ของคนในตําบลเป็นที่เชิดหน้าชูตาของพ่อแม่ เมื่อถึงกาลอันควรพ่อแม่จึงได้ไปสู่ขอ นางสาวเลา จัดพิธีแต่งงานให้มีครอบครัว เมื่อท่านอายุได้ ๒๕ ปี (๒๔๖๘) ครั้นนางเลาตั้งครรภ์แล้ว ได้เกิดป่วยอย่างหนัก สุดที่จะรักษาชีวิตไว้ได้ ในที่สุดนางเลาพร้อมบุตรในครรภ์ได้เสียชีวิตลง การสูญเสียภรรยาสุดที่รักพร้อมลูกในครรภ์ครั้งนี้ ทําให้ท่านรู้สึกว่าได้หมดสิ้นทุกอย่างที่เคยหวังและตั้งใจ เพราะตลอดเวลาได้ตรากตรําทํางานหนักเพื่อเมียและลูกนี้เองเป็นสาเหตุที่ทําให้ท่านนึกถึงพระพุทธศาสนา มีผู้เฒ่าผู้แก่บอกอยู่เสมอว่า “ไม่มีอะไรดีเท่ากับการบวชพระ” การออกบวชเป็นพระจึงอยู่ ในจิตสํานึกตลอดมา ด้วยจิตอันแน่วแน่ได้ตัดสินใจไปกราบลาพ่อแม่ญาติพี่น้อง พร้อมแจกจ่ายสมบัติทั้งหลายบรรดามีให้แก่ญาติพี่น้องทุกคนได้เห็นใจและไม่คัดค้านลูกคนสุดท้องคนนี้ ทรัพย์สมบัติที่ท่านมอบให้ครั้งนี้ก็จะเก็บรักษาไว้ เมื่อวัน ใด ท่านสึกออกมาก็จะคืนให้ ทุกคนต่างคิดว่า การออกบวชเป็นทางออกที่ดีสําหรับบุคคลที่ประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้

หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา

เมื่อท่านตัดสินใจออกบวช สิ่งแรกที่ท่านคิดถึง คือ เสี่ยวฮัก ชื่อมี ขณะนั้นไปบวชเป็นสามเณรอยู่กับอาจารย์วานคํา วัดบ้านบึงทวย อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สามเณรมี (ภายหลังได้บวชเป็นพระ) ก็ได้ฟังเรื่องราวชีวิตของเสี่ยวกงมาแล้ว แนะนําให้เข้ามาบวชในที่สุดท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมหานิกาย มีอาจาย์โท เป็นพระปุปัชฌาย์ (ไม่ทราบวันเดือนปีที่บวช) เมื่อบวชแล้วพระภิกษุกงมาก็เดินทางกลับไปจําพรรษาที่วัดบ้านตองโขบ ซึ่งไม่มีการศึกษาเล่าเรียนไม่มีการปฏิบัติ ได้แค่ท่องสวดมนต์ไหว้พระ ซึ่งยังไม่ถูกใจ จึงเดินทางไปจําพรรษาที่วัดบ้านบึงทวย ไปอยู่กับพระอาจารย์วานคํา ซึ่งพระมี (เสี่ยวฮัก) อยู่วัดนี้ด้วย อยู่วัดนี้ได้ไม่นานด้วย ความคิดว่าตนเองไม่ได้สิ่งที่ประสงค์ จึงเข้าไปปรึกษากับพระมีซึ่งเป็นพระเดินธุดงค์ที่หาตัวจับยาก เคยธุดงค์ไปลาว พม่า และไทยหลายแห่งมาแล้ว พระมีได้เล่าว่า เคยได้รับข่าวจากชาวบ้านพูดถึงเกียรติคุณของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระที่ประพฤติ ดี ปฏิบัติชอบมีผู้ประพฤติปฏิบัติตามมากมาย ทําให้พระกงมาสนใจ

ต่อมาได้มีตาปะขาว ชื่ออาจารย์เสน ซึ่งได้รับการอบรมการปฏิบัติธรรม จากหลวงปู่ มั่น ได้เดินทางมาถึงบ้านคําข่า (ใกล้บ้านบึงทวย) พระกงมาจึงเดินทางไปพบและขอฟังธรรมที่เรียนมาจากหลวงปู่มั่น จนเกิดความซาบซึ้ง จึงถามถึงที่อยู่ของหลวงปู่ จน ทราบว่าขณะนั้นท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อยู่ที่บ้านสามผง ดงพะเนาว์ อําเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ท่านตัดสินใจต้องไปพบให้ได้ จึงเดินทางกลับวัด ชวน พระมี เสี่ยวฮัก เข้ากราบลาพระอาจารย์วานคํา แห่งวัดบ้านบึงทวยผู้เป็นอาจารย์ แม้จะเสียดายศิษย์ทั้งสองแต่จําเป็นต้องยอมอนุญาตให้ไปตามประสงค์ พระคู่เสี่ยวฮัก ออกเดินทางด้วยเท้าเปล่า ผ่านป่าดงพงพี พบสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว ทั้งสองต่างมี ประสบการณ์ จึงไม่หวาดหวั่น มีจุดหมายปลายทาง คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เวลาผ่านไป ๒ วัน ๒ คืน ก็ลุถึงปลายทาง ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นมากแล้ว ณ บ้านสามผง ดงพะเนาว์ มีผู้ปฏิบัติธรรมกําลังนั่งสมาธิ หลวงปู่มั่น นั่งบนอาสนะสั่งสอนอยู่พอดีทั้งสองท่านก็หมอบเข้าไปนมัสการแล้วนั่งฟังธรรม เมื่อท่านแสดงธรรมจบ จึงได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ ขอปฏิบัติธรรมหลวงปู่มั่นได้รับตัวไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นมาซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๕ เมื่อหลวงปู่มั่น รับตัวเสี่ยวฮักทั้งสองท่านไว้เป็นศิษย์แล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่ หมู่บ้านสามผง ดงพะเนาว์ เป็นหมู่บ้านที่อยู่กลางป่าดงดิบ เป็นป่าทึบ ดงใหญ่ มีสัตว์ร้ายชุกชุม เช่น เสือ ช้าง งูเห่า งูจงอาง หมี วัว กระทิง เป็นต้น ไม่ค่อยมี คนเดินผ่านเพราะกว่าจะผ่านดงนี้ไปได้ต้องใช้เวลาเดินถึง ๓ วัน ๓ คืน ท่านเสี่ยวฮักทั้งสองได้อยู่ปฏิบัติธรรมโดยมีพระอาจารย์มั่น เป็นผู้ชี้แนะสั่งสอน จนจวนจะเข้าพรรษา พระมีเสี่ยวของพระกงมาได้อําลากลับไปจําพรรษาที่ วัดบ้านบึงทวยตามเดิม ส่วนท่านกงมาก็ยังสามารถอยู่จําพรรษาในป่าดงนี้ได้ต่อไป โดยการมาขอรับฟังโอวาทจากหลวงปู่มั่นอาทิตย์ละ ๒ ครั้ง ในขณะที่ปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าดง ท่านมีความรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าท่านวิเศษเหลือเกินเพียงนึกเช่นนี้ ก็ทําให้อาจหาญไม่รู้สึกเกรงภัยใด ๆ ได้สละชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรม จนเป็นเหตุให้หลวงปู่มั่นทุ่มเทความรู้ในด้านปฏิบัติให้อย่างเต็มความสามารถ

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พระอาจารย์กงมาได้ เดินทางติดตาม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งเดินทางไปส่งโยมมารดาที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเดินทางถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เวลา ๑๔.๔๐ น. พระอาจารย์กงมา และพระอาจารย์ลี ซึ่งเป็นพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายก็ได้รับสวดญัตติแปรมาเป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ที่วัดบูรพา อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ท่านทั้งสองได้ฉายาใหม่ว่า จิรปุญโญ และธมฺมธโร ตามลําดับ โดยมี พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เพ็ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ

ภายหลังบวชเป็นพระธรรมยุติแล้ว ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ได้ท่องเที่ยวบําเพ็ญธรรม อบรมสั่งสอนไปตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ธุดงค์ไปจําพรรษาที่บ้านหัววัว จังหวัดยโสธร

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ไปจําพรรษาที่บ้าน เหล่างา อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ไปจําพรรษาที่บ้านทุ่ม อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ไปจําพรรษาที่ภูระงํา อําเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ไปจําพรรษาที่วัดป่าสาลวัน อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และ ในปีนี้ ท่านได้สร้างวัดสว่างอารมณ์ บ้านใหม่สําโรง อําเภอสีคิ้ว จังหวัด นครราชสีมา ได้สั่งสอนชาวบ้าน ซึ่งมักมีการลักขโมย มั่วสุมการพนัน แตกสามัคคี ฆ่าฟันกันด้วยอุบายธรรม เป็นผลให้ชาวบ้านหันหน้าเข้าหาธรรม ขจัดความเลวร้าย ทั้งหลายให้หมดไป จนชาวบ้านเลื่อมใสสร้างศาลาปฏิบัติธรรมถวาย จนกลายมาเป็น วัดสว่างอารมณ์ ดังกล่าว

ณ วัดแห่งนี้ ท่านก็ได้รับเด็กชายวิริยังค์ บุญที่ย์กุล (พระอาจารย์วิริยังค์ หรือ ท่านเจ้าคุณพระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล ซอยปุณวิถี สุขุมวิท ๑๐๑ เขตพระโขนง) เป็นศิษย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พร้อมด้วยคณะมี พระอาจารย์ปาน พระอาจารย์เงียบ สามเณรวิริยังค์ บุญที่ย์กุล ออกธุดงค์ไปภาคตะวันออก เข้าพักปฏิบัติธรรมที่วัดคลองบางกุ้ง ของพระอาจารย์ลี (วัดอโศการาม) ไม่นานก็เดินทางไปอยู่บ้านนายายอาม ตามคํานิมนต์ของ ขุนภูมินายอําเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี หมู่บ้านดังกล่าวโจรผู้ร้ายชุกชุมคนขาดศีลธรรม นายอําเภอปราบไม่สําเร็จ ภายหลังท่านเข้าไปอยู่ในหมู่บ้าน ได้สั่งสอนศีลธรรมและ ธรรมปฏิบัติ ทําให้คนรู้จัก บาปบุญคุณโทษมีศีลธรรม มีความรักสมัครสมาน ช่วยเหลือกันและกันเมื่อทุกอย่างเรียบร้อย ท่านก็เดินทางกลับมายังวัดคลองบางกุ้ง ด้วยความอาลัยเสียดายของชาวบ้านนายายอามเป็นอย่างยิ่ง

ต่อมาชาวบ้านหนองบัว อําเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ได้เห็นพ้องกันสร้าง วัดขึ้นในหมู่บ้าน พอได้ข่าวว่าพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ผู้เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาจําพรรษาอยู่ที่วัดคลองบางกุ้ง จึงได้แต่งตั้งตัวแทน ๕ คน เดินทางมานิมนต์ให้ท่าน ไปจําพรรษาที่บ้าน ผู้มานิมนต์คนหนึ่งในจํานวน ๕ คน ได้นมัสการท่านว่า เมื่อวันก่อนที่จะมานิมนต์นี้ ได้ฝันว่าได้ช้างเผือกที่มีรูปร่างสวยงามมาก หาที่ติมิได้เลย จํานวนสองเชื่อก ซึ่งเป็น นิมิตที่ดี พระอาจารย์กงมาได้ฟังเช่นนั้น ก็เห็นว่าเป็นมงคล จึงรับนิมนต์ ดังนั้นในวัน แรม ๑๓ ค่ํา เดือน ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านพร้อมด้วยสามเณรวิริยังค์ก็ได้ออกเดินทาง ไปยังหมู่บ้านหนองบัวยังความปิติมาให้แก่ชาวบ้านแถบนั้นยิ่งนัก ท่านได้แสดงธรรมสั่งสอนชาวบ้านเชิญชวนให้ทุกคนนั่งสมาธิบําเพ็ญกรรมฐาน ประชาชนต่างก็เลื่อมใสในจริยาวัตรของพระสมณะทั้งสองอย่างมาก หลั่งไหลกันมาฟังธรรมและต่างได้พร้อมใจกันสร้างเสนาสนะถวายได้ให้ชื่อว่า วัดทรายงาม

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ และ ๒๔๘๒ มีผู้นําเรื่องไปทูลฟ้องสมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรม หมื่นวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ว่า พระอาจารย์กงมา ปฏิบัติผิดพระวินัยหลาย เรื่อง เช่น พระอาจารย์กงมาสะพายบาตรเหมือนพระมหานิกาย พระอาจารย์กงมา เทศน์แปลหนังสือผิดไม่ถูกต้องตามคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทําให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์นั้น เสด็จไปทอดพระเนตรวัตรปฏิบัติของพระอาจารย์กงมาเองถึงในป่า จนประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้วตรัสว่า

การสะพายบาตรอย่างนี้ ก็เหมือนกับอุ้ม ไม่ผิดวินัยหรอก กลับเรียบร้อยดีด้วย ส่วนเรื่องแสดงธรรมนั้น ทรงตรัสชมเชยด้วยซ้ําว่า เทศน์เก่งกว่ามหาเปรียญ ๕ ประโยคเสียอีก

นอกจากนี้ยังมีผู้ไปทูลฟ้องสมเด็จพระสังฆราชว่า เวลาไปธุดงค์พระอาจารย์กงมา ทําตัวเป็นผู้วิเศษ แจกของขลังให้กับประชาชนหลงไปในทางผิด ทําให้สมเด็จพระสังฆราชขอออกธุดงค์กับ ท่านอาจารย์กงมา เพียงสองต่อสอง และทรงขอร้องไม่ให้บอกใครว่าเป็นสมเด็จพระสังฆราช จากนั้น พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ได้พาสมเด็จพระสังฆราช ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ท่านเคยออกธุดงค์มาแล้ว วันหนึ่งได้ไปปักกลดพักอยู่ที่ เชิงเขาสระบาปเกิดลมพายุฝนตก กลดไม่สามารถป้องกันน้ําฝนได้ อนึ่งการปักกลด ของพระธุดงค์ก็ต้องอยู่ห่างกัน พอสมควร สมเด็จพระสังฆราชทรงเปียกปอนไปหมด ส่วนพระอาจารย์กงมาก็นั่งตากฝนแต่บริขารไม่เปียก เมื่อฝนหยุดท่านก็ครองผ้าเข้า เฝ้าสมเด็จฯทําให้เกิดความฉงน สมเด็จฯ จึงตรัสถามว่า ทําไมจึงไม่เปียก ได้รับ คําตอบว่า มีคาถาดี

ภายหลังเสด็จกลับ จากเดินธุดงค์สู่วัดทรายงามแล้ว สมเด็จฯ จึงตรัสถามสามเณรวิริยังค์ จึงได้ทราบว่า เมื่อเวลาฝนตก พระองค์ต้องเก็บของทั้งหมดใส่ลงไปในบาตร แล้วปิดฝาบาตรให้สนิท ถึงตอนนี้ทําให้สมเด็จฯทรงเข้าใจชัดว่า คาถาป้องกันฝนได้ นั้น คือ อย่างนี้เอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรมหมื่นวชิรญาณวงศ์ ทรงตรัสชมเชยการออกธุดงค์ และการปฏิบัติกรรมฐาน ของพระอาจารย์กงมาว่า ได้ให้ประโยชน์อย่างมาก การออกธุดงค์และการปฏิบัติเช่นนี้ ถ้าทํากันมากๆ จะทําให้ พระศาสนาเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น พระองค์ยังได้ให้ความ คุ้มครอง สรรเสริญ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ด้วยดีโดยตลอดมา และต่อมาพระอาจารย์กงมา ได้สร้างวัดเขาน้อย ท่าแฉลบ ตามข้อชี้แนะของสมเด็จฯ ก่อนเสด็จกลับ กรุงเทพฯ ปัจจุบันได้เป็นวัดที่มั่นคงถาวร

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ท่านได้ทําการอุปสมบท แก่สามเณรวิริยังค์ บุญที่ย์กุล เป็นพระภิกษุ วิริยังค์ สิรินธโร และในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ท่านได้ชวนพระวิริยังค์ ออกธุดงค์ จากวัดทรายงาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อไปนมัสการ และศึกษาธรรมจาก หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยเดินเท้าเปล่า ผ่านอําเภอบะขาม กิ่งอําเภอคําพุฒ อําเภอโป่งน้ําร้อนไปจนหมดเขตไทย แต่ละแห่งล้วนเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ป่าที่ดุร้ายไข้ป่ารุนแรงมีอสรพิษมากมาย แต่ทั้งสองอาจารย์กับศิษย์ก็สามารถผ่านพ้นป่านั้นๆไปได้อย่างปลอดภัย จากนั้นก็เข้าธุดงค์สู่เขตประเทศเขมร ผ่านบ่อไพลิน พระตะบอง มงคลบุรี ศรีโสภณ แล้วเข้าสู่เขตประเทศไทย ด้านอําเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (ขณะนั้นเป็นจังหวัดอรัญประเทศ) พักปักกลดที่บ้านหนองแวง ธุดงค์ต่อมาผ่านบ้านตาดโตน ข้ามเขาลูกใหญ่ เดิน ๑ วันเต็ม ผ่านบ้านกุดโบสถ์ถึงถ้ําวัวแดง กิ่งอําเภอท่าแซะ จังหวัดนครราชสีมาถ้ําวัวแดงเป็นเทือกเขา ใหญ่ ถ้ํานี้คนโบราณเกรงกลัวมาก โดยรอบถ้ําเป็นป่าทึบ ต้นไม้ใหญ่หนาแน่น สัตว์ป่าพวกเสือร้ายชุกชุม ภายในถ้ําวัวแดงแห่งนี้มีเสียงประหลาดน่ากลัวเกิดขึ้นอยู่เสมอ ท่านพระอาจารย์กงมาได้เล่าว่าเสียงน่ากลัวและแปลกประหลาดทั้งหลายเกิดขึ้น มันจะมาทําลายจิต ฉะนั้น ต้องทําจิตให้เป็นสมาธิ คือ ตั้งมั่นในอารมรณ์เดียวไม่แส่ส่ายไปมา ถ้าจิตไม่แน่วแน่จะเกิดความกลัวทําให้เกิดเป็นบ้าได้

เมื่อท่านอยู่ปฏิบัติธรรม ณ ถ้ําวัวแดง เป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ได้เดินธุดงค์มุ่งสู่ จังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยพระ วิริยังค์ผู้เป็นศิษย์ โดยผ่านดงพญาเย็น นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี จนกระทั่งถึง จุดหมาย คือ จังหวัดสกลนคร โดยใช้เวลาทั้งสิ้น ๓ เดือน จากวัดทรายงาม จังหวัด จันทบุรี ถึง จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์กงมา ได้นําพระวิริยังค์เข้านมัสการและฝากไว้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านได้อยู่จําพรรษากับหลวงปู่มั่น ได้รับอุบายธรรมได้รับความเมตตาเป็นพิเศษ สถานที่ปฏิบัติธรรมนั้นเดิมเป็นเพียงสํานักชั่วคราว พระอาจารย์กงมาได้สร้างขึ้นใหม่จนเป็นวัดสมบูรณ์ ตั้งชื่อว่าวัดสุทธิธรรมาราม เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่มั่นได้ออกธุดงค์ พระอาจารย์กงมาเห็นว่า วัดสุทธิธรรมาราม มีความวิเวกน้อย ไม่เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติธรรม ท่านจึงไปแสวงหาที่เหมาะสมว่า ท่านได้พบถ้ําเสือบนเทือกเขาภูพานเห็นว่ามีความสงบวิเวกดี ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านจึงได้ขั้นปักกลดที่ปากถ้ําเสือบนเทือกเขาภูพานนั้น ปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อมา จนเสือที่เคยอาศัยอยู่ ณ ถ้ําแห่งนี้ ต้องหลีกทางให้ท่านอยู่ปฏิบัติ เพราะสู้เมตตาธรรมท่านไม่ได้

สถานที่แห่งนี้ ต่อมาพระอาจารย์กงมาได้สร้างเป็นวัด ชื่อ วัดดอยธรรมเจดีย์ พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกล เมื่อได้ ยินกิตติศัพท์ของท่าน ต่างหลั่งไหลมาฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ไม่ขาดสายตลอดมา

ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ได้มรณภาพ ด้วยอาการสงบได้นําความเศร้าโศกมาสู่บรรดาศิษยานุศิษย์และชาวพุทธเป็นอันมาก

ถวายเพลิงศพท่านในวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ณ วัดดอยธรรมเจดีย์ เทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนครสิริรวมอายุได้ ๖๐ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน

ธรรมโอวาท

หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นพระปฏิบัติธรรมตามแนวของหลวงปู่มั่น ธรรมโอวาทมีดังนี้

๑.คําว่าทุกข์ แม้จะนิดเดียวก็ไม่เคยมีสัตว์โลกรายใดรัก ชอบ และ ปรารถนา ต่างก็กลัวและขยะแขยงกันมาแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว แต่หากจะมีก็อาจได้พบ เห็นในสมัย ปัจจุบัน เพราะศีลธรรมที่เคยให้ความร่มเย็นแก่โลกตลอดมากําลังถูก ตําหนิ ลบล้างด้วยความคิดของคนในปัจจุบัน โดยเห็นว่า ศีลธรรมที่ร่มเย็นเป็นของ เก่าก่อน กลับคร่ําครึ ล้าสมัย ความสุขที่เคยได้รับเป็นสันดาร จนลืมทุกข์ทรมานแต่ ก่อนเก่าไปสิ้น

๒. เราจะกลัวเสือ หรือ เราจะกลัวกิเลส กิเลสมันทําให้เราตาย นับภพ นับชาติไม่ถ้วน แต่เสือตัวนี้ มันทําให้เราตายได้หนเดียว

๓. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่สามารถจะอยู่ยงคงทนต่อไปได้ ย่อมดับย่อมสลาย ไปตามกาล พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่เที่ยงแท้แน่นอนไปได้… ทุกขัง…เมื่อมีสิ่งที่เกิด ขึ้นมาในโลก แล้วเข้าไปยึดถือว่าเป็นตัวตนของเรา ของเขายามจากไป ยามดับไป สลายสิ้น สิ่งที่รักที่พอใจนั่นแหละ พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นทุกข์อย่างยิ่ง อนัตตา ความจริงในโลกนี้ มันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมันเอง ไม่มีใครไปต่อเสริมเติมแต่ง ได้ ถึงอย่างไรก็ยังเป็นธรรมชาติ แม้ร่างกายเรานี้จะยึดตัวตนว่า เป็นของเราของเขา ไม่ได้ เพราะเขาเป็นเพียงธาตุๆ หนึ่งที่ประชุมกันเข้าเท่านั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขาทั้งสิ้น

๔. การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความบริสุทธิ์ หรือ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตน คนอื่นทําให้ไม่ได้ เราต้องปฏิบัติให้รู้ยิ่ง เราต้อง อาศัยในสิ่งเหล่านี้ เพื่อจิตเข้าสู่สมาธิ จิตสงบอยู่ในอารมณ์ มาเป็นพยานขององค์วิปัสสนา ให้เห็นชัดแจ้ง เป็นความสว่างของ ปัญญา ผู้บริสุทธิ์ได้ ต้องอาศัยปัญญา นี่เอง ทั้งนี้ วิปัสสนาปัญญา จึงต้องยึดเอาตัว สังขารเรานี้เป็นพยานในการปฏิบัติ จึง จะรู้แจ้ง อย่ามองไปนอกตัวเหตุอยู่ที่นี่

๕. ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ล้วนเป็นเพื่อเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้น ทุกชีวิตเกิดมามีกรรมเป็นของๆ ตน นอกจากนี้ หลักธรรมที่หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ถือเป็นแนวทางปฏิบัติและสอนธรรมเป็น หลักธรรมที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้วางเอาไว้ หลวงปู่กงมา ก็จดจําได้อย่างขึ้นใจ คือ ธรรมะ ๑๑ ประการ ได้แก่

๑. การปฏิบัติทางใจ ต้องถือการถ่ายถอนอุปาทานเป็นหลัก

๒. การถ่ายถอนนั้น ไม่ใช่การถ่ายถอนโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่ทําเฉยๆ ให้มันถ่ายถอนเอง

๓. เหตุแห่งการถ่ายถอนนั้น ต้องสมเหตุสมผล เย ธมมา เหตุปูปภวา เตส์ เหต์ ตถาค โต เตสญจ โย นิโรโธ จ เอาวาที่ มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ธรรมทั้งหลาย คับไปเพราะเหตุ พระมหาสมณะมีปกติ ตรัสอย่างนี้

๔. เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอน อุปาทานนั้น มิใช่มีเหตุ และไม่สมควรแก่เหตุ ต้องสมเหตุสมผล

๕. เหตุได้แก่ สมมติบัญญาติขึ้น แล้วหลงตามอาการนั้น เริ่มต้นด้วยการสมมติตัวของตนก่อน พอหลงตัวของเราแล้วก็ไปหลงคนอื่น หลงว่าเราสวย แล้วจึงไปหลงผู้อื่นว่าสวย เมื่อหลงตัวของตัวและผู้อื่นแล้ว ก็หลงวัตถุข้างนอกจากตัว กลับกลายเป็น ราคะ โทสะ โมหะ

๖. แก้เหตุต้องพิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ด้วยสามารถ แห่งกําลังของสมาธิ เมื่อสมาธิขั้นต่ํา การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นต่ํา เมื่อเป็นสมาธิ ชั้นสูง การพิจารณาเป็นญาณชั้นสูง แต่อยู่ในกรรมฐาน ๕

๗. การสมเหตุสมผล คือ คันที่ไหนก็ต้องเกาที่นั้น จึงจะหายคัน คนติดกรรมฐาน ๕ หมายถึง หลงหนังเป็นที่สุด เรียกว่าหลงกันตรงนี้ ถ้าไม่มีหนัง คงจะวิ่งกันแทบตาย เมื่อหลงกันที่นี้ ก็ต้องแก้กันที่นี่ คือ เมื่อกําลังสมาธิพอแล้ว พิจารณาก็เห็นความจริง เกิดความเบื่อหน่ายเป็น วิปัสสนาญาณ

๘. เป็นการเดินตามอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์ ดังที่ พระ พุทธองค์ตรัสว่า ชาติปิทุกข์ ชราปีทุกข์ พยาธิปทุกข์ มรณัมปิทุกข์ ใครเกิด ใครแก่ ใครเจ็บ ใครตาย กรรมฐาน ๕ เป็นต้น ปฏิสนธิเกิดมาแล้ว แก่แล้วตายแล้ว จึงได้ชื่อว่า พิจารณากรรมฐาน ๕ อันเป็นทางพ้นทุกข์ เพราะพิจารณาตัวทุกข์จริงๆ

๙. ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน ๕ ยึดมั่น จึงเป็นทุกข์ เพื่อพิจารณาก็ละ ได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง สมคําว่า รูปสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญฺญายปิ นิพฺพินทติ สงฺขาเรสุปิ นิพฺพินฺทติ วิญฺญาณสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เมื่อเบื่อหน่ายในรูป (กรรมฐาน ๕) เป็นต้น แล้วก็คลายความกําหนัด เมื่อเราพ้นเราก็ต้องมีญาณทราบชัดว่าเราพ้น

๑๐. ทุกขนิโรธ ดังทุกข์ เมื่อเห็นกรรมฐาน ๕ เบื่อหน่ายได้จริง ชื่อว่า ดับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เช่นเดียวกับท่านสามเณรสุมนะ ศิษย์ของท่านอนุราช พอปลงผมหมดศีรษะก็สําเร็จเป็นพระอรหันต์

๑๑. ทุกขคามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือ การเป็นปัญญาสัมมาทิฐิ ปัญญาเห็นชอบเห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การเห็นจริงแจ้งประจักษ์ด้วยสามารถแห่งสัมมาทิฐิ ไม่หลงคติสุข มีสมาธิเป็นกําลัง พิจารณากรรมฐาน ๕ ก็เป็นองค์มรรค

ปัจฉิมบท

หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นนักต่อสู้ชีวิต ต่อสู้กับกิเลส เมื่อยังเป็นฆราวาส ก็เป็นฆราวาสที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ มีคุณธรรม เมื่อพบเคราะห์กรรม ก็รู้จัก เลือกสรรสาระให้กับชีวิต ถือเพศเป็นบรรพชิตที่น่าเคารพนับถือ ทั้งในคราบของ พระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกายได้ทุ่มเทชีวิตให้กับ การประพฤติปฏิบัติ จนมีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ มีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธา เลื่อมใสในปฏิปทา ทําให้เกิดวันอันเป็นสถานปฏิบัติธรรมขึ้น ในวงของพุทธศาสนา มากมาย เกิดมีผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักโอวาท ของท่านสืบมาจนถึงทุกวันนี้ โดยไม่ขาดสาย ท่านได้ชื่อว่า เป็นพระสุปฏิบัติ อุชุปฏิบัติ ญายปฏิบัติ สามีจิปฏิบัติ และเป็นโลกปุญญเขตอย่างแท้จริง