วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (อินแปง) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ประวัติ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (อินแปง)

วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่)
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (อินแปง) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่)
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (อินแปง) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่)

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (อินแปง) เป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองขนาดหน้าตักกว้างประมาณ  ๓.๐๐ เมตร สูงประมาณ ๕.๐๐ เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง คำว่า “อินแปง” ภาษาไทยอีสาน  “แปง” แปลว่า “เฮ็ด ว่า ทำ” ก็หมายความว่า พระเจ้าใหญ่องค์นี้ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ สร้าง พระอินทร์เป็น ผู้ประทานเฮ็ดไว้ให้เห็นเป็นมิ่งมงคล ทุกวันเพ็ญเดือน ๕ (เมษายน) ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตร มหาชาติชาดก และสรงน้ำพระเป็นประจำ พร้อมปิดทอง ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนถึงทุกวันนี้ 

ประวัติเล่าสืบต่อกันของพระพุทธรูปองค์นี้ “พระเจ้าใหญ่องค์แปลง” มีมากมาย ตั้งแต่การสร้างว่า  พระเจ้าใหญ่อินแปลง มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ โดยองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่ วัดอินทร์แปลงมหาวิหาร  นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ปัจจุบันมีอายุประมาณพันกว่าปี พระพุทธรูปอีกองค์ ประดิษฐานอยู่ที่  วัดอินแปลง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งก็มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดอินทร์แปลงมหาวิหาร ประเทศลาว ส่วนองค์สุดท้าย คือ พระเจ้าใหญ่อินแปลง ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ วัดมหาวนาราม อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี  

พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบดินเผา สร้างเสร็จแล้วฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ พระวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง โครงสร้างเป็นไม้ฝาผนังก่ออิฐ ถือปูน หลังคามุงสังกะสี 

วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่  ๑๘๓ ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี (หรือทุ่งศรีเมือง) ประมาณ ๑ กิโลเมตร ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะขึ้นมาเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๑  

ความเป็นมา วัดมหาวนารามเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง เดิมชื่อว่า “วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์”  ภายหลังเรียกว่า “วัดป่าใหญ่” และต่อมาได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น “วัดมหาวนาราม”  

ตามศิลาจารึกอันฝังอยู่ที่แท่นเบื้องหลังแห่งองค์พระประธาน ปรากฏว่า วัดมหาวนาราม สร้างขึ้น ประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๓ โดยพระพรหมวรราชสุริยวงษ์ เจ้าเมืองคนที่ ๒ เป็นผู้สร้าง หลังจากนั้นอีก ๑ ปี  พระมหาราชครูศรลัทธรรมวงศา เจ้าอาวาสพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ประธาน  ถวายพระนามว่า “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” ถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง วิเศษศักดิ์สิทธิ์มาก

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (อินแปง) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่)
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (อินแปง) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่)

พระพุทธรูป “พระเจ้าใหญ่อินแปลง” หลังก่อสร้างเสร็จก็ได้รับความเคารพบูชาจากชาวเมืองมาโดยตลอด  โดยเฉพาะในอดีตเมื่อมีความขัดแย้งกันขึ้น หรือเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ ชาวเมืองก็จะชวนกันมาสาบานต่อ หน้าองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลง เพราะต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน หากใครไม่ทำตามที่ได้ให้คำสัตย์ สาบานเอาไว้ ก็จะมีอันเป็นไปต่างๆ นานา รวมทั้งการมาขอพรให้ประสบความสำเร็จในการสอบไล่ หรือในหน้าที่การงาน และความประสบโชคมีสุขในครอบครัว หรือแม้กระทั่งมีสิ่งของส าคัญสูญหายไป จะมาบนบานต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลง เพื่อขอให้ได้สิ่งของที่หายไปกลับคืนมา พระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดมหาวนาราม หรือวัดป่าใหญ่ จึงเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาว จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อมีการเดินทางมารับตำแหน่งใหม่ของข้าราชการทุกระดับชั้น จะต้องมาไหว้กราบนมัสการบอกกล่าวต่อองค์ท่าน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างราบรื่นปราศจากอุปสรรคใดๆ สำหรับ การทำบุญกับ พระเจ้าใหญ่อินแปลง ที่ชาวบ้านนิยมคือ การ ถวายดอกบัวตูม ธูป และเทียน พร้อมลงรักปิด ทองที่ตัวองค์ พระเจ้าใหญ่อินแปลง และถวายสังฆทาน แต่เนื่องจากอุโบสถที่ใช้ประดิษฐาน พระเจ้าใหญ่ อินแปลง เริ่มคับแคบ เพื่อลดความแออัดในการเข้าไปกราบนมัสการ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ซึ่งมี ประชาชนจากทั่วสารทิศพากันมากราบไหว้จำนวนมาก ทางวัดได้จัดทำรูปองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลง 

คตินิยมการไหว้ขอพร : มีอำนาจวาสนา ผู้คนนับถือ