ประวัติและปฏิปทา
พระอริยคุณคุณาธารย์ (เส็ง ปุสโส)
วัดเขาสวนกวาง
อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น
พระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส) ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ผู้มีอัจฉริยะองค์หนึ่ง ความเป็นผู้มีสติปัญญาอันล้ําลึก ท่านได้บรรจงแต่งหนังสือไว้เล่มหนึ่ง ด้วยคําที่มี โวหารถูกต้องตามหลักภาษา อีกทั้งยังไพเราะสละสลวย
หนังสือเล่มนี้คือ “ทิพยอํานาจ” เป็นหนังสือตําราอันมีคุณวิเศษ ล้ําเลิศที่จะหาใครทําได้เช่น ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส)
พระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส) นามเดิมท่านชื่อ เร็ง โนนโม้ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นนามสกุลไชยสาร) เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ในเขตบ้านดอนยาง (หลังวัดศรีจันทร์ในปัจจุบัน) บึงทุ่งสร้าง อ.เมือง จ.ขอนแก่น บิดาชื่อ นายเคน และ มารดาชื่อ นางโพธิ์ศรี โนนโม้ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ในจํานวน ๘ คน ครอบครัวมีอาชีพทํานาทําไร่
พออายุได้ ๑๔ ปี ท่านก็รบเร้าบิดาขอบรรพชาเป็นสามเณร บิดาจึงพามาฝากบวชสามเณรที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร และได้อยู่จําพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาสระยะหนึ่ง เพื่อศึกษาเล่าเรียน
ต่อมาได้เดินทางมาอยู่ศึกษาที่วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) กรุงเทพฯ ศึกษาพระธรรมวินัยจนได้ เปรียญตรี
อายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์ คือ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) แห่งวัดบรมนิวาส ให้ อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) กรุงเทพฯ
โดยมีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) เป็น พระอุปัชฌาย์ ท่านเจ้าคุณพระมหารัชมังคลาจารย์ (เทศ นิกสักโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปุสฺโส ภิกขุ”
ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส) ท่านมีจิตใจที่พรั่งพร้อมด้วยสติปัญญา กล่าวคือ ท่านพร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียน พร้อมที่จะเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม พร้อมที่จะประพฤติปฏิบัติ ภาวนาธรรมอยู่เสมอ
ทั้งนี้ท่านได้รับเมตตาธรรม จากพระอาจารย์ใหญ่ดังต่อไปนี้คือ
๑. ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)
๔. ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู)
ความเป็นผู้มีสติปัญญา มุ่งมั่นแนวทางแห่งความดีงาม ท่านได้ออกเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ กับพระบุพพาจารย์ดังกล่าว เพื่อขอเรียนพระกรรมฐาน อันเป็น อุดมมงคลตามหลักของพระพุทธศาสนาให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น
และการปฏิบัติของท่าน ก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว แม้จะเป็นการเจริญภาวนาในช่วงออกพรรษาเท่านั้น ท่านปรารภอยู่เสมอว่า
“หลักธรรมที่จะต้องเรียนรู้ และให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งมีอยู่ ๓ ประการ คือ ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ”
ท่านจึงต้องรีบขวนขวาย หาทางดําเนินให้ถูกวิธีการ
อย่างไรก็ตาม พระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส) ท่านมีความรอบรู้ ทั้งทางด้านปริยัติธรรม การปกครอง การประพฤติปฏิบัติชอบ เช่น อาศัยป่าเขาลําเนาไพร มีความ ตั้งใจมุ่งทําความเพียรอยู่นั้น ท่านสามารถประกอบกิจการงานของท่านได้อย่างไม่บกพร่อง ซึ่งหน้าที่การงานของท่านมีดังนี้ การ
๑. เจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยเจ้าคณะภาค ๔ (ธรรมยุต)
๒. เจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
๓. รั้งเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธรรมยุต)
๔. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ
สุดท้ายท่านเจ้าคุณ พระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส) ได้ทําหนังสือขอลาออกทุกตําแหน่ง มุ่งปฏิบัติธรรมเพียง อย่างเดียว บุกป่าฝ่าดงมาอยู่เขาสวนกวาง นับเป็นความเด็ดเดี่ยว กล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง
เพราะการปฏิบัติธรรมของท่านรู้แจ้งด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือไม่ให้จิตใจ ฟังเฟ้อ เห่อเหิมไปตามกิเลส ท่านจึงเลือกเอาทางปฏิบัติ
ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส) ท่านได้เล่าความเป็นมาในประวัติของท่านดังนี้ว่า
“ท่านอยู่จําพรรษาที่วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) ยามเช้าวันหนึ่ง ท่านออกบิณฑบาต แต่ก่อนออกบิณฑบาต ท่านได้นั่งสมาธิภาวนา ครั้นออกจากสมาธิแล้ว จิตของท่านก็ยังทรงอยู่กับองค์ภาวนา กําหนดรู้ไปหมด
ครั้นเดินไปถึงศาลเจ้าจีน ท่านก็กําหนดรู้ว่า
“เจ้าแม่ที่ประดิษฐานอยู่ภายในศาลเจ้านั้น ปรากฎร่างขึ้น เป็นสตรีเพศรูปร่างสวยงาม ได้ออกปากนิมนต์ให้ท่านรับบาตร”
ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส) จึงหยุดรับบาตรจากเจ้าแม่ตนนั้น พร้อมกับได้กล่าวอนุโมทนา ให้พรเป็นภาษาบาลี
เมื่อจบคําอนุโมทนา เจ้าแม่ตนนั้น ก็ได้แสดงปาฏิหาริย์หายตัวไปโดยฉับพลัน เป็นการหายตัว ไปโดยเฉพาะหน้า เพราะการมาของเจ้าแม่เป็นในรูปร่างแบบมนุษย์ทั่ว ๆ ไปนี้เอง !
ท่านเจ้าคุณ พระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส) หรือ ท่านฤาษีสันตจิต ท่านได้ศึกษามีภูมิธรรมตั้งแต่สมัยท่าน ยังจําพรรษายังวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
และการปฏิบัติธรรมนั้น ท่าน ก็ได้อาศัยหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา คือความพ้นทุกข์นั้นเอง
ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร ท่านได้แต่งหนังสือทางการปฏิบัติธรรมอยู่หลายเล่ม แต่ที่ได้รับความ นิยมมากที่สุดคือ หนังสือ “ทิพยอํานาจ”
นับว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ผู้มีสติปัญญาธรรมมากองค์หนึ่ง ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ก็เป็นที่ยอมรับ ของหมู่นักปฏิบัติทั้งหลายอีกด้วย
การที่จะเขียนหนังสือ ทิพยอํานาจ ได้นั้น ผู้เขียนจะต้องอาศัยญาณ เป็นเครื่องรู้เห็นด้วย จึงจะเป็นงานเขียนที่มีความสอดคล้อง ตามความเป็นจริง
ฉะนั้น สรุปได้ว่า ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร ท่านย่อมมีญาณรู้เห็นได้แจ่มใสอยู่มากองค์หนึ่ง และในการบําเพ็ญธรรม ท่านย่อมได้รับผลแห่งการปฏิบัติ นั้นแล้วทั้งสิ้น
บั้นปลายชีวิต ถึงแม้ท่านเจ้าคุณ พระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส) จําต้องลาสิกขา ด้วยโรคาพยาธิ มาแล้วก็ตาม แต่ธรรมปฏิบัตินั้นใช่ว่าจะเสื่อมสลายไปด้วยการสึกออกมาเพียงกาย ส่วนจิตใจนั้นไม่สึกด้วย เช่นเดียวกับจิตใจ แม้กายนี้สังขารนี้จะตายเน่าเปื่อยลงไปแล้วก็ตาม แต่จิตใจหาได้ตายไม่ฉันใด
พระอริยคุณาธาร (พระมหาเส็ง ปุสฺโส) หรือ ท่านฤาษีสันตจิต ก็เป็นเช่นนั้น คุณงามความดีของท่าน ที่ได้กระทํา ไว้แก่ “พระศาสนา” ย่อมจารึกติดฝั่งแห่งการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ชั่วนิจนิรันดร์