ตำนาน ประวัติพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
โดย คํา จําปาแกว้มณี
พระธาตุพนม เป็นสถาปัตยกรรมลาวโบราณที่สําคัญแห่งหนึ่ง แต่ประชาชนลาวไม่มีสิทธิครอบครอง เพราะเหตุที่บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ดินแดนลาวที่เรียกว่าภาคอีสานในปัจจุบัน ตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรไทย ถึงอย่างไรก็ตามชาวลาวในพระราชอาณาจักรลาวปัจจุบัน ก็ได้มีส่วนไปร่วมในงานประเพณีไหว้พระธาตุทุกปีมิได้ขาด
พระธาตุองค์นี้ตั้งอยู่เมืองธาตุพนม จังหวัดนครพนม ใกล้ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ตรงกับปากเซบั้งไฟทางราชอาณาจักรลาว ในสมัยโบราณที่ลาวยังเป็นเจ้าของนั้น สิทธิการปฏิบัติดูแลรักษาตกอยู่กับเมืองปากเซบั้งไฟ แขวงคําม่วน แต่ปัจจุบันนี้พวกเขาได้สูญเสียสิทธิอันนั้น มาร้อยปีเศษแล้ว
เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่าเรื่องราวพระธาตุที่สําคัญในดินแดนล้านช้างโบราณ มีเค้าโครงมาจากนิทานธาตุพนม ซึ่งเรียกว่าอุรังคนิทานทั้งหมด
เพิ่งโบราณคดี (ราวศตวรรษที่ 1-13)
นิทานอุรังคธาตุกล่าวว่า พระมหากษัตริย์แห่งอินเดียได้นําเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ที่ภูกําพร้า (ที่ตั้งพระธาตุพนม) ในขณะที่ท่านเป็นหัวหน้าธรรมทูตเดินทางจากประเทศอินเดีย มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ท่านได้นําคณะเดินทางมาถึงอาณาจักรแห่งหนึ่งที่ท่าแม่น้ําโขง ตอนที่เป็นแขวง
คําม่วนสุวรรณเขต พระราชอาณาจักรลาวและแขวงนครพนม-สกลนคร พระราชอาณาจักรไทย ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า อาณาจักรศรีโคตบูรหรือศรีโคตบองตามสําเนียงลาว อาณาจักรศรีโคตบองนี้ อาจจะอยู่ในสมัยเดียวกันกับอาณาจักรฟูนันแห่งประเทศเขมร เพราะคําว่า “ฟูนัน” นั้นเป็นสําเนียงจีนออกเสียงคําว่า “พนม” ในภาษาเขมรโบราณ ซึ่งแปลว่าเมืองแห่งภูเขา และในบริเวณแขวงคําม่วน ก็มีโบราณสถานก่อนสมัยเขมรโบราณมากมาย ที่เมืองท่าแขกก็ดี ที่เมืองนครพนมก็ดี มีส่วนเกี่ยว ข้องกับอินเดียและฟูนันทั้งนั้น เมื่ออาณาจักรฟูนันตกอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึงที่ 7 อาณาจักรศรีโคตบองก็ตกอยู่ในสมัยเดียวกัน เพราะว่าได้ค้นพบศิลปะรูปเคารพ โดยเฉพาะพระพุทธรูปในศตวรรษที่ 6 ถึงที่ 7 หลายองค์ จากดินแดนสองฝั่งแม่น้ําโขง เมื่อเร็วๆนี้ก็ได้พบพระพุทธรูปศิลปะสมัยศรีโคตบองที่ท่าลาด และบริเวณปากแม่ น้ําเหือง ภายในพระราชอาณาจักรลาว
ดังนั้นพอจะกล่าวได้ว่า ในสมัยแรกเริ่มนั้นพระมหากัสสปเถระชาวอินเดีย (มิใช่พระมหากัสสปะครั้งพุทธกาล) ได้เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในอาณาจักรศรีโคตบอง ในระหว่างศตวรรษที่ 1-2 ท่านได้นําเอาพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย และชักชวนเจ้านครต่างๆให้ร่วมมือกันก่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ที่นี้เพียงชั้นเดียวก่อน
นิทานอุรังคธาตุบอกว่า พระยาจาก 5 เมือง ได้พาไพร่พลร่วมกันสร้างพระธาตุพนมนี้ขึ้น บรรจุพระธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า พระยาทั้ง 5 นั้นคือ
1. พระยานันทเสน เจ้าผู้ครองนครศรีโคตบอง (ห่างจากป่าเซบั้งไฟเข้าไป ด้านในประมาณ 15 กิโลเมตร)
2. พระยาสุวรรณพิงคาร เจ้าผู้ครองเมืองหนองหานหลวง (สกลนคร)
3. พระยาคําแดง เจ้าผู้ครองเมืองหนองหานน้อย (กุมพวาปี)
4. พระยาอินทปัตถ์ เจ้าผู้ครองเมืองอินทปัตถ์ (กัมพูชา)
5. พระยาจุลนีพรหมทัต เจ้าเมืองปะกัน (เชียงขวาง)
ครั้นถึงรัชกาลของพระเจ้าสุมินทราชาธิราช แห่งอาณาจักรศรีโคตบอง (ประมาณศตวรรษที่ 6) พระองค์ได้รับคําแนะนําจากพระเถระรูปหนึ่ง ซึ่งเดินทางมาจากอินเดียและพระเถระในประเทศของพระองค์ จึงได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์พระธาตุองค์นี้ โดยต่อเติมขึ้นอีกชั้นหนึ่ง สถาปัตยกรรมในการก่อสร้าง ถ่ายแบบมาจากศิลปกรรมอันทระยุคหลังของอินเดียใต้ คือใช้แผ่นอิฐก้อนใหญ่ๆ เรียงซ้อนกันไม่ใช้แบบเลือนส้นเข้าหากันอย่างที่ทําในสมัยล้านช้าง ประสานหรือเชื่อมต่อด้วยน้ำยาหรือซีเมนต์โบราณ ซึ่งทําจากน้ำอ้อย ยางไม้ หนังสัตว์ และดินเหนียว เมื่อติดกันสนิทดีแล้ว จึงขัดให้เกลี้ยงเกลาและราบเรียบ จึงให้ช่างแกะสลักลวดลายต่างๆ และรูปคน สัตว์ลงไป เช่น ควาย หมู ช้าง ม้า และกวางสองด้านของมุมพระธาตุมีภาพคนขี่ช้างและ ม้าสลับกันไป ทั้งด้านบนและด้านล่าง กล่าวกันว่าเป็นขบวนแห่พระยาศรีโคตบอง ส่วนด้านหลังเป็นลายกนกก้อนเมฆ ส่วนลายบนขอบประตูจางหายไป ด้านทิศใต้ ลวดลายบนขอบประตู เป็นรูปพระพุทธเจ้าปางเสด็จออกผนวช มีลวดลายประดับอยู่ สองข้างมีรูปพระพุทธเจ้าประทานบาตรแก่พระยาศรีโคตบอง มีรูปเทวดาอยู่ภายใน วงกบประกอบทั้งสองข้าง ยังมีรูปสิงห์อยู่ภายนอกอีก ประติมากรรมเหล่านี้ล้วนแต่ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา คงจะเป็นของเดิมที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าสุมินทราช
แต่ถ้าพิจารณาดูขอบประตูด้านเหนือ จะเห็นรูปพระวิษณุทรงครุฑแวดล้อม ด้วยหมู่เทวดา ซึ่งเป็นประติมากรรมทางศาสนาฮินดู เข้าใจว่าคงสร้างขึ้นตอนหลังใน สมัยที่เขมรโบราณ เข้ามามีอํานาจครอบครองพระราชอาณาจักรลาว ระหว่างศต วรรษที่ 913 พวกเขมรโบราณได้ดัดแปลงปูชนียสถานแห่งนี้ เป็นเทวสถานของฮินดู
เชิงประวัติศาสตร์ (ราวศตวรรษที่ 14-19)
เมื่อชนชาติลาวมีอํานาจครอบครองดินแดนส่วนนี้แล้ว ในสมัยต้นๆ ไม่ปรากฏว่าพระธาตุองค์นี้ มีความสําคัญอย่างใด แต่ว่าเจ้าผู้ครองนครกะบองใน ศตวรรษที่ 14 คงจะเอาใจใส่บูรณะพระธาตุองค์นี้อยู่ ที่ระบุไว้ชัดว่ามีเจ้าเมืองกะบอง มาซ่อมแซมพระธาตุนี้ ได้จากศิลาจารึกที่สร้างขึ้นในปีจุลศักราช 795 (ค.ศ. 1433) สมัยนี้พระธาตุพนมยังไม่ปรากฏเป็นที่รู้จัก พระเจ้าแผ่นดินอาณาจักรล้านช้างจึงไม่ สนพระทัย พอถึงรัชกาลของ สมเด็จพระโพธิสารราช หลังจากที่พระองค์ทรงประกาศ ยกเลิกลัทธิบูชาผีฟ้าผีแถน และได้ประกาศเอาพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจํา ราชสํานักแทน พระองค์จึงหันมาดําเนินการส่งเสริมพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ เจ้าหญิงเขมรซึ่งเป็นพระชายาของพระองค์ได้นําเอาเรื่องราวของพระธาตุพนมขึ้น ทูลถวายพระองค์จึงได้เสด็จลงไปเมืองกะบอง (ท่าแขกเก่า) มีพระบัญชาให้พระยา กะบองเป็นหัวหน้า ซ่อมแซมตกแต่งพระธาตุพนมขึ้นอีก ส่วนพระองค์เองทรงสละพระราชทรัพย์สร้างวิหารหลังหนึ่ง หลังคาประดับด้วยแก้วทั้งมวล และได้ตั้งข้ารับใช้ ของพระองค์เองผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นน้องชายของข้าสะเอ็ง ให้ดํารงตําแหน่งพันเรือนหิน มีหน้าที่ปฏิบัติดูแลรักษา และจัดหาดอกไม้ธูปเทียนบูชาเป็นประจํา พร้อมด้วยบริวาร อีก 3000 คน และได้ทรงสร้างวิหารอีกหลังหนึ่งทางด้านเหนือ ให้ชื่อว่าวัดสอนสั่ง ตั้งแต่นั้นมาพระธาตุพนมก็ลือชาปรากฏว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ควรแก่การสักการะบูชา ของประชาชนทั่วไป
พอถึงรัชกาลของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชที่ 1 (ค.ศ. 1550-1572) หลังจากสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นเมืองหลวงและสร้างพระธาตุหลวงแล้ว พระองค์ได้เสด็จลงไปนมัสการพระธาตุต่างๆ ที่เมืองกะบองและได้ไปนมัสการพระธาตุองค์นี้ด้วย
พร้อมกับรับสั่งให้ต่อเติมพระธาตุองค์นี้ ขึ้นอีกด้านหนึ่ง เป็นด้านที่ 3 แล้วพระราชทานอาณาเขตพร้อมทั้งหมู่บ้านถวายพระธาตุด้วย
หลังจากที่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคตแล้ว พระธาตุองค์นี้ก็ได้รับการอุปถัมภ์บํารุงจากเจ้านครกะบองทุกๆพระองค์ ศิลาจารึกแผ่นหนึ่งบอกว่าได้ซ่อมแซมอีกเมื่อ ค.ศ. 1614 (จ.ศ. 976) ในรัชกาลของสมเด็จพระวรวงศาธรรมิกราช คราวนั้นเจ้าผู้ครองนครกะบอง นามว่า พระบัญฑิตโพธิสารหรือเจ้ามหานาม ซึ่งในตํานานพระธาตุโฟนเรียกว่า พระยาแสนนคร ตํานานพระธาตุพนมเรียกว่า พระเจ้านครหลวงพิชิตทิศาราชธานีศรีโคตบูรหลวง เจ้านครองค์นี้ได้เปลี่ยนชื่อ เมืองท่าแขก ซึ่งในสมัยนั้นเรีกยว่า มรุกขนคร กลับคืนเป็นเมืองศรีโคตบอง หรือศรีโคตบูรดังเก่า พระองค์ได้เสด็จไปซ่อมแซมพระธาตุองค์นี้ โดยก่อกําแพงล้อมรอบ สร้างประตูโขงกั้นกลางและซุ้มพระทั้งสี่ด้าน ตามศิลาจารึกนั้นมีใจความว่า
“ศักราชได้ 976 ปีกาบยี มื้อรวง ได้ฤกษ์ 3 ตัว ซึ่งตรงกับแผ่นดินของสม เด็จพระวรวงศาธรรมิกราชเจ้าล้านช้าง”
ระหว่างรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (ค.ศ. 1633-1690) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มีความสงบสุข บ้านเมืองเริ่มรุ่งเรืองตลอดระยะเวลา 57 ปี พระ ธาตุพนมก็ได้รับการบํารุงรักษาดีอย่างเดิม เจ้าผู้ครองนครศรีโคตบองได้ทําหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณ
หลังจากพระมหากษัตริย์องค์นี้แล้ว บ้านเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย เจ้า นายมัวแต่แย่งชิงราชสมบัติกัน จนเป็นเหตุให้อาณาจักรล้านช้าง ที่กว้างใหญ่แตก แยกกัน ในระหว่างนี้ท่านพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก (พระครูขี้หอม) ได้พาญาติโยม อพยพออกจากเวียงจันทน์ ไปแสวงหาที่ปลอดภัย จึงได้อพยพถอยลงไปอาศัยอยู่ เมืองพนมเปญ ประเทศเขมร ดังปรากฏในพงศาวดารเมืองนครจําปาศักดิ์นั้นแล้ว
ในปี ค.ศ. 1808 สมเด็จพระเจ้าอนุไชยเชษฐาธิราช ได้เสด็จลงไปต่อเติมพระ ธาตุพนมขึ้นอีก พร้อมทั้งจัดงานมหกรรมเฉลิมฉลอง และอุทิศข้าทาสไว้ดูแลรักษา พระธาตุ ตามอย่างพระราชประเพณีแห่งกษัตริย์แต่ปางก่อน พระธาตุพนมในสมัย นั้นจึงสูงขึ้นถึง 43 เมตร
พอถึงสมัยที่ดินแดนฝั่งตะวันตกแม่น้ําโขง ตกเป็นของพระราชอาณาจักรไทย เมื่อ ค.ศ. 1893 ตามสัญญาฝรั่งเศสกับสยาม พระธาตุพนมก็ได้ตกเป็นสมบัติของ ไทยโดยสมบูรณ์ ทางราชการไทยได้ลงมือดัดแปลงพระธาตุพนมใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2482 ไทยรังเกียจฝีมือช่างลาว โดยเฉพาะฝีมือช่างของสมเด็จพระเจ้าอนุ จึงได้รื้อยอดพระธาตุออกหมด และสร้างขึ้นใหม่ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ยอดพระธาตุพนมจึงสูงกว่า เดิม 14 เมตร ดังนั้นพระธาตุจึงมีความสูงทั้งสิ้นถึง 57 เมตร
ลักษณะพระธาตุพนม
ลักษณะขององค์พระธาตุ เป็นรูป 4 เหลี่ยมย่อมุม ก่อด้วยอิฐ เชื่อมต่อด้วยน้ำยา มี 3 ชั้น ตกแต่งด้วยลวดลายต่างๆฐานวัดโดยรอบ 74 เมตร สูง 57 เมตร เป็นเจดีย์ถึงวิหาร
ยอดพระธาตุเดิมเป็นแบบดวงปลี ตามศิลปะของลาวแท้ ต่อมาไทยได้ต่อเติมใหม่รูปทรงจึงเปลี่ยนไปเล็กน้อย และทําลวดลายเถาดอกไม้ชูช่อประดับ