วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ วัดทุ่งนางโอก อ.เมือง จ.ยโสธร

ประวัติและปฏิปทา
พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ

วัดทุ่งนางโอก
อ.เมือง จ.ยโสธร

พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ วัดทุ่งนางโอก อ.เมือง จ.ยโสธร
พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ วัดทุ่งนางโอก อ.เมือง จ.ยโสธร

หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ เป็นพระภิกษุที่ชาวบ้านทุ่งนางโอก ชาวบ้านผือฮี และ ประชาชนในเขตอำเภอเมือง อำเภอทรายมูล ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เหตุเพราะท่านหลวงปู่ เป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พร้อมกับเป็นพระสงฆ์ที่สงบเยือกเย็นมีเมตตาธรรมสูง จึงเป็นที่เคารพสักการะของคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ ซึ่งได้ทราบถึงเกียรติคุณของท่าน หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ ท่านดำรงอยู่ในสมณเพศตั้งแต่เป็นสามเณรจนถึงมรณภาพท่านเป็นพระสงฆ์ที่ทรง ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวก ครบทั้ง สามประการ สมดังคำว่า สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว หรือ อีกประการหนึ่งหลวงปู่เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยความบริสุทธิ์แห่งศีลอย่างยอด ยิ่ง ท่านเป็นผู้สำรวมแล้วในกาย วาจา ใจ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ในศีลาจารวัตร เป็นพหุสูตร และอยู่ ในฐานะ ควรแก่การกราบไหว้ ตามรอยแห่งองค์ สมเด็จพระบรมศาสดา

◉ ชาติภูมิ
หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ เป็นชาวบ้านทุ่งนางโอกโดยกำเนิดจากการบอกเล่าของพ่อใหญ่อ้วน โสมณวัฒน์ และ แม่ใหญ่โม่ โสมณวัฒน์ ซึ่งเป็นบุตรของนางเกี้ยง โสมณวัฒนน้องสาวของหลวงปู่ เล่าว่า บิดาของหลวงปู่ ชื่อนาย สิงห์ หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขียว ส่วนมารดาของท่านไม่รู้จักชื่อ หลวงปู่เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๗ มี พี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ คนตามลำดับดังนี้

๑. หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ (โสมณวัฒน์)
๒. นายตุ่น โสมณวัฒน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พ่อใหญ่สีหราช
๓. นายอ่อน โสมณวัฒน์
๔. นางเกี้ยง โสมณวัฒน์

ทั้ง ๔ คนนี้ได้เสียชีวิตไปนานแล้ว แม้แต่พ่อใหญ่อ้วน แม่ใหญ่โม่ โสมณวัฒน์ ซึ่งเป็นลูกของนางเกี้ยง ผู้ให้ข้อมูลนี้ ปัจจุบัน ได้เสียชีวิตแล้ว

◉ การบรรพชาและอุปสมบท
พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ ท่านเป็นผู้เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี กับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในละแวกนี้ คือ พระปลัดอ่อนตา ชื่นตา โดยไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านทรายมูล (ในปัจจุบัน คือ วัดบูรพารามใต้ มีท่านเจ้าคุณหลวงพ่อพระราชสุตาลงกรณ์ (เดือน สิริธมฺโม ป.ธ.๔ ) เป็นเจ้าอาวาสและรองเจ้าคณะจังหวัดยโสธร) และ คาดว่าท่านหลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ คงจะเป็นศิษย์ใกล้ชิดของอาจารย์ เหตุเพราะหลวงปู่เคยเล่าให้ พ่อใหญ่จารย์ครูอ่อน คำศรี ขณะที่ท่านบวชอยู่นั้นฟังว่า เมื่อครั้งหลวงพ่อเป็นสามเณรได้ธุดงค์ไปกับพระอาจารย์ คือ พระปลัดอ่อนตา เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ไปที่ประเทศพม่า แล้วเข้าสู่ประเทศอินเดียต่อเมื่อถึงอินเดียแล้ว อาจารย์ของท่าน ได้ฝากท่านไว้ กับพระภิกษุที่คุ้นเคยกัน ส่วนอาจารย์ของท่าน ได้ธุดงค์ต่อไปเมืองลังกา

หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ ได้พักคอยอาจารย์ของท่านที่อินเดียนานประมาณ ๔ เดือน อาจารย์จึงได้มาและพาท่านกลับประเทศในเส้นทางเดิม ต่อเมื่อกลับถึงวัดแล้ว ไม่นานท่านก็อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ท่านหลวงปู่มีอายุ ประมาณ ๒๐ ปี โดยในการอุปสมบทนั้น ท่านพระปลัดอ่อนตา ได้พาหลวงปู่ไปบวชกับอาจารย์ของ พระปลัดอ่อนตา อีกชั้นหนึ่ง นั้นก็ คือ สมเด็จลุน หรือ สำเร็จลุน พระอริยสงฆ์แห่งเมืองจำปาสัก ประเทศลาว โดยมีท่านพระปลัดอ่อนตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ขณะที่ท่านอุปสมบท คงจะเป็น ปี พ.ศ.๒๔๓๘ และได้รับนามฉายาว่า “สุวโจ” แปลว่า “ผู้ว่ากล่าวสอนได้โดยง่าย

อนึ่ง ผู้ให้ข้อมูลได้สอบถามจาก ท่านหลวงปู่สวน อิสิญาโณ เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองซองแมวซึ่งเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดของหลวงปู่อีกรูปหนึ่ง ท่านก็เล่าว่า สำเร็จลุน เป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่เฒ่า (หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ) จริง

หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ เป็นพระภิกษุที่ชาวบ้านทุ่งนางโอก ชาวบ้านผือฮี และ ประชาชนในเขตอำเภอเมือง อำเภอทรายมูล ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เหตุเพราะท่านหลวงปู่เป็นพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พร้อมกับเป็นพระสงฆ์ที่สงบเยือกเย็นมีเมตตาธรรมสูง จึงเป็นที่เคารพสักการะของคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ ซึ่งได้ทราบถึงเกียรติคุณของท่านหลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ ท่านดำรงอยู่ในสมณเพศตั้งแต่เป็นสามเณรจนถึงมรณภาพท่านเป็นพระสงฆ์ที่ทรง ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวก ครบทั้ง สามประการ สมดังคำว่า สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว หรือ อีกประการหนึ่งหลวงปู่เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยความบริสุทธิ์แห่งศีลอย่างยอด ยิ่ง ท่านเป็นผู้สำรวมแล้วในกาย วาจา ใจ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ในศีลาจารวัตร เป็นพหุสูตร และอยู่ ในฐานะ ควรแก่การกราบไหว้ ตามรอยแห่งองค์ สมเด็จพระบรมศาสดา ดังจะเห็นได้ในทุกวันนี้ ที่เหรียญรูปเหมือนของท่าน เป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเหรียญบล็อกหน้าน้อยของท่าน

พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ วัดทุ่งนางโอก อ.เมือง จ.ยโสธร
พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ วัดทุ่งนางโอก อ.เมือง จ.ยโสธร

◉ มรณภาพ
เมื่อ หลวงปู่พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ ได้เกิดอาพาธในวัยชรา ชาวบ้านทุ่งอีโอก จึงได้ไปกราบอาราธนานิมนต์ท่าน จากวัดบ้านผือฮี มาอยู่ที่วัดบ้านทุ่งอีโอก โดยเอารถไปรับท่านมาและมีเหตุอัศจรรย์ในวันไปรับนั้น โดยเป็นการบอกเล่าของ พ่อใหญ่ทองหล่อ บุญศรี พ่อใหญ่มี ไชยรักษ์ และ พ่อใหญ่เสริม ไชยรักษ์ ให้ฟังว่า ครั้นพอรถมาถึง ท่านหลวงปู่ก็ได้ขึ้นไปนั่งเรียบร้อยแล้ว พอจะออกเดินทางรถคันนั้นกับไม่สามารถสตาร์ทติดได้ จึงได้ไปเก็บดอกไม้มานิมนต์หลวงปู่ท่าน อีกครั้งหนึ่ง รถจึงสตาร์ทติด ครั้นพอหลวงปู่อุปัชฌาย์น้อย สุวโจ มาอยู่ที่วัดบ้านทุ่งอีโอก แล้ว โดยเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านทุ่งอีโอกทุกครัวเรือน และในวันที่หลวงปู่มรณภาพนั้น ได้มีเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างเกิดขึ้น ท่านหลวงปู่มาอยู่ที่วัดบ้านทุ่งอีโอก ประมาณ ๑ อาทิตย์ ท่านก็ได้มรณภาพลง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ณ กุฎิหลังเก่า (อยู่ตรงด้านหน้าห้องสมุดในปัจจุบัน) นับเป็นการสูญเสีย พระอริยสงฆ์ ผู้สุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ดำเนินตามรอยพระบาทขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างแท้จริง รวมสิริอายุได้ ๘๗ ปี พรรษา ๖๔

◉ ยันต์หลังเหรียญรุ่นแรก พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ
เหรียญนี้คนมักนำไปอ้างว่าปลุกเสกโดยหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ซึ่งจริงๆแล้วไม่เป็นความจริงเลยท่านไม่ได้เคยพบและรู้จักหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เลยเป็นการสร้างข้อมูลเท็จเพื่อจะขายได้ง่ายได้ราคาดีขึ้นเท่านั้น มูลเหตุที่ใช้ยันต์เดียวกับหลวงพ่อแดง นั้น ที่พอรับฟังได้มี ๒ สาเหตุ

เหรียญรุ่นแรก พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ
เหรียญรุ่นแรก พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ
เหรียญรุ่นแรก พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ
เหรียญรุ่นแรก พระอุปัชฌาย์น้อย สุวโจ

๑. ข่าวด้านหนึ่งบอกว่าลูกศิษย์ท่านที่สร้างจำพรรษาอยู่วัดหนึ่งในกรุงเทพ พอดีมีงานพุทธาภิเษกและหลวงพ่อแดงท่านได้มาร่วมงานด้วย ซึ่งช่วงนั้นหลวงพ่อแดงกำลังดังมาก ลูกศิษย์ท่านองค์นั้นเลยขออนุญาตหลวงพ่อแดงขอใช้ยันต์หลวงพ่อแดงไว้หลังเหรียญ ซึ่งหลวงพ่อแดงท่านก็อนุญาต

๒. อีกข่าวว่าทางวัดได้ว่าจ้างโรงงานที่ทำเหรียญหลวงพ่อแดงทำเหรียญแต่ไม่มีรูปแบบ พอดีไปเห็นรูปเหรียญหลวงพ่อแดงที่ทางโรงงานเขาได้ ใส่กรอบโชว์ไว้ จึงให้ทำตามแบบเหรียญหลวงพ่อแดง โดยใช้ยันต์ตามแบบเหรียญหลวงพ่อแดงทั้งหมดไว้ด้านหลัง

****ตามข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด กล่าวคือเพราะผู้เล่าเป็นเหลนของท่าน

ยันต์ หลังเหรียญใช้ยันต์ของหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐตรงกลาง เป็นยันต์ครู เป็นตัว นะครอบจักรวาล มีอักขระล้อมรอบอ่านได้ว่า เม อะ มะ อุ
อักขระใต้หูเหรียญ
เม อะ มะ อุ เป็นหัวใจปาติโมกข์ ย่อมาจากปาราชิก๔
เม ย่อมาจาก เมถุนัง (เสพเมถุน)
อะ ย่อมาจาก อทินนา (ลักทรัพย์)
มะ ย่อมาจาก มนุสสะวิคคะหัง (ฆ่าคน)
อุ ย่อมาจาก อุตตะริมนุสสะธัมมัง (อุตริมนุสธรรมคือ อวดมีธรรมวิเศษ)
ปาอิอะปะ เป็นหัวใจบริสุทธิ์ เป็นเมตตา ที่มาของคาถาคือ
ปา ย่อมาจาก ปาติโมกขสังวร
อิ ย่อมาจาก อินทรียสังวร
อะ ย่อมาจาก อาชีวะปาริสุทธิ
ปะ ย่อมาจาก ปัจจะยะปัจจเวกขณะ
พุทธะสังมิ เป็นหัวใจพระไตรสรณาคมน์ ดีทางคงทน แคล้วคลาด
นะชาลีติ เป็นหัวใจพระฉิมพลี ที่พระพุทธเจ้า ทรงโปรดประทานให้ พระอานนท์ เป็นคาถาป้องกันภัยและเมตตา เรียกลาภ
เอหิมาเรหิ เป็นคาถาเฉพาะของหลวงพ่อ
นะโมพุทธายะ เป็นหัวใจพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ เป็นคาถาหลักเสริมให้คาถาและยันต์อื่นเกิดปาฏิหาริย์ เป็นอักขระวิเศษเรืองอานุภาพสูงสุด
มะ อะ อุ เป็นหัวใจพระไตรปิฎก