ตำนาน ประวัติ วัดองค์ตื้อมหาวิหาร
นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
วัดองค์ตื้อ เป็นวัดที่สําคัญและเก่าแก่วัดหนึ่ง ในนครเวียงจันทน์ เป็นวัดที่ประชาชนลาวมีความศรัทธานับถือมาก โดยเฉพาะชาวนครเวียงจันทน์และใกล้เคียง นอกจากนี้วัดองค์ตื้อ ยังเป็นวัดที่ทางราชการ ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมสําคัญ เช่น พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาฝ่ายอาชญาสิทธิ์การปกครองต่างๆ และพิธีทําบุญของทางราชการ ดังเราจะเห็นได้เมื่อเสร็จจากงานบุญพระธาตุหลวงแล้ว ก็ต้องมาทําพิธีฉลองวัดองค์ซื้อทุกๆ ครั้ง สิ่งสําคัญที่ดึงดูดประชาชนให้เลื่อมใสศรัทธานั้นก็คือ วัดองค์ตื้อเป็นวัดที่เก่าแก่มีอายุได้เกือบ 500 ปีแล้ว ที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานก็คือ โบสถ์ และ พระเจ้าองค์ตื้อ
วัดองค์ตื้อ ตั้งอยู่ริมถนนไชยเชษฐาธิราช ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือหอพระแก้วประ มาณ 1 กิโลเมตร ห่างจากแม่น้ําโขงประมาณ 200 เมตร นับว่าตั้งอยู่ใจกลางนครเวียงจันทน์ สะดวกแก่การไปมาทําบุญทําทานไหว้พระสวดมนต์ ของพุทธบริษัททั้งหลาย ในสมัยก่อนวัดองค์ตื้อมีบริเวณกว้างขวาง ติดกันกับวัดอินแปง วัดมีไชยารามและวัดหายโศก ปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นอาคารบ้านเรือน ปักปันเขตแดนกันหมดแล้ว วัดองค์ตื้อยุคปัจจุบัน ได้มีการสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้นมาก เช่น โรงเรียนบาลีชั้นสูงหลังเก่า ได้สร้างขึ้นในสมัยพระยาภูวงศ์พิมพ์ศร เป็นอธิบดีกรมธรรมการ เสด็จเจ้ากรมมา (สุวรรณภูมา) เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี ค.ศ. 1953 สร้างกุฏิ 4 หลัง และสถาบันศึกษาพระพุทธศาสนาหลังใหม่ ได้สร้างขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เองปัญหามีอยู่ว่า วัดองค์ตื้อสร้างขึ้นเมื่อใด สมัยใด ยากที่จะหาหลักฐานได้แน่ชัด แต่ที่พอจะรู้ได้ก็คือ พระเจ้าองค์ตื้อ (พระพุทธรูปองค์ตื้อ) ที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ปัจจุบัน ยังพอแสดงให้เห็นเป็นหลักฐาน, นักประวัติศาสตร์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า พระเจ้าองค์ตื้อนี้พระไชยเชษฐาธิราชที่ 1 ทรงโปรดให้หล่อขึ้นในปี ค.ศ. 1566 พร้อมกับประพุทธรูปอื่นอีกรวม 4 องค์ คือ พระเจ้าองค์ตื้อ พระสุก พระใส พระเสริม เชื่อกันว่าพระสุขจมน้ำอยู่ที่เวินสุก ในขณะที่ไทยพยายามเอาข้ามโขงไปฝั่งไทย พระใส อยู่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ส่วนพระเสริมปัจจุบันอยู่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ คนเฒ่าคนแก่เล่าว่า วัดองค์ตื้อสมัยก่อนที่พระไชยเชษฐาธิราชจะสร้างพระพุทธรูปองค์ตื้อขึ้นนั้น มีชื่อว่าวัดชัยภูมิ, ในเมื่อพระเจ้าองค์ตื้อได้มาประดิษฐานอยู่แล้ว จึงเรียกว่า วัดองค์ตื้อ ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ในเมื่อลาวเสียอิสรภาพให้ไทยในปี ค.ศ. 1827 ฝ่ายไทยก็ได้เก็บกวาดเอาสมบัติข้าวของไปหมด พร้อมกับทําลายนคร เวียงจันทน์ให้เป็นเถ้าถ่าน รวมทั้งวัดวาอารามด้วย วัดองค์ซื้อก็ถูกทําลายเช่นเดียวกัน แต่ข้าศึกไม่สามารถเอาพระเจ้าองค์ตื้อไปได้ ส่วนพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ไทยได้ขนไปหมด วัดองค์ตื้อที่พวกเราได้ไหว้สักการะบูชาอยู่ทุกวันนี้ ได้รับการซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในปี ค.ศ. 1911 และ ปี ค.ศ. 1927 (อ้างตามบันทึกของชาวฝรั่งเศส) การปฏิสังขรณ์วัดองค์ตื้อขึ้นใหม่นี้เข้าใจว่า ได้รักษารูปแบบศิลปะลาวไว้ตามเดิม เนื่องด้วยในสมัยนั้นอิทธิพลของประเทศใกล้เคียง ยังไม่ทันเข้ามามีบทบาทเหมือนทุกวันนี้ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้บันทึกไว้ว่า โบสถ์วัดองค์ตื้อ เป็นโบสถ์แบบลาวโดยแท้การประดับดอกดวงและรูปทรงของโบสถ์นั้น หมายถึงการแสดงออกซึ่งความศิวิไลซ์แบบลาว พระเจ้าองค์ตื้อที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์นั้น ชี้ให้เห็นความสามารถของช่าง ลาว ในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น นับว่าไม่น้อย หน้าประเทศใดในโลก
ประวัติพระไชยเชษฐาธิราชที่ 1 ที่แสดงให้เห็นเป็นหลักฐานเกี่ยวกับวัดองค์ตื้อนั้น คือ พระองค์เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปองค์ตื้อ (พระเจ้าองค์ตื้อ) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสําคัญดังกล่าวแล้ว เป็นศิลปะชั้นยอดของลาวสมัยล้านช้าง พระไชยเชษฐาธิราช มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าเชษฐวังโส เป็นราชโอรสองค์ใหญ่ของพระโพธิสารราช พระมารดาเป็นธิดาของพระเจ้าแผ่นดินแห่งเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ประสูติเมื่อปีมะเมีย เดือนอ้าย แรม 9 ค่ํา วันอาทิตย์ เวลาเที่ยง จุลศักราช 896 (ค.ศ. 1534) พระองค์เป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็ง มีอุดมคติอันสูง เป็นผู้มีจินตนาการไกล คือ พระองค์เห็นว่านครเชียงทองเป็นที่คับแคบและกันดาร ข้าศึกมาย่ำยีได้ง่าย เพราะเป็นทางเดินทัพของพม่า พระองค์เห็นว่าเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งตั้งอยู่กึ่งกลางประเทศ สะดวกแก่การไปมาหาสู่กันระหว่างภาคใต้และภาคเหนือ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้มอบเมืองเชียงทองให้แก่พระสงฆ์องค์เจ้าดูแล ส่วนพระองค์ เองได้เอาพระแก้วมรกตและพระแซกคํา พร้อมทั้งสมบัติและเสนาอํามาตย์ลงมาเมืองเวียงจันทน์ แล้วสถาปนาเมืองเวียงจันทน์สขึ้นเป็นนครหลวง ทรงขนานนามว่า พระนครจันทบุรีศรีศัตนาคนหุตอุตมราชธานี ในปีกดสัน (ปีวอก) ค.ศ. 1560 ต่อ มาเมื่อปี ค.ศ. 1566 พระไชยเชษฐาธิราช ได้สร้างพระธาตุหลวงขึ้นทางด้านตะวันออกของพระนคร โดยก่อคร่อมเจดีย์เก่าองค์หนึ่งอันมีในที่นั้น เมื่อพระองค์ได้ สร้างพระธาตุขึ้นหลายแห่งแล้ว ก็ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ เช่น สร้างวัดฤาษีสังข์หอม เป็นต้น แล้วทรงหล่อพระพุทธรูปขึ้นจํานวนมาก แต่ที่ปรากฏว่าสําคัญ ก็ คือ พระพุทธรูปองค์ตื้อ พระสุก พระใส และพระเสริม ดังกล่าวมาแล้ว
ตํานานฉบับหนึ่งพบที่วัดพระเจ้าองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง อําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เขียนไว้ว่า พระเจ้าองค์ตื้อ อยู่วัดบ้านน้ำโมงนี้ ซึ่งเมียน้อยของพระไชยเชษฐธิราชเป็นผู้สร้าง ส่วนพระเจ้าองค์ตื้อที่เวียงจันทน์นั้น เมียหลวงเป็นผู้สร้าง ยังมีการกล่าวต่อไปอีกว่า พระเจ้าองค์ตื้อองค์อื่นๆ เช่น พระเจ้าองค์ตื้อที่วัดท่าลาด เมืองโพนโฮง กิ่งแขวงถิ่นแก้ว อยู่วัดเมืองโสย วัดบ้านเอื้อม แขวงหัวพัน ดังนี้เป็นต้น ก็ว่าพระไชยเชษฐาธิราชสร้างขึ้นเหมือนกัน ตามการสันนิษฐานของข้าพเจ้าแล้ว พระเจ้าองค์ตื้อองค์อื่นๆนั้น อาจไม่ได้สร้างขึ้นในสมัยของพระไชยเชษฐาธิราชก็เป็นได้ เป็นธรรมดาอยู่ว่าวิวัฒนาการของศิลปะแต่ละตระกูลนั้น ต้องใช้เวลานับเป็นร้อย ๆ ปีทีเดียว
สิ่งสําคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้นมหาโพธิ์ที่พระมหาเถระ ประเทศศรีลังกา นํามาประดิษฐานไว้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโบสถ์ประมาณ 15 เมตร ในปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1939) ตรงกับปีขาล เดือน 3 แรม 10 ค่ำ วันอังคาร และบานประตูโบสถ์ ที่เราเห็นเป็นสง่าวิจิตรงดงามอยู่ปัจจุบันนี้นั้น มีจํานวน 3 ประตู ซึ่งพระบรมเชษฐาขัติยสุริยวงศา และพระมหาศรีสว่างวัฒนา ได้ทรงนํามาถวายเมื่อ พ.ศ. 2509 ผู้ รับสนองพระราชศรัทธา คือ เจ้าพระยาหลวงเมืองจันทน์ (อู่ทอง สุวรรณวงศ์) เป็นผู้เอื้อเฟื้อช่วยเหลือไม้ เจ้ามณีวงศ์ขัตยราชเป็นผู้เขียนลาย เพียสิทธิพรหมวาด (ทิดต้น) สุวรรณภูมิ เป็นผู้สลักลวดลาย, วัดองค์ตื้อนอกจากจะมีความสําคัญดังที่กล่าวมาแล้ว ยังเป็นวัดที่ผลิตนักศึกษาฝ่ายศาสนาอีกด้วย คือเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ถึง ปัจจุบันนี้ มีพระภิกษุสามเณรสําเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาทางพระพุทธ ศาสนาแห่งนี้ จํานวนหลายร้อยรูป สรุปดังนี้ คือ
1. วัดองค์ตื้อ อาจสร้างขึ้นก่อนสมัยพระไชยเชษฐาธิราช เสด็จลงมาสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นราชธานี ทั้งนี้ เพราะว่าประชาชนเวียงจันทน์ ได้นับถือพระพุทธ ศาสนามาก่อนสมัยพระไชยเชษฐาธิราช
2. วัดองค์ตื้อ อาจสร้างขึ้นพร้อมกับสมัยที่พระไชยเชษฐาธิราชสร้างพระเจ้าองค์ตื้อ เพราะว่าเป็นธรรมเนียมของกษัตริย์ในสมัยก่อนนั้น ซึ่งมักจะสร้างวัดขึ้นไว้ สักการะบูชาเฉพาะพระองค์เอง
3. วัดองค์ตื้อ อาจสร้างขึ้นในสมัยของพระโพธิสารราช พระบิดาของพระไชยเชษฐาธิราช คือ ตอนที่พระองค์ได้ลงมาประทับอยู่นครเวียงจันทน์ ต่อมาพระราชโอ รสของพระองค์ จึงมาหล่อพระเจ้าองค์ตื้อประดิษฐานไว้
อย่างไรก็ดี ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงการสันนิษฐานเท่านั้น เพราะเรายัง ไม่ทันได้พบหลักฐานที่บอกไว้แน่ชัดเลย
◎ วัตถุมงคล รับเช่าเหรียญพระเจ้าองค์ตื้อ ลาว (โทร 086-7890968)