วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) วัดสุทธจินดา อ.เมือง จ.นครราชสีมา

ประวัติและปฏิปทา
พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล)

วัดสุทธจินดา วรวิหาร
อ.เมือง จ.นครราชสีมา

พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล ป.ธ.๕)

◎ ชาติภูมิ
พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) นามเดิม ญาณ นามสกุล ดาโรจน์ เกิดวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖ ตรงกับวันอังคาร แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด ที่บ้านพนา ตำบลพนา อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ) บิดาชื่อ นายอิน ดาโรจน์ มารดาชื่อ นางเผิ่ง ดาโรจน์

◎การศึกษา บรรพชาและอุปสมบท
พ.ศ.๒๔๗๓ บรรพชาที่วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี พระธรรมปาโมกข์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล พ.ศ.๒๔๗๖ อายุ ๒๑ ปี อุปสมบทที่วัดบรมนิวาส อำเภอปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยมีพระพรหมมุนี (อ้วน ติสฺโส) เจ้าอาวาส วัดบรมนิวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์พระธรรมบัณฑิต ได้รับการศึกษาเบื้องต้นในโรงเรียนประชาบาล วัดพระเหลาเทพนิมิต บ้านพนา ตำบลพนา อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี ถึงชั้นประถม ๕ (เทียบชั้นมัธยม ๒)

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
พระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร ป.ธ.๕)
วัดสุทธจินดา วรวิหาร

หลังจากบรรพชาและอุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ในสำนักวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา และสำนักวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร จนสอบไล่ได้ ดังนี้
พ.ศ.๒๔๗๑ นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ.๒๔๗๓ นักธรรมชั้นโท
พ.ศ.๒๔๗๔ เปรียญธรรม ๓ ประโยค
พ.ศ.๒๔๗๕ เปรียญธรรม ๔ ประโยค
พ.ศ.๒๔๗๗ เปรียญธรรม ๕ ประโยค

พระธรรมบัณฑิต รับภารธุระการคณะสงฆ์ (ธรรมยุต) ดังนี้
◎ ด้านการปกครองและการศึกษา
พ.ศ.๒๔๗๓ เลขานุการเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา
พ.ศ.๒๔๘๓ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี และครูสอนพระปริยัติธรรม
ส่านักเรียนวัดสุปัฏนารามวรวิหาร
พ.ศ.๒๔๘๕ รักษาการเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๔๘๕ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๔๘๘ เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหาร และเป็นพระอุปัชฌาย์ ในปีเดียวกันนี้ได้จัดตั้ง
โรงเรียนราษฎร์ของวัดชื่อโรงเรียน “อุบลวิชาคม” ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๖ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียน “สมเด็จ”
พ.ศ.๒๔๙๔ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธ)
พ.ศ.๒๔๙๕ ผู้ช่วยเจ้าคณะภาค ๓ – ๔ – ๕ (ธ)
พ.ศ.๒๕๐๐ รองเจ้าคณะภาค ๘ – ๙ – ๑๐ – ๑๑ (ธ)
พ.ศ.๒๕๐๖ เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ.๒๕๐๘ รองเจ้าคณะภาค ๙, ๑๑ (ธ)
พ.ศ.๒๕๑๑ กรรมการมหาเถรสมาคม และอนุกรรมการกองงานต่าง ๆ
พ.ศ.๒๕๑๒ ประธานกรรมการจัดการโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ.๒๕๑๖ เจ้าคณะภาค ๑๐ – ๑๑ (ธ)
พ.ศ.๒๕๑๗ รักษาการเจ้าคณะภาค ๙ (ธ)

◎ ด้านการเผยแผ่
พ.ศ.๒๔๘๘ ประธานชมรมเยาวชนชายหญิง ให้การศึกษาอบรมศีลธรรม ประจ่าจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๔๙๙ ผู้ให้ก่าเนิด “ยุวพุทธิกสมาคม” อุบลราชธานี
พ.ศ.๒๔๙๒ ประธานกรรมการอบรมศีลธรรมวัฒนธรรม แก่ประชาชนเป็นประจ่าทุกเดือนในทุกตำบลและอำเภอ จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.๒๔๙๙ ผู้ให้กำเนิด ศาสนประเพณี ประจำเมืองอุบลราชธานี เรียกว่า “ธรรมสวนะสามัคคี” คือ ตลอดเทศกาลพรรษา จัดให้มีการฟังธรรมเทศนาหมุนเวียนไปตามวัดในเขตตัวเมือง ๒๒ วัด ซึ่งกิจกรรมนี้ได้มีความมั่นคงเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้
พ.ศ.๒๕๐๑ กรรมการที่ปรึกษาในคณะกรรมการจังหวัดเพื่อการพัฒนาชนบทและพัฒนาชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี จนถึง พ.ศ.๒๕๐๖ ทางการคณะสงฆ์ได้สั่งย้ายให้มาครองวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา

◎ ด้านสาธารณูปการ
ผู้นำในการก่อสร้าง และบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
พ.ศ. ๒๔๘๖ สร้างอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมชื่อ “พันธุลเถระ” ที่วัดสุปัฏนาราม เป็นตึกคอนกรีต ๒ ชั้น ขนาด ๙ x ๓๑ เมตร
พ.ศ.๒๔๘๘ – ๒๔๘๙ บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ ๓ หลังก่ออิฐ ถือปูนขนาด ๘ x ๒๐ เมตรที่วัดสุปัฏนาราม
พ.ศ.๒๔๙๙ รับบริจาคที่ดินในเขต “หนองบัว” อันเป็นหนองน้ำประวัติศาสตร์คู่เมืองอุบลราชธานี จำนวน ๓๐ ไร่ แล้วเริ่มสร้างวัดพระธาตุหนองบัว สร้างองค์พระเจดีย์แบบพุทธคยา มีสัณฐาน ๔ เหลี่ยม ใช้เวลาหลายปีจึงเสร็จ
พ.ศ.๒๕๐๐ สร้าง “พระมงคลมิ่งเมือง” ในเนื้อที่ ๒๔๓ ไร่ เขตอำเภออำนาจเจริญห่างจากที่ตั้งจังหวัดอุบลราชธานี ๗๗ กิโลเมตร ซึ่งทางราชการกำหนดบริเวณพื้นที่ป่าเป็นวนอุทยาน ให้ชื่อว่า “พุทธอุทยาน” เป็นสมบัติของชาติแห่งหนึ่ง โดยความร่วมมือของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย และกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ใช้เวลาก่อสร้างหลายปีจึงสำเร็จ
พ.ศ.๒๕๐๖ เป็นลำดับมา ได้พัฒนาวัดสุทธจินดาและวัดอื่น ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา ดังนี้
๑) ขยายเขตกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ เดิมมีเนื้อที่ ๒,๐๐๐ ตารางเมตร ขยายให้กว้างออกอีกเป็น ๒,๕๐๐ ตารางเมตร ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
๒) เสนาสนะทุกหลังเดิมเป็นอาคารไม้ มี ๘ หลัง ชำรุดทรุดโทรมต้องรื้อ สร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารคอนกรีต ๓ หลัง อาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ ๔ หลัง
๓) สร้างโรงเรียนพระสังฆาธิการ คณะธรรมยุตส่วนภูมิภาค ๑ หลัง ขนาด ๘ X ๒๗ เมตร เป็นอาคาร ๒ ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก โดยศรัทธาบริจาคของกองสื่อสาร กองบินยุทธการทหารอากาศ
๔) จัดหาอุปกรณ์ประจำโรงเรียนพระสังฆาธิการ
๕) สร้างหอฉันเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ขนาด ๖ X ๒๕ เมตร ๑ หลัง
๖) สร้างและปรับปรุงถนนลูกรังภายในวัด ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๒,๖๑๗ เมตร เสริมสร้างให้มีลักษณะเป็นรมณียสถานอยู่เสมอ
๗) สร้างพระอุโบสถเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลังขนาด ๑๐ X ๒๑ เมตร และบริเวณพื้นที่รอบพระอุโบสถเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓,๐๐๐ ตารางเมตร ที่วัดศาลาลอย อำเภอเมืองนครราชสีมา โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองการสื่อสารกรมตำรวจ
๘) สร้างเสนาสนะ ๑๓ หลัง เป็นที่เจริญสมณธรรมของฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐานและสร้างลานพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญให้มั่นคง ที่วัดป่าสาลวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

◎ สมณศักดิ์
พระธรรมบัณฑิต (ญาณ ญาณชาโล) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ดังนี้
พ.ศ.๒๔๘๔ พระครูฐานานุกรมของสมเด็จพระราชาคณะที่ “พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์”
พ.ศ.๒๔๘๗ พระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระศาสนดิลก”
พ.ศ.๒๔๙๗ พระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม
พ.ศ.๒๕๐๐ พระราชาคณะชั้นเทพที่ “พระเทพบัณฑิต”
พ.ศ.๒๕๐๕ พระราชาคณะชั้นธรรมที่ “พระธรรมบัณฑิต”

พระองค์ที่นั่งข้างหลังท่านใส่แว่นตานั้น
คือ เจ้าคุณศรีธรรมวงศาจารย์ ( เกสโร ทองจันทร์ พันธุ์เพ็ง)

◎ มรณภาพ
พระธรรมบัณฑิตมรณภาพ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๙ ที่วัดสุทธจินดา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา สิริอายุได้ ๖๓ ปี พรรษา ๔๒

พระธรรมบัณฑิต เป็นพระมหาเถระด้านคันถธุระที่มีความรู้ ความสามารถทั้งด้านการศึกษา การปกครอง การสาธารณูปการ และการเผยแผ่อย่างมากมาย ท่าคุณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ให้แก่เมืองอุบลราชธานี อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอน และถิ่นอื่นทั่วประเทศ โดยสรุปดังนี้

ในด้านการปกครองดำรงตำแหน่งตามล่าดับดังนี้ เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร พระอารามหลวง เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้ช่วยเจ้าคณะธรรมยุตภาค ๓ – ๔ – ๕
รองเจ้าคณะภาค ๘– ๙ – ๑๐ – ๑๑ (ธ)
เจ้าคณะภาค ๑๐ – ๑๑ (ธ)
รักษาการเจ้าคณะภาค ๙ (ธ)
พระอุปัชฌาย์

กรรมการมหาเถรสมาคมหัวหน้า พระธรรมทูตสาย ๕ และประธานกรรมการจัดการโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลา ๓๖ ปี

ในด้านการศึกษา เป็นครูสอนปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี กรรมการตรวจธรรมสนามหลวง ผู้จัดตั้งโรงเรียนอุบลวิชาคม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสมเด็จ (โรงเรียนเอกชน) ที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี สอนศีลธรรมจรรยามารยาทแก่นักเรียน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ สอนวิชาสามัญและ ธรรมบาลี

ในด้านการเผยแผ่ เอาใจใส่เทศนาสั่งสอนอบรมศีลธรรม จรรยาและแสดงตนเป็น พุทธมามกะ แก่นักเรียนและประชาชน เป็นประธานชมรมเยาวชนชายหญิง ด้านศีลธรรมประจำจังหวัดอุบลราชธานี จัดให้มีโครงการ “ธรรมสวนะสามัคคี” กล่าวคือ ตลอดเทศกาลเข้าพรรษาจัดให้มีการฟังธรรมเทศนาตามวัดในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานี จ่านวน ๒๒ วัด สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นที่ปรึกษาเจ้ามหาชีวิตของราชอาณาจักรลาว และผู้ให้การอบรมศีลธรรมแก่ทหารตำรวจในเขตนครจำปาศักดิ์ในด้านสาธารณูปการ ได้ก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานไว้ตามวัดต่าง ๆ นับเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และพระศาสนาจนกระทั่งทุกวันนี้ จึงนับได้ว่าพระธรรมบัณฑิต เป็นพระมหาเถระชาวอุบลราชธานี อีกองค์หนึ่งที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ปราชญ์” โดยแท้