ประวัติและปฏิปทา
พระอาจารย์ดี ฉนฺโน
วัดภูเขาแก้ว
อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
หลวงปู่ดี ฉันโน หรือพระอาจารย์ดี ฉันโน ท่านเป็นลูกศิษย์ของพระบูรพาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
แต่เดิมหลวงปู่ดี ฉันโน ท่านเป็นคนชาวอุบลราชธานีโดยกําเนิด สมัยท่านยังเป็นฆราวาส หลวงปู่ดี เคยศึกษาศาสตร์ลึกลับเช่น เวทมนตร์คาถา คุณไสยศาสตร์ต่างๆมาก่อน ทั้งนี้ท่านก็ได้อาศัยจิตกับสติตัวเดียวนั้นเอง
ท่านเป็นฆราวาสที่ทุกคนเกรงกลัว แต่ท่านก็หาได้ทําร้ายใครให้เดือดร้อน หรือผูกเวรผูกกรรมกับผู้ใดไม่
หลวงปู่ดี ฉันโน ท่านมีความเก่งกล้าอย่างยอดเยี่ยมในเรื่อง กสิณ ๑๐ อย่าง และเป็นยอด ปรารถนาของคนในยุคนั้น
ท่านพระอาจารย์โชติ อาภัคโค ที่เป็นศิษย์องค์หนึ่งของท่าน ได้เล่าว่า หลวงปู่ดี ฉันโนองค์นี้ ถ้าจะพูดถึงฤทธิ์อํานาจของท่านแล้ว ไม่ย่อหย่อนกว่า “สําเร็จลุน” ที่เป็นพระภิกษุ สงฆ์เมืองลาวเลย
หลวงปู่ดี ท่านเป็นพระภิกษุที่รักความสันโดษ ไม่ค่อยชอบพลุกพล่านโดยไม่จําเป็น แต่ปกติ แล้วท่านเป็นพระใจดี มีเมตตา มีความเคร่งครัดทางพระธรรมวินัย
ศีลธรรมนั้นท่านได้รักษามาเป็นปกตินิสัยเมื่อสมัยเป็นฆราวาสเช่นเดียวกัน เพราะศีลเป็น บาทแห่งองค์ภาวนา เป็นเกราะที่คุ้มครองจิตใจ และความมั่นคง ถาวรแห่งอภิญญาญาณ
ภายหลังที่หลวงปู่ดี ฉันโน บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์อุทิศตน เป็นผู้เจริญในธรรมมุ่งอรรถมุ่ง ธรรมให้พ้นจากวัฏสงสาร ถือ พระนิพพานเป็นสุดท้ายของจิต ท่านจึงเข้าดําเนินจิตสู่แนวทาง มัชฌิมาปฏิปทาเป็นทางสายกลาง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ ด้วยการเข้าถวายตัวเป็นศิษย์ ของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในกาลนั้น ท่านได้รับแนะนําแนวทางธรรม มากมาย
จิตใจของท่านที่เคยฝึกฝนอบรมมาดีแล้ว ครั้นได้มาดําเนินวิปัสสนากรรมฐาน ก็ดูเป็นสิ่งที่ไม่ยุ่งยากอันใดสําหรับท่านเลย ยิ่งเพิ่มความแก่กล้าแห่งจิตยกภูมิธรรมได้สูงขึ้นๆ ตลอดเวลา รอบ หลวงปู่ดีท่านจะพูดสอน เสมอๆ ว่า “การภาวนาธรรมมี สติกับจิตนี้แหละ คือ พุท-โธที่แท้จริง
ท่านแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าไม่มีสติ จิตใจก็ไม่อยู่ที่จะเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ได้ จะกลายเป็นความโง่เซ่อไปเท่านั้น ขอรักษาสติกับจิตจงดี ๆ จะเกิด ภูมิปัญญาธรรมขึ้นเอง”
หลวงปู่ดี ฉันโน เป็นพระสงฆ์ผู้อาวุโสองค์หนึ่ง และมีอํานาจจิตสูงทีเดียว
คนภาคอีสานสมัยก่อนโน้น เขานับถือผีกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ผีปู่ตา ผีไท้ ผีแถน ผีฟ้า พระสงฆ์ องค์เจ้าไม่ค่อยมีใครนับถือ เป็นความงมงายอย่างไม่มีใครยั้งหยุดฉุดถอนได้เลยในสมัยก่อนนั้น
ครั้นต่อมา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ดี ทั้งสามท่านนี้ มีความคิดเห็นตรงกันว่า ขืนปล่อยให้ชาวบ้านที่นับถือผี โดยไม่รู้ความจริง ชาวบ้านจะไปเกิดเป็นบริวารผีหมด ถ้าตายลงไป
ฉะนั้นจําเป็นจะต้องเอาชาวบ้านให้ออกจากการนับถือผีเหล่านั้นเสีย ให้หันมานับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือศีล ๕ ศีล ๘ จะได้กุศลผลบุญ ให้ถูกต้องร่องรอยทางพระธรรม และยังจะมีความสุขความเจริญเมื่อตายไปแล้ว ยังได้ไปเกิดในแดนสุคติ
กองทัพธรรม ได้ออกปฏิบัติ การเผยแพร่ธรรมในครั้งนั้น นับเป็นการบุกเบิกพระพุทธศาสนา อันสําคัญยิ่ง
หลวงปู่ดี ฉันโน ได้รับอาสาที่จะออกเผยแพร่ธรรมในเขต อําเภอพิบูลมังสาหาร ท่านได้ไปแสดงธรรมะโปรดชาวบ้านแนะนําให้รักษาศีล ยึดหลักธรรมความดีงามให้หันมาถือพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง
ในคราวนี้ หลวงปู่ดี ฉันโน ได้นําวิชาความรู้เก่า ๆ ออกมาใช้อย่างเต็มที่ กสิณ ๑๐ อย่างนั้น ท่านใช้อย่างสมค่าแก่การศึกษามา การกระทําของหลวงปู่ดี คือ รื้อศาลผีปู่ตาออกทิ้งเสีย ศาลผี แห่งใดที่ว่าดุร้ายเอาเรื่อง ท่านจะไปพูดบอกให้ผีปู่ตาไปเกิดเสียจนหมดสิ้น แล้วท่านก็เพ่งกสิณไฟทําให้ไฟไหม้ศาลปู่ตาจนราบเรียบ
การแนะนําสิ่งดีงามนี้ มันก็เป็นของยาก มันเป็นอุปสรรคเหมือนกัน เช่น วันที่ท่านเดินทางออกไปเผยแพร่ธรรมเป็นที่ไม่พอใจของผู้ใหญ่บ้านนักเลงคนหนึ่ง จึงจ้างชาวบ้านให้เอาค้อนเหล็ก มาดักตีหัวหลวงปู่ดี ฉันโน โดยกําชับว่าต้องตีให้ตาย
ค่ําวันนั้น หลวงปู่ดี ก็ออกมาเดินจงกรมอยู่ในป่า ทํากําหนดสติเฉยอยู่ ผู้ร้ายที่เป็นมือเพชฌฆาตแอบย่องมา ตรงเข้าไปด้านหลังของท่าน เมื่อได้จังหวะคนบาปหนาก็ยกค้อนเงื้อง่าตั้งใจว่าตีทีเดียวให้ตายแล้วยังได้เงินอีกด้วย
ความอัศจรรย์ก็เกิดขึ้น เมื่อยกค้อนขึ้นไปบนอากาศ แล้วก็ไม่สามารถตีลงได้ให้สมใจ เหมือนดังมีมือที่แข็งแรงจับค้างไว้กลางอากาศฉันนั้น
หลวงปู่ดี ท่านก็เดินจงกรมกลับไปกลับมา ทําเป็นไม่รู้ไม่เห็น จนตลอดรุ่ง พอสว่างแล้ว หลวงปู่ดีจึงทําเป็นว่าเห็นแล้วพูดขึ้นว่า
“อ้าว…โยมมายืนถือค้อนอยู่ทําไมกลับ บ้านเสียสิ ”
เท่านั้นเองชายผู้นั้น จึงสามารถเอามือที่ยกไว้ทั้งคืนลงได้ โยนอาวุธทิ้ง ร้องไห้ก้มลงกราบขอขมากรรม และรับสารภาพว่าได้รับจ้างเขามาเพื่อฆ่าหลวงปู่ให้ตาย
หลวงปู่ดี ฉันโน ก็มิได้โกรธเคืองอันใดเพราะไม่ใช่เรื่องของพระ ท่านอโหสิกรรมให้แล้วอบรมสั่งสอนให้บุคคลผู้นั้นประพฤติตนเป็นคนดีต่อไป
การทรมานกิเลสภายในจิตใจคนนั้น บางครั้งก็ต้องให้หนัก บางครั้งก็เบา กิเลสก็จะยอมแพ้และเป็นไปตามส่วนมากส่วนน้อย แต่ถ้าขึ้นชื่อว่ากิเลสแล้ว ผู้ที่รู้แจ้ง ความเป็นมาของมัน จะเข้าสับนั่น จนย่อยยับไม่ยั้งมือเลยทีเดียว
กิเลสก็เช่นกัน ไม่ว่ามนุษย์ สัตว์ พระสงฆ์องค์เณร มันก็ไม่เคยละเว้น ได้โอกาสมันจะขึ้นคร่อม ขี่คอสับโขกทันทีเหมือนกัน ดังนั้นพระอริยเจ้าทั้งหลาย จึงไม่มีความปรานีต่อกิเลสเลย กิเลสจึงกลัว และแกล้งผู้บําเพ็ญธรรมความดีงามทุกแห่งหน ไม่ว่าในบ้านในเมือง แม้แต่ในป่า มันก็ยังตาม ไปผจญจนถึงที่
หลวงปู่ดี ฉันโน พระอริยเจ้าแห่งดินแดนอีสาน ท่านได้ชําระสะสางความดีงาม ความหมดจด ในชีวิตของท่านและเสร็จกิจใน ทางพระบวรพุทธศาสนาแล้วโดย สิ้นเชิง
บัดนี้ท่านได้ทิ้งความดีงามให้ชาวจังหวัดอุบลราชธานี และชาวอําเภอพิบูลมังสาหารได้กล่าว ถึงทุกค่ำเช้าว่า “หลวงปู่ดีได้จุดโคมทองแห่งจิตใจรู้บุญรู้บาปก็เพราะท่านแท้ ๆ”
หลวงปู่ดี ฉันโน ท่านมรณภาพลงในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๒ เมื่อเวลา ๐๕.๓๐ น. ในอิริยาบถท่านั่งอิงหมอนใหญ่ คล้ายกับนั่งเอนกายพักผ่อนตามปกติ สิริรวมอายุได้ ๖๖ ปี ๘ เดือน ๑๒ วัน พรรษา ๓๑