วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

หลวงตาพวง สุขินทริโย พระอริยสงฆ์แห่งลุ่มน้ําชี

ประัวัติ และปฏิปทา หลวงตาพวง สุขินทริโย (พระเทพสังวรญาณ) วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

หลวงตาพวง สุขินทริโย

พระอริยสงฆ์แห่งลุ่มน้ําชี

คำว่า “หลวงตา” อาจเป็นสรรพนาม เรียกพระภิกษุสงฆ์ที่ดูชราภาพ หรือมีลักษณะที่ ดูยังไงก็เป็นคนแก่ พระเทพสังวรญาณ หรือที่ ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า หลวงตาพวง สุขินทริ โย แห่งวัดศรีธรรมาราม จังหวัดยโสธร ถือว่า เป็นพระเถราจารย์ชื่อดังเมืองอีสานในด้าน วิปัสสนาธุระ ด้านวัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อไม่ลดหลั่นไปกว่ากัน นอกจากนี้ยังเป็นพระสังฆาธิการ ระดับสูงในภาคอีสานถิ่นนี้อีกด้วย

หลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นพระเถระ ผู้ใหญ่ในสายกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น มี ปฏิปทาและวัตรปฏิบัติงดงาม เป็นที่เลื่อมใส ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านเป็นลูก ศิษย์ของทั้ง หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยพํานักและร่วมบุกเบิกถ้ําขามกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

พระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ อําเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ย่อมเป็นที่รู้จักกันดีในสายวงวัตถุมงคลโชคลาภของคนไทยทั่วประเทศเพราะด้วยปฏิปทาที่เรียบง่าย สมถะและเมตตาแก่ ทุก ๆ คนที่ไปหา มิใช่แต่ชาวจังหวัดนครราชสีมาที่เลื่อมใสและศรัทธาท่าน ชาวยโสธรเองก็ เช่นเดียวกันที่เลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติ และ พากันไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณ เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมทั้งขอวัตถุมงคลเพื่อคุ้มครอง ป้องกันภยันตรายต่าง ๆ มิได้ขาด

แต่ทุก ๆ ครั้งที่ชาวยโสธรไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณนั้น หากท่านทราบว่าเป็นชาว ยโสธรแล้วหลวงพ่อคูณท่านจะไม่ยอมให้วัตถุมงคล และบอกว่าให้กลับไปเอาที่ยโสธร เกจิอาจารย์ชื่อดังรูปนี้กล่าวถึง หลวงตาพวง จนเป็นที่กล่าวขาน

“ที่ยโสธรมีคนเก่งกว่ากูมีอีก ผมหงอก ๆ ขาว ๆ ที่นั่งอยู่ริมแม่น้ําชีนั่นแหละ ท่านหมดกิเลสแล้ว ท่านไม่แสดงเฉย ๆ กูยังไม่ถึงเท่าท่านเลย ไป”

ลูกศิษย์ลูกหาชิดใกล้เมื่อสัมภาษณ์หลวงตาพวงถึงเรื่องนี้ ท่านก็เล่าให้ฟังว่า

“ก็เคยได้ยิน มาจากญาติโยมหลายสิบคนแล้ว ที่เล่าให้ฟังเหมือนกันว่า เมื่อชาวยโสธรไปกราบหลวงพ่อคูณ ท่านมักจะไล่กลับมาหาหลวงตา”

ที่สําคัญ หลวงตาพวง กับหลวงพ่อคูณ ไม่เคยพบกัน จากคําบอกเล่าของหลวงตาพวงเองว่า

“หลวงตาเองก็ไม่เคยได้พูดคุยกับหลวงพ่อคูณสักครั้งเดียว หลวงตาก็เคยไปวัดบ้านไร่มาสองครั้ง แต่ไม่เคยมีโอกาสพูดคุยกับท่าน เพราะมีญาติโยมเป็นจํานวนมาก จึงไม่มีโอกาสพูดคุยกัน หลวงพ่อคูณจะทราบได้อย่างไรก็ไม่ทราบ หรืออาจเป็นเพราะมีลูกศิษย์เล่าให้ฟัง ถึงประวัติหลวงตากระมัง”

สําหรับประวัติของพระเทพสังวรญาณ หรือหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นชาว จ.ยโสธร นามเดิมว่า พวง เป็นคนในตระกูล ลุล่วง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๖ พ.ค. ๒๔๗๐ ณ บ้านศรีฐาน ต.กระจาย อ.ลุมพุก จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร)

โดยพื้นแพครอบครัวของหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นชาวนา นับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม โยมบิดามารดามีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทําบุญตักบาตรหรือถวายภัตตาหารเป็นประจําทุกวันไม่ได้ขาด ยึดมั่นใน ขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด มีบุตรชายก็ต้องให้บวชพระเสียก่อนทุกคน ทั้งหลวงตาและน้องชาย คือ หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ หลังจากบวชตามประเพณีแล้วได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงครองสมณเพศตลอดชีวิต

หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีฐานใน ตําบลศรีฐาน อําเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ กุฏิภายในวัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร สิริอายุ ๘๖ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน พรรษา ๖๔)

สภาพความเป็นอยู่ของบ้านศรีฐานในสมัยนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทํานาเป็นหลัก ไม่ได้ทําไร่มันสําปะหลังหรือปลูกปอ เช่นปัจจุบัน ในสมัยก่อนชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มีสัตว์ป่า ป่าไม้ พืชพรรณธัญญาหารอุดม สมบูรณ์ นอกจากนั้นชาวบ้านศรีฐานยังมีชื่อ เสียงด้านการทําหมอนขิด ส่งออกขายทั่วประเทศ

หลวงตาพวง บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสระแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เมื่อ วันที่ ๒๐ มี.ค. ๒๕๔๕ ต่อมาได้อุปสมบทเป็น พระภิกษุ ที่สํานักสงฆ์บ้านหองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณาคม จ.สกลนคร ตรงกับวันที่ ๒๔ พ.ย. ๒๔๙๐ ได้รับฉายาว่า สุขินทริโย แปลว่า ผู้มีความสุขเป็นใหญ่ โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากอุปสมบท หลวงตาพวงได้เข้า ศึกษาอบรมธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ และฝากตัวเป็นศิษย์และขอนิสัยจากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บ้านธาตุเวง ต.พังขว้าง อ.เมือง จ.สกลนคร

พ.ศ.๒๕๐๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูใบฎีกาพวง สุขินทริโย และเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานใน จ.อุบลราชธานี อยู่ ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

ต่อมา พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ราชทินนาม พระราชธรรมสุธี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๐ พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชา คณะชั้นเทพ ที่ราชทินนาม พระเทพสังวรญาณ และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐ ธรรมยุต ได้ละสังขารเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ รวมสิริอายุ ๘๒ ปี พรรษา ๕๗ พรรษา ที่โรงพยาบาลยโสธร หลังจากอาพาธ ด้วยโรคมะเร็งท่อน้ําดีระยะสุดท้าย ตั้งแต่เดือน ก.ย. ๒๕๕๐ และรับการรักษาด้วยยาเคมีบําบัด อย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลศิริราช ก่อนจะมาพักรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร จนมรณภาพ

ชื่อเสียงของหลวงตาพวงนอกจากจะเป็นที่รับรู้กันว่าเป็นพระสายพระป่าของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น อันที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปแล้ว ยังมีฝ้ายเจ็ดสีและวัตถุมงคล ที่เป็นที่ศรัทธาและรู้จักของพุทธ ศาสนิกชนโดยทั่วไป มิใช่เพียงแต่ชาวยโสธรเท่านั้น ชื่อเสียงของฝ่ายเจ็ดสีและวัตถุมงคล ของหลวงตาขจรกระจายไปทั่วทุกสารทิศ มีญาติโยมหลั่งไหลมาขอมิได้ขาด

ความเป็นมาของฝ้ายเจ็ดสีซึ่งคงเอกลักษณ์ เฉพาะตัวนั้นมีความเป็นมาตั้งแต่ ๖-๗ ปีที่ผ่าน มา ชาวบ้านใน ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ประกอบด้วยหมู่บ้านสิงห์ หมู่บ้านหนองขอน หมู่บ้านหนองเยอ หมู่บ้านนาสีนวล มีผีปอบ (หมายถึงบุคคลที่มีวิชาคาถาอาคม แต่ไม่ปฏิบัติ ตนอยู่ในศีลในธรรม แล้วเกิดร้อนวิชา) มารังควาน ชาวบ้านไม่มีที่พึ่งจึงพากันมาหาหลวงตาพวง โดยชาวบ้านไปซื้อด้ายสายสิญจน์จาก ตัวเมืองยโสธรเพื่อให้หลวงตาแผ่เมตตาให้ แล้วนําไปผูกข้อมือบ้าง ผูกคอบ้าง ผูกตามบ้าน เรือนบ้าง ชาวบ้านชุดแรก ๆ ที่ได้ไปร่ําลือกันว่า สามารถป้องกันผีปอบได้ ต่อมาเมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไปก็มีญาติโยมมาขอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ไม่นานนักชาวบ้านในตําบลสิงห์เกือบทุกบ้านได้สายสิญจน์จากหลวงตาไป ผลที่สุดคนที่ ถูกหาว่าเป็นปอบก็เสียชีวิต หลังจากนั้นมาก็ไม่มีผีปอบมารบกวนชาวบ้านอีกเลย เมื่อข่าวสะพัดออกไปอีก ชาวบ้านหมู่บ้านและตําบล อื่น ๆ ก็เริ่มหลั่งไหลมาขอฝ้ายเจ็ดสีมิได้ขาด บางคนก็ขอให้ผูกข้อมือให้ ซึ่งการผูกข้อมือ แต่ละคนต้องเสียเวลามาก ถ้าหากมีญาติมา พร้อมกันมาก ๆ ก็ยิ่งเสียเวลานาน เพราะหาก คนหนึ่งได้รับการผูกข้อมือจากหลวงตาแล้วคน อื่น ๆ ก็อยากได้บ้าง ด้วยเหตุนี้ลูกศิษย์ของท่านจึงนําเชือกไนลอนที่มีเจ็ดสีมาถวาย เพราะไนลอนเจ็ดสีนั้นสามารถทําเป็นวง ๆ สําเร็จรูป ไว้ก่อน เมื่อญาติโยมมาขอก็แจกได้เลยโดยไม่เสียเวลา

สาเหตุสําคัญอีกประการหนึ่งที่ทําให้ฝ้ายเจ็ดสีเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปก็เพราะเหตุว่ามี ชาวบ้านคนหนึ่งป่วยหนัก เป็นมะเร็งในระยะสุดท้าย ใกล้จะเสียชีวิตเต็มที่ ญาติได้มาขอฝ้ายเจ็ดสีจากหลวงตาไปผูกข้อมือเพื่อเป็นสิริมงคล แต่หลังจากนั้นอีก ๓-๔ วันคนป่วยคนนั้นก็เสียชีวิต ญาติจึงได้นําศพไปบําเพ็ญกุศล และนําไปเผา ปรากฏว่าศพไม่ไหม้ แม้ว่าจะใช้เวลาเผานานพอสมควรโดยใช้ถ่านถึงสองกระสอบแล้ว ศพก็เพียงแต่ดําเป็นตอตะโก ญาติของผู้ตายไม่ทราบจะทําอย่างไร นึกได้ว่าก่อนเผาลืมถอด ฝ้ายเจ็ดสีจากข้อมือศพ จึงได้มานิมนต์หลวงตาพวงไปเผา หลวงตาก็รับนิมนต์ และให้นําถ่านมาอีกหนึ่งกระสอบ หลวงตาบอกว่า

“ถ้าเผาไม่ไหม้ เมื่อถ่านหมดกระสอบนี้แล้ว ก็ให้นําศพไปลอยแม่น้ําชีให้ปลากิน”

แต่ทว่าในที่สุดศพก็ไหม้เป็นที่เรียบร้อยญาติของผู้ตายเลยนําเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไป เขียนลงในหนังสือพิมพ์ว่าฝ้ายเจ็ดสีของหลวงตาพวงยิงไม่เข้า เผาไม่ไหม้ เมื่อข่าวแพร่ กระจายออกไปก็มีญาติโยมมาขอฝ้ายเจ็ดสีมาก ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่มีปัจจัยเพียงพอในการ ซื้อฝ้ายเจ็ดสีมาแจก

ในที่สุดบรรดาลูกศิษย์จึงต้องขออนุญาต หลวงตานําฝ้ายเจ็ดสีไปจําหน่ายเพราะต้องการทุนมาทําต่อไปให้เกิดการหมุนเวียน จวบจน ปัจจุบันฝ้ายเจ็ดสีที่แจกจ่ายไปมีเป็นจํานวน มาก เทียบได้กับจํานวนบรรทุกของรถสิบล้อ ๒-๓ คัน นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์อื่น ๆ อีก มากมายที่ผู้ได้รับฝ้ายเจ็ดสีประสบด้วยตนเอง จนร่ําลือต่อ ๆ กันไป

รวมทั้งเรื่องเดินข้ามแม่น้ําชี ซึ่งฝั่งตรงข้าม ของวัดศรีธรรมารามเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขต อําเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ชาวบ้านเล่า กันว่ามีคนออกไปเก็บกับดักหนูที่ดักไว้ในช่วงเช้ามืด เห็นหลวงตาพวงเดินบนแม่น้ําชีไป บิณฑบาตในหมู่บ้านฝั่งอําเภอพนมไพร

คุณสมจันทร์ โพธิศรี อยู่บ้านเลขที่ ๖๘ บ้านกุดกุง (คุ้มหนองแสง) ต.เขื่อนคํา อ.เมือง จ.ยโสธร เล่าให้ฟังเป็นภาษาอีสานว่า

“เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๓๙ เช้าวันหนึ่งข่อยไปดักหนูป่าแมะ ได้เห็นหลวงตาพวงเพิ่นเดินข้ามแม่น้ําชีไปแมะ ข่อยนี้แหละ เป็นผู้เห็นท่านเองเลย” (คัดจากหนังสือ โลกทิพย์)

เมื่อถามเรื่องนี้กับหลวงตาหลวงตาก็ตอบว่า

“เป็นเรื่องของเขาเห็นปรากฏในสายตา หลวงตาไม่ค้าน ไม่ได้ปฏิเสธ เขาคงเห็นด้วยสายตาของเขา จะเล่าลืออย่างไร หลวงตาไม่ได้พูด ไม่ได้อวดอะไร”

แล้วหลวงตาก็เปลี่ยนเรื่องพูดถึงเรื่องหมู่บ้านในฝั่งอําเภอพนมไพรว่า

“หลวงตาก็รับนิมนต์ไปสวด หรือไม่ก็ฉันที่หมู่บ้านฝั่งนี้เป็นประจําทุกวันออกพรรษา ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านก็พากันมามอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์ มากราบขอพร เพราะพวกเขาไม่มีที่พึ่ง ในหมู่บ้าน เขาจึงมาพึ่งหลวงตา เมื่อมีการงานอะไรพวกเขาก็มาช่วยเสมอ ๆ แม้แต่มาอยู่ที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม พวกเขาก็ยังมา”

วัดศรีธรรมาราม ตามคําจารึกจากแผ่นทองคําที่ขุดได้มีชื่อว่า วัดธรรมหายโศรก บ้าง ก็เรียก วัดท่าชี, วัดท่าแขก, วัดนอก, วัดสร่างโศรก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ โดยพระสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองขณะนั้นได้เปลี่ยนชื่อ อีกหลายครั้ง จนกระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีธรรมาราม

หลวงตาพวง สุขินทริโย

แม้ปัจจุบัน พระเทพสังวรญาณ หรือ หลวงตาพวง สุขินทริโย จะมรณภาพไปแล้ว แต่เนื้อนาบุญแห่งเมืองยโสธรยังคงเป็นประทีป ศรัทธาให้แก่ชาวอีสานเดินทางมากราบนิวาส สถานของพระอริยสงฆ์แห่งลุ่มน้ําชีมิได้ขาด

พิพิธภัณฑ์หลวงตาพวง เจดีย์พระสุก วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
พิพิธภัณฑ์หลวงตาพวง เจดีย์พระสุก วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
พิพิธภัณฑ์พระเทพสังวรญาณ หลวงตาพวงสุขินฺทริโย
รูปหล่อหลวงตาพวง ภายใน เจดีย์พิพิธภัณฑ์ พระเทพสังวรญาณ(หลวงตาพวง สุขินทริโย)
เจดีย์พิพิธภัณฑ์ พระเทพสังวรญาณ(หลวงตาพวง สุขินทริโย) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม(ธ) อ.เมือง จ.ยโสธร
พิพิธภัณฑ์พระเทพสังวรญาณ หลวงตาพวงสุขินฺทริโย เจดีย์หลวงพ่อพระสุก