วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

ประวัติและปฏิปทา
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

‘เราจะปฏิบัติตนเพื่อวิปัสสนาธุระตลอดไป จนกว่าชีวิตจะหาไม่’ 

ชาติภูมิ 

พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ชาลี ธมฺมธโร) ซึ่งบรรดาศิษยานุศิษย์ที่เคารพศรัทธานิยม เรียกนาม ท่านว่า “ท่านพ่อลี

นามเดิม ชาลี นามสกุล นารีวงศ์

เกิดวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ตรงกับวันพฤหัสบดี  แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย ที่บ้านหนองสองห้อง ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

บิดาชื่อ นายปาว มารดาชื่อ นางพ่วย นารีวงศ์ เป็นบุตรคนที่ ๘ ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดา ๙ คน 

การศึกษา บรรพชาและอุปสมบท 

ท่านพ่อลี ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ในระหว่างเรียนมารดาได้ถึงแก่กรรม ขณะอายุได้ ๑๑ ปี และเรียนอยู่จนอายุได้ ๑๗ ปี จึงได้ออกจากโรงเรียน ส่วนจบการศึกษาชั้นใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ก็มีความรู้อ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี 

พ.ศ. ๒๔๖๘ อายุครบ ๒๐ ปี บิดาเห็นว่าเป็นผู้มีศรัทธาสนใจในการบวชเรียน จึงได้ให้อุปสมบท เมื่อ วันอังคารขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู ที่วัดบ้านหนองสองห้อง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระคู่สวด 

เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านพ่อลี ได้ตั้งปณิธานอันแน่วแน่ที่จะอุทิศชีวิตให้แก่พระศาสนา พร้อมได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “เวลานี้ข้าพเจ้ายังมุ่งดี หวังดีต่อพระศาสนาอยู่ ในการต่อไปนี้ขอให้ข้าพเจ้าพบกับครูอาจารย์ที่ ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ภายใน ๓ เดือน เถิด” หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้พบกับพระอาจารย์บท ลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งเดินธุดงค์มาและได้รับกิจนิมนต์มาเทศนาสั่งสอนอบรมศีลธรรมชาวบ้าน ที่บ้านโนนรังใหญ่ ตำบลยางโยภาพ เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงได้มอบตัวเป็นศิษย์ พร้อมทั้งเดินทางติดตามพระอาจารย์บท ไปพบพระอาจารย์มั่น ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดบูรพา เมืองอุบลราชธานี ได้นมัสการถึงความประสงค์ต่อพระอาจารย์มั่น  ซึ่งท่านก็ได้ช่วยแนะนำสงเคราะห์สอนให้ภาวนาคำว่า “พุทโธ” เพียงคำเดียวไปก่อน แต่เนื่องจากพระอาจารย์ มั่นกำลังอาพาธอยู่ จึงได้แนะน่าให้ไปพบพระอาจารย์ สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล ซึ่งท่านทั้งสองเป็นพี่น้องกัน ที่วัดท่าวังหิน ขณะนั้นยังเป็นวัดป่าริมล่าน้ำมูลน้อย เมืองอุบลราชธานี และที่วัดนี้ท่านพ่อลีก็ ได้พบกับพระสหธรรมิกอีก ๒ องค์ คือ พระอาจารย์กงมา และ พระอาจารย์สาม ซึ่งต่อพระอาจารย์ทั้ง ๒ ก็เป็น พระวิปัสสนาจารย์ ที่สำคัญและมีชื่อเสียงเช่นเดียวกัน 

ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน 

เมื่อพระอาจารย์มั่น หายอาพาธแล้ว ท่านพ่อลีจึงได้ติดตามฟังโอวาทถึงข้อวัตรปฏิบัติ และปฏิบัติกัมมัฏฐานตามสถานที่ต่างๆ เวลานานกว่า ๔ เดือน พระอาจารย์มั่น จึงพาไปสวดญัตติใหม่เป็น “ธรรมยุต” ที่วัดบูรพา เมืองอุบลราชธานี โดยมีพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) วัดสระปทุม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระ อาจารย์มั่น เป็นผู้ให้สรณคมน์ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ 

พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปุญฺโญ)
พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปุญฺโญ)

ท่านพ่อลี ได้ยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น เป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามที่ ตนได้ตั้งใจไว้แต่ต้น คือบวชอุทิศตนเพื่อปฏิบัติธรรมตามหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อความหลุดพ้นหวังมรรค ผลนิพพานในที่สุด โดยเริ่มต้นจากการถือธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด ที่วัดท่าวังหิน กับพระอาจารย์สิงห์ รู้สึกว่า การทำสมาธิได้ก้าวหน้ามากพอสมควร คล้ายกับว่ามีการบำเพ็ญบารมีมาก่อน จึงท่าให้จิตใจมั่นคงแน่วแน่ในการปฏิบัติขั้นสูงต่อไป 

ต่อมาท่านพ่อลีได้โอกาสกลับไปเยี่ยมโยมบิดาที่บ้านหนองสองห้อง เทศนาอบรมสั่งสอนโยมบิดา และชาวบ้านให้มีความเชื่อในพระรัตนตรัย ไม่หลงงมงายอยู่กับความเชื่อดั้งเดิม คือการนับถือ เจ้าป่าเจ้าเขา ภูตผี  ปีศาจต่าง ๆ ให้หันมายึดมั่นในศีลธรรม หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ทำให้ญาติโยมเกิดศรัทธาเลื่อมใส  หันมายึดมั่นในสัมมนาปฏิบัติกันทุกคน 

พ.ศ. ๒๔๗๔ เมื่ออบรมสั่งสอนญาติโยมบ้านหนองสองห้องและบ้านใกล้เคียงให้ยึดมั่นในสัมมนา ปฏิบัติพอสมควรแล้ว จึงได้เดินทางไป กรุงเทพฯ เพื่อไปเยี่ยมคารวะและท่าอุปัชฌาย์ 

วัตร พระอุปัชฌาย์คือ พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) วัดสระปทุม กรุงเทพฯ ในระหว่างจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ก็ได้ท่าสมาธิภาวนาเจริญกัมมัฏฐานตามแนวทางของพระอาจารย์มั่นควบคู่กันไปด้วย แต่รู้สึกว่าไม่ได้ผลเท่าที่ควร จิตใจไม่เป็นสมาธิ ฟุ้งซ่าน มีเหตุการณ์แปลกๆ เกิดขึ้นในสภาวะจิต วุ่นวายในจิตใจ และมีแนวโน้มว่าจะหันเหไปทางโลกิยวิสัย (ทางโลก) ความคิดอยู่บนทางสองแพร่ง คือจะอยู่ในเพศบรรพชิต ปฏิบัติสัจธรรมเพื่อความหลุดพ้นดี หรือจะลาสิกขาบทไปสู่เพศคฤหัสถ์ดี ถ้าไปสู่ชีวิต ของชาวบ้านทั่วไป แล้วจะด่าเนินชีวิตอย่างไร จึงเกิดจินตนาการสมมติเป็นเรื่องราวขึ้น โดยสรุป ดังนี้ 

คืนวันหนึ่งขณะท่านพ่อลีนั่งสมาธิภาวนาอยู่ที่โพรงเจดีย์ วัดสระปทุม จิตใจไม่เป็นสมาธิจึงคิดโน้มเอียง ไปสู่เพศคฤหัสถ์จินตนาการว่า เมื่อลาสิกขาบทเป็นชาวบ้านทั่วไปแล้ว สิ่งแรกที่จะต้องทำคือหางานทำเพื่อมีรายได้เลี้ยงชีพงานจะต้องเป็นงานที่อยู่ในกรุงเทพฯ (พระนคร) เพราะมีความเจริญสะดวกสบายกว่าบ้านนอกอัน เป็นบ้านเกิด ส่วนงานที่ทำคิดว่าจะไปเป็นเสมียนพนักงานที่ห้องเพ็ญภาคขายยานัตถุ์และยาธาตุตามเพื่อนคนหนึ่งซึ่งลาสิกขาบทไปทำงานอยู่ก่อนแล้ว มีรายได้พอเลี้ยงชีพได้ จากนั้นก็จะมีครอบครัว โดยคู่ครองต้องเป็น หญิงสาวสวย ลูกเจ้านายร่ำรวยมีคุณสมบัติครบ ๓ ประการ คือ มีสกุล รูปสวย และรวยทรัพย์ โดยหาได้จาก นักเรียนโรงเรียนวังหลังหรือโรงเรียนแหม่มโคล เนื่องจากเป็นคนยากจน วิธีที่จะประสบผลสำเร็จได้หญิงสาวมาเป็นคู่ครอง จึงต้องใช้วิธี “รักกันหนาพากันหนี” แล้วไปเช่าห้องแถวอยู่ ภรรยาก็ทำงานช่วยกันหารายได้  ต่อมามีลูก ๑ คน แต่โชคร้ายภรรยาเสียชีวิตลง ได้แม่นมเป็นผู้เลี้ยงดูลูก ต่อมาภายหลังเห็นอกเห็นใจกันจึงได้แม่นมเป็นภรรยาคนต่อมา และมีลูกอีก ๑ คน ชีวิตไม่ราบรื่นเพราะรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ลูกทั้ง ๒ ก็ไม่ลงรอย ทะเลาะวิวาทกันเสมอ ภรรยาก็หาเรื่องว่าพ่อไม่ให้ความยุติธรรมแก่ลูก วุ่นวายสับสนไปหมด การมีครอบครัว แทนที่จะมี “ความสุข” ดังที่คาดหวังไว้ กลับมีแต่ “ความทุกข์” จึงได้หย่าขาดจากกันแล้วหันหน้าเข้าวัดเพื่อ แสวงหาโมกขธรรมต่อไป เมื่อถึงจุดนี้สติก็กลับมาแน่วแน่ในสมาธิภาวนาอีกครั้งหนึ่ง 

ต่อมาท่านพ่อลี ได้อธิษฐานจิตขอให้พระอาจารย์มั่นได้เดินทางมาโปรดอีกสักครั้ง ซึ่งประจวบเหมาะ กับพระอาจารย์มั่นได้เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบรมนิวาส จึงได้มีโอกาสได้ฟังโอวาทและปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่นอย่างใกล้ชิด เมื่อออกพรรษาแล้ว จึงได้ติดตามพระอาจารย์มั่นธุดงค์ไปจังหวัดเชียงใหม่ พำนักอยู่ที่ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ปฏิบัติรับใช้และปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่นตลอดพรรษา ต่อมาเมื่ออาจารย์มั่นได้จากวัดเจดีย์หลวงไป เพราะปฏิเสธการเป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้ ท่านพ่อลีจึงได้ธุดงค์ไปยังอำเภอดอยสะเก็ด และจังหวัดใกล้เคียงเป็นเวลานานพอสมควร ต่อมาเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมา เพื่อปฏิบัติธรรม ร่วมกับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรมและได้เดินทางไปจัดการศพแล้วจึงได้ลาพระอาจารย์สิงห์ ธุดงค์ไปยังประเทศเขมร พำนักอยู่ได้ประมาณ ๑ เดือน ก็สามารถแสดงธรรมเป็นภาษาเขมรได้ 

หน้าที่การงานและการเผยแผ่ธรรม 

พ.ศ. ๒๔๗๗ เดินธุดงค์กลับจากประเทศเขมร ผ่านมาทางจังหวัดปราจีนบุรี ตราด ระยอง และจังหวัดจันทบุรี ขณะที่พำนักจ่าพรรษาอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี นานถึง ๑๔ ปี ท่านพ่อลี ยังได้จัดตั้งส่านักปฏิบัติธรรมขึ้นถึง ๑๑ แห่ง เพื่อให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ได้บำเพ็ญกุศลบารมีปฏิบัติธรรม จนเจริญรุ่งเรือง กลายเป็นวัดจนถึงปัจจุบัน คือ 

๑. วัดป่าคลองกุ้ง อำเภอเมืองจันทบุรี 

๒. วัดทรายงาม บ้านหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี 

๓. วัดเขาแก้ว อำเภอเมืองจันทบุรี 

๔. วัดเขาน้อย บ้านท่าแฉลบ อำเภอแหลมสิงห์ 

๕. วัดยางระหง อำเภอท่าใหม่ 

๖. วัดเขาน้อย อำเภอแหลมสิงห์ 

๗. วัดเขาจำฮั่น อำเภอท่าใหม่ 

๘. วัดแหลมยาง อำเภอแหลมสิงห์

๙. วัดใหม่ดำรงธรรม อำเภอขลุง 

๑๐. วัดอีมั่ง อำเภอขลุง 

๑๑. สำนักสงฆ์สามแยก น้ำตกเขาสระบาป อำเภอขลุง 

พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านได้เดินทางไปประเทศอินเดียอีกครั้งหนึ่งโดยผ่านประเทศพม่า จำพรรษาอยู่ที่เมืองสารนารท เมืองพาราณสี ได้เห็นพระเจดีย์และพระสถูปที่พระเจ้าอโศกมหาราช สร้างไว้ทรุดโทรม หักพังลง จึงมีดำริที่จะสร้างพระเจดีย์เพื่อทดแทนไว้ในประเทศไทยแห่งหนึ่งแล้วเดินทางกลับประเทศไทย ได้อบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนใน สถานที่ต่าง ๆ หลายจังหวัด ต่อมาท่านได้รับความเมตตาจาก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ให้ไปจำพรรษา และสอนกรรมฐานวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งสมเด็จพระมหาวีรวงศ์มรณภาพ และจัดการศพเรียบร้อยแล้ว จึงได้ไปจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์แม่ขาว ซึ่งต่อมาคือ วัดอโศการาม อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 

พ.ศ. ๒๕๐๓ ภายหลังงานเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษเสร็จแล้ว ท่านพ่อลีจึงได้เริ่มสร้างพระธุตังคเจดีย์ขึ้นภายในวัดอโศการาม จำนวน ๑๓ องค์ คือ องค์ประธานองค์กลางหนึ่งองค์เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง ๓ วา สูง ๑๓ วา และองค์บริวารรอบนอก ๑๒ องค์ แต่การสร้างเจดีย์ยังไม่สำเร็จ ท่านพ่อลีก็ได้มรณภาพเสียก่อน และก่อนหน้านี้ก็ได้มี การสร้างพระพุทธรูปหมู่ไว้ เช่น หลวงพ่อสังฆจักร หลวงพ่อพุทธไสยาสน และหลวงพ่อทรงธรรมเป็นต้น รวมทั้งการสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหารสุทธิธรรมรังสี ศาลาสวดมนต์ หอระฆัง ห้องสมุดโรงเรียนปริยัติธรรม สถานพยาบาล โรงครัว ฯลฯ 

ท่านพ่อลีถือได้ว่าเป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระสายพระอาจารย์มั่นอีกรูปหนึ่ง ที่กำเนิดมาเพื่อ พระพุทธศาสนาโดยแท้ เบื้องต้นจากการได้เกิดในปฏิรูปเทศ มีสัมมาทิฐิ โน้มเอียงไปในทางบรรพชาอุปสมบท  ได้พบกัลยาณมิตรนำไปสู่การปฏิวัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเรื่อยมา เป็นผู้มีบุพเพกตปุญญตา ปฏิบัติได้รวดเร็วเป็น วิปจิตัญญู บุคคลทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนา โดยการอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชน ให้ตั้งอยู่ในสัมมนา ปฏิบัติเป็นแก่นสารอเนกประการ เป็นที่ปรากฏแพร่หลายมาตราบเท่าทุกวันนี้ 

ขอยกตัวอย่างคำสอนบางตอนของท่านพ่อลี เพื่อการศึกษาและนำไปสู่การปฏิบัติพอสังเขป ดังนี้ 

“…ปฏิเวธธรรม คือ ธรรมที่เย็นสะอาด ผ่องใส และไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อใครมากระทำในปริยัติธรรม และปฏิบัติธรรมให้จริงจังแล้ว ก็เกิดปฏิเวธรรม โดยไม่ต้องสงสัย ปฏิเวธธรรม เป็น “ปัจจัตตัง” ที่รู้ได้เฉพาะตัว 

อันใดจะเกิดขึ้นซึ่งปัญญา จงพากันแสวงหา คือ สุตมยปัญญา สดับฟังสิ่งที่ควรฟัง จินตามยปัญญา เมื่อฟังแล้วไตร่ตรองเสียก่อน อย่าเพิ่งปฏิเสธหรือเชื่อทีเดียว ภาวนามยปัญญา ได้เห็นได้ฟัง  พิสูจน์แล้วทำตาม นี้เป็นปัญญาปรมัตบารมี ได้แก่ ตัววิปัสสนาญาณ คือ รู้ว่าสิ่งใดเป็นทุกข์ ควรแก้ก็แก้ สิ่งใดไม่ควรแก้ก็ไม่แก้ คนเรานั้นโง่ สิ่งใดไม่ควรแก้ก็ไปแก้มัน มันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะความทุกข์นั้น อย่างหนึ่ง เป็นแต่ควรก าหนดรู้เฉย ๆ ไม่ควรแก้ไข เหมือนนาฬิกาเกิดสนิม ควรขัดก็ขัด ขืนไปรื้อเข้าเลย เสียเดินไม่ได้ ถ้าเรารัทันสภาพความเป็นจริงก็ต้องปล่อยไป คือ ถ้าเห็นอันใดควรแก้ก็แก้ อันใดไม่ควร แก้ก็ไม่แก้ เราก็จะสบายใจ … คนโง่นั้น ทุกข์อันใดควรแก้ไม่ควรแก้ก็ไม่รู้ จึงเป็นเหตุให้เสียเวลา เสีย ทรัพย์โดยเปล่าประโยชน์ ส่วนคนฉลาดนั้น อันใดควรแก้ก็แก้ด้วยปัญญาของตน ความทุกข์ก็จะหายไป  โรคทั้งหลายย่อมเกิดจากความไม่สมบูรณ์ หากแต่เป็นสมุฏฐานอย่างหนึ่ง อีกอยางหนึ่งเรียกกันว่ากรรม สมุฏฐาน เป็นโรคเวรกรรม ถ้าโรคใดเกิดด้วยทุกข์ ก็ต้องแก้ด้วยทิพย์โอสถ คือ ความทุกข์ที่เกิดจากทาง ใจ จะนำไปแก้ไขให้หายไม่ได้ ต้องรักษาด้วยพุทธโอสถ คือ ธรรมะควรรู้จักกำหนดรู้ในทุกข์ 

อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ รู้ทันว่าชาติ พยาธิ มรณะนี้เป็นเงาของทุกข์ ไมใช่ตัวทุกข์ที่แท้จริง คนใดไม่มีปัญญาจะไปทำลายเงาของมันให้หาย ก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ยาก ทั้งนี้ก็เพราะคนทำลายนั้นไม่รู้จักเงา และตัวทุกข์ก็เกิดจากอะไร ดวงจิตของเราต่างหากเป็นตัวทุกข์ แก่ เจ็บ ตาย นั้นคือเรา หรือ อาการของมันซึ่งแสดงว่าออกไปปรากฏทางกาย ถ้าเราต้องการฆ่าข้าศึกแล้วเอามีดไปฟังเงาข้าศึกจะ ตายได้อย่างไร ฉันใด คนโง่ทำลายก็จะทำลายเงาของทุกข์ มันก็ย่อมไม่หาย ส่วนความทุกข์ในดวงใจไม่ แก้ไข ความไม่รู้อันนี้ก็เป็นอวิชชาตัวหนึ่ง…” 

ท่านพ่อลี มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๙ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๔ มีอายุได้เพียง ๕๕ ปี นับว่าไม่เปล่าประโยชน์แม้วินาทีเดียว หากไม่รวมในส่วนของการปฏิบัติยึดมั่น ศรัทธา เคร่งครัวในสัมมนาปฏิบัติ จนมีความรอบรู้แตกฉานในวิปัสสนากัมมัฏฐาน รับภารธุระในการอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง ผลงานดีเด่นด้านศาสนาวัตถุที่ควรกล่าวถึง คือ การสร้าง วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีปูชนียสถานและปูชนียวัตถุสำคัญ คือ พระธุตังคเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในผอบ ทอง นาก เงิน บรรจุไว้ในพระเจดีย์นี้ สืบเนื่องมาจากท่านพ่อลีได้เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถานต่าง ๆ ในประเทศอินเดียและได้รวบรวมอัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้กราบสักการะตลอดไป 

สมณศักดิ์ 

พ.ศ. ๒๔๙๙ พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ที่พระครูสุทธิธรรมาจารย์

พ.ศ. ๒๕๐๐ พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์

มรณภาพ 

พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ หรือ ท่านพ่อลี ได้อุปสมบทมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ มุ่งปฏิบัติดี  ปฏิบัติชอบ ดำเนินการปฏิบัติแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตลอดมา ได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ หลังจากนั้น ได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ๖ พรรษา วัดสระปทุม ๓  พรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ๒ พรรษา นครราชสีมา ๒ พรรษา ปราจีนบุรี ๑ พรรษา จันทบุรี ๑๔ พรรษา ประเทศอินเดีย ๑ พรรษา จังหวัดสงขลา ๑ พรรษา วัดบรมนิวาส ๓ พรรษา เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)  มรณภาพจึงได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอโศการามได้ ๕ พรรษา ถึงปลายปี ๒๕๐๓ ท่านพ่อลีได้เริ่มอาพาธ จนกระทั่งได้ละสังขาร เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ณ วัดอโศการาม สิริรวมอายุได้ ๕๕ ปี พรรษา ๒๕ 

ท่านพ่อลีเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงไว้ซึ่งภูมิธรรมและภูมิปัญญา ที่ทำคุณประโยชน์ต่อ พระพุทธศาสนาและสังคมอย่างแท้จริงองค์หนึ่ง เป็นสัทธิวิหาริกใกล้ชิด พระบูรพาจารย์หลายท่านซึ่งล้วนแต่ เป็นชาวอุบลราชธานี แม้ว่าท่านพ่อลีจะไปสร้างชื่อเสียง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของบรรดาศิษยานุศิษย์อย่างมาก ในถิ่นอื่นเป็นส่วนใหญ่ แต่คนอุบลราชธานีก็ให้ความเคารพเลื่อมใสมาก จึงเชิดชูท่านเป็น “ปราชญ์” อย่างแท้จริง