ประวัติ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างด้วยเนื้อทอง เงินนาคสัมฤทธิ์ หน้าตัก ๕๑ นิ้ว สูง ๘๕ นิ้ว หนักเก้าแสนบาทบท (องค์ตัน) ที่กะเทาะเปลือกหุ้มออก ทั้งหมดที่เห็นองค์ปัจจุบัน ๒๔๕๔ สร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ ปีที่ ๗ วันพฤหัสบดี แรม ๑๐ ค่ า เดือน ๕ ปีขาล (กดยี่) พุทธศักราช ๒๓๗๓ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ในประเทศไทยแมีทั้งหมด ๕ องค์ด้วยกัน คือ
๑. พระเจ้าองค์ตื้อ (พระตื้อ) เนื้อทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัยอยู่ที่วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
๒. พระเจ้าองค์ตื้อ ตื้อ (พระโต) เนื้ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย อยู่ที่วัดพระโต บ้าน
หนองแซง อำเภอนาตาล (เขมราฐ) จังหวัดอุบลราชธานี
๓. พระเจ้าองค์ตื้อ (พระตื้อ) เนื้อทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัยอยู่ที่วัดศรีชมพูองค์ตื้ออำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
๔. พระเจ้าองค์ตื้อ (พระหินตัน) เนื้อศิลาหิน ปางมารวิชัย อยู่ที่สำนักสงฆ์หน้าผาตาดโตน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
๕. พระเจ้าองค์ตื้อ (พระเก้าตื้อ) เนื้อทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย อยู่ที่วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และพระเจ้าองค์ตื้อ อยู่ที่วัดพระเจ้าองค์ตื้อ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นครเวียงจันทน์ ตำนานกล่าวไว้ว่า สร้างสมัยกษัตริย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ตั้งอยู่ เลขที่ ๒ ถนนสุนทรวิมล ซอยพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณพุทธศักราช ๒๒๒๒ สมัยกรุงธนบุรีเป็นวัดราษฎร์ เดิมทีมีวัดอยู่ ๒ วัด คือ วัดใต้เทิง และวัดใต้ท่า (วัดร้าง) คำว่า “เทิง” ในภาษาอีสานมีความหมายว่า บน หรือ เหนือ ส่วนคำว่า “ท่า” หมายถึงทางลงแม่น้ำ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต ๒ จังหวัดอุบลราชธานี) เหตุที่ วัดใต้ทั้งสองเรียกต่างกันก็เพราะมีถนนพรหมราชกันกลาง วัดใต้ท่าอยู่ชิดริมแม่น้ำ ส่วนวัดใต้เทิงอยู่เหนือขึ้นไป เมื่อ ท่านเจ้าคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) , ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีปกครอง สังฆมณฑลในสมัยนั้น จึงได้ยุบรวมวัดใต้ท่ากับวัดใต้เทิงให้ เป็นวัดเดียวกันรวมเรียกว่า “วัดใต้เทิง” เพื่อแสดงออกถึงความสามัคคีกัน ชาวบ้านทั้ง ๒ คุ้ม วัดใต้ท่าและวัด ใต้เทิง จึงมีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดใต้” และต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อ “วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” จนปัจจุบัน