ประวัติและปฏิปทา
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
วัดบรมนิวาส
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ชาติกําเนิด และชีวิตปฐมวัย
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) รูปนี้ นามสกุล ศุภสร เกิดใน รัชกาลที่ ๔ ณ วันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ํา เวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๓๙๙ เป็นบุตรหัวปีของหลวงสุโภรสุประการ กรมการเมืองอุบลราชธานี นางสุโภรสุประการ (แก้ว สุภสร) เป็นมารดา ชาติภูมิเดิมอยู่บ้านหนองไหล อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสํานักเจ้าอธิการม้าว เทวธุมมี วัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี
ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา
ถึงรัชกาลที่ ๕ อายุ ๑๙ ปี ลาสิกขาบทจากสามเณรมาอยู่กับบิดามารดา ๓ ปีจึงอุปสมบท ที่วัดศรีทอง เมื่อปีฉลู พ.ศ.๒๔๒๐ เจ้าอธิการม้าว เทวธุมมี ซึ่งเป็นลัทธิวิหาริกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระอุปัชฌายะ อุปสมบทแล้วจําพรรษาอยู่ที่วัดชัยมงคล แต่ไปศึกษาเล่าเรียนในสํานักพระอุปัชฌายะ ต่อมาอีก ๔ พรรษา แล้วจึงมาอยู่ที่ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ในสํานักพระปลัดผา ถือนิสสัยในพระอริยะมุนี (เอม) ศึกษาพระปริยัติธรรมกับ พระมหาดิษ และพระอาจารย์บุษย์ ปีเศษ แล้วไปศึกษาในสํานักพระยาธรรมปรีชา (บุญ) ภายหลังย้ายมาอยู่วัดกันมาตุยาราม แล้วกลับไปอยู่วัดเทพศิรินทร์อีก ครั้นพระอริยะมุนี (เอม) และ พระปลัดผา มรณภาพแล้ว จึงย้ายไปอยู่ที่วัดบุบผาราม จังหวัดธนบุรี ในสํานักพระสาสนโสภณ (อ่อน) แต่ยังเป็นเปรียญฯ
ถึงปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ครั้งแรกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค แล้วลาไปปฏิบัติอุปัชฌายะที่จังหวัดอุบลราชธานี ๒ พรรษา ระหว่างนี้ เจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจําปาศักดิ์ สร้างวัดมหาอํามาตย์ ถวายพระสงฆ์ธรรมยุต จึงอาราธนาไปเป็น เจ้าอาวาสวัดนั้น ครั้นถึงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๕ ทรงพระกรุอยู่ที่วัดพิชัยญาติการาม ๑ พรรษา แล้วกลับไปอยู่วัดเทพศิรินทร์อีก ต่อจากนี้ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้ง สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค จึงโปรดให้ไปจัดการศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีได้ ๒ ปีเศษ
ถึงปีกุน พ.ศ.๒๔๔๒ ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระญาณรักขิต แล้วโปรดให้เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน จึงกลับไปอยู่วัดสุปัฏน์ จังหวัดอุบลราชธานี ๕ พรรษา ภายหลังขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ อยู่ที่วัดเทพศิรินทร์บ้าง ไปธุดงค์บ้าง จนถึงปีมะโรง พ.ศ.๒๔๔๗ จึงโปรดให้อาราธนาไปครองวัดบรมนิวาส ถึงปีระกา พ.ศ.๒๔๕๒ โปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ที่พระราชกวี
ถึงรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๗ ทรงโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพโมลี ต่อมาถึง พ.ศ.๒๔๕๘ ได้แต่งหนังสือเทศน์เห็นเป็นอันไม่ต้องด้วยรัฐประศาสนโยบาย บางประการอันเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักร จึงถูกถอดจากสมณศักดิ์คราวหนึ่ง ครั้นถึง วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดกลับตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมธีรราชมหามุนี มีสมณศักดิ์เสมอชั้นเทพและโปรดให้ครองวัดบรมนิวาสตามเดิม ถึงปี พ.ศ.๒๔๖๖ โปรดให้ เลื่อนเป็นพระโพธิวงศาจารย์ เสมอตําแหน่งชั้นธรรม ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๖๘ ทรงพระกรุณาโปรดให้ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะตําแหน่งเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญญวาสี มีนามในสัญญาบัตรว่า “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ญาณวิสุทธจริยาปรินายก ตรีปิฎกคุณาลังการ นานาสถานราชอมนีย์ สาธุการธรรมากร สุนทรศีลาทขันธ์” มีฐานานุกรรม ๖ รูป คือ พระครูปลัดนิพันธโพธิพงศ์ ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูธรรมธร ๑ พระครูสังฆรักษ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ได้เคยรับราชการทางคณะสงฆ์ในหน้าที่สําคัญๆ หลายตําแหน่ง คือ เป็นเจ้าคณะใหญ่ เมืองนครจําปาศักดิ์ เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน มณฑลจันทบุรี มณฑลราชบุรี มณฑลกรุงเทพฯ
การปกครอง ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอัธยาศัยงดงามในการคุ้มครองศิษยานุศิษย์เป็นต้นว่าผู้น้อย ทําสิ่งใดในหน้าที่ของท่าน ถ้าทําถูกต้องยกให้เป็นความดีความชอบของผู้น้อย ถ้าบางประการเหลือกําลังทําพลาดผิดไปรับเอาเสียเอง ไม่ให้เป็นความผิดตกแก่ผู้น้อย และเป็นผู้มีใจกว้างขวางเฉลี่ยลาภผลเกื้อกูลแก่สพรหมจารี ไปไหนอยู่ไหน ยังคุณงามความดีให้เกิดแก่หมู่เป็นคณโสภณะผู้ทําหมู่ให้งามแท้ ไม่ใช่คณปโทสะผู้ทําร้ายหมู่ และไม่ใช่คณปูรกะผู้สักแต่ว่าทําให้เต็มตามจํานวนของหมู่ และเป็นผู้ฉลาดในเชิงช่างเปลี่ยนภาพให้ยืนอยู่ในหลัก ๓ หลัก คือ เย็น ร้อน และอุ่น เย็นก็ไม่ถึงแก่บูด ร้อนก็ไม่ถึงแก่ไหม้ให้เป็นไปพอเหมาะแก่เหตุการณ์ คือ อุ่น ใส่ใจในการป่วยเจ็บ ไม่ทอด ธุระในการเกื้อกูลด้วยปัจจัยลาภทั้ง ๔ ดังนี้ เป็นตัวอย่างจึงเห็นว่าการปกครองดี
การเล่าเรียน ท่านผู้นี้เป็นผู้ใส่ใจในการศึกษาของกุลบุตรดีมากทั้งภาษาบาลีทั้งภาษาไทย ดังเมื่อยังเป็นเปรียญขึ้นไปจังหวัดอุบลราชธานีคราวแรก แม้แต่เพียงเที่ยวตําบลต่างๆ ถ้าไปนอนค้างอ้างแรมต้องให้ศิษย์นําแบบเรียนไปด้วยว่างกิจอื่นก็สอน ที่สุดพักใต้ต้นไม้ตามป่าบางคราวก็สอน ทั้งนี้ชี้ให้เห็นในสมัยต้น ครั้นสมัยต่อมาท่านได้ตั้งอยู่ในภาวะเป็นผู้ใหญ่ก็ยิ่งจัดให้เป็นกิจลักษณะขึ้นโดยลําดับ เช่น เมื่ออยู่เมืองนครจําปาศักดิ์ ตั้งโรงเรียนขึ้นที่ วัดมหาอํามาตย์ (วัดนี้พระยามหาอํามาตย์ หรุ่น กับเจ้านครจําปาศักดิ์ สร้าง) ให้ชื่อว่า “โรงเรียนบุรพาสยามเขตร” สอนทั้งภาษาบาลี ทั้งภาษาไทย ครั้นกาลต่อมาได้เข้ามากรุงเทพฯ แล้วกลับออกไปอยู่อุบลก็ได้ตั้งโรงเรียนอุบลวิทยาคม ขึ้นที่วัดสุปัฏน์ สอนทั้งภาษาบาลี ทั้งภาษาไทย ครั้นได้ดํารงตําแหน่งเจ้าคณะมณฑลขึ้น ก็จัดการศึกษาทั่วไปจนได้เข้ามาดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ก็จัดการศึกษาของกุลบุตรให้เจริญดัง ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้ถึงวัดสิริจันทรนิมิตรที่เขาบ่องาม (บัดนี้สําเนียงได้กลายไปเป็นเขาพระงาม) จังหวัดลพบุรี และวัดเจดีย์หลวงนครเชียงใหม่ ก็จัดการศึกษาของกุลบุตรให้รุ่งเรืองขึ้นโดยควรแก่ฐานะ และข้อที่ลืมเสียมิได้นั้นคือ เมื่อท่านมากรุงเทพฯครั้งหนึ่งคราวใดเป็นต้องนํากุลบุตรเข้ามาทุกคราวเพื่อให้ได้เล่าเรียนไม่คิดว่าเหนื่อยยาก ทั้งนี้จึงเห็นว่าใส่ใจในการศึกษาของกุลบุตร
การสั่งสอน ท่านผู้นี้เป็นผู้ใส่ใจในการสั่งสอน ไม่เลือกชั้นเลือกปูนมุ่งแต่ให้ผู้ที่ได้รับคําสอน บรรลุประโยชน์โดยควรแก่ภาระของตน ใกล้หรือไกลไม่ว่าอุตสาหะสัญจรไปในพระราชอาณาจักร แทบทุกมณฑล แม้นอกพระราชอาณาจักรก็ยังสัญจรไปถึงเมืองเชียงตุง (คือเชียงถุงหรือธง) อยู่ไหนไปไหนถ้ามีโอกาสเป็นต้องแนะนําสั่งสอนแม้ที่สุดป่วยอยู่ในครั้งสุดท้ายนี้ ก็ยังแสดงธรรมสั่งสอน ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา เป็นผู้ฉลาดในเชิงชี้ให้ผู้ฟังเห็นเหตุผลแจ่มแจ้งในอรรถธรรมเข้าใจ ชักชวนให้อาจหาญ และให้ร่าเริงในสัมมาปฏิบัติ จัดเป็นธรรมกถูกเอกมีเชาวนะปฏิภาณว่องไว เฉียบแหลม วิจารณ์อรรถธรรมอันลุ่มลึกให้แจ่มแจ้ง ใช้แต่สั่งสอนด้วยมุขเท่านี้หามิได้ ยังแต่งไว้ ทั้งคําร้อยแก้วทั้งคํากาพย์ ทั้งให้บันทึกไว้มากมายถึงท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว หนังสือทั้งปวงนี้ยังจะ สั่งสอนโลกได้ยึดยาว ทั้งนี้นับว่า เป็นผู้ใส่ในใจในการสั่งสอนดีมาก
การก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ท่านผู้นี้เป็นผู้พอใจในการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุและปูชนียวัตถุมากมาย แต่จะนํามาซึบางประการส่วนที่สําคัญเป็นต้นว่า การปฏิสังขรณ์ในวัดบรมนิวาส คือ พระอุโบสถแล พระอสีติมหาสาวก พร้อมทั้งวิหารคดและพระพิชิตมารซึ่งเป็นพระประธานในศาลา อุรุพงษ์ คือเป็นพระลีลาเก่าเชิญมาจากจังหวัดราชบุรี และในวัดบวรมงคล คือพระอุโบสถ พระระเบียง ตลอดทั้งวิหารคด ก็ได้เป็นผู้สนับสนุนยังการปฏิสังขรณ์ให้สําเร็จ ส่วนการก่อสร้างใน วัดบรมนิวาส เช่น โรงเรียนทั้งภาษาบาลี ทั้งภาษาไทย ทั้งสระน้ํา ทั้งศาลาอุรุพงษ์ ทั้งระฆัง แล หอระฆัง ตลอดถึงกุฏิทั้งสิ้นล้วนก่อสร้างใหม่เป็นตึกทั้งนั้น แต่คณะกุฏิและหอเขียวส่วนล่างอาศัย ผนังเดิม ส่วนชั้นที่ ๒ ก่อใหม่ เปลี่ยนหลังคาไปตามสมัยนิยม ทั้งมีนามเจ้าของทรัพย์ประกาศไว้ แทบทุกกุฏิ ทั้งปรากฏในหนังสืออัตตประวัติของท่านด้วย นัยว่ายังไม่ปรากฏแต่หอเขียวกับหอระฆัง หอเขียวเป็นกุฏิใหญ่ในวัดนี้หม่อมเจ้าหญิงเมาลี หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า หม่อมเจ้าหญิงโอฐอ่อน หม่อมเจ้าหญิงคําขาว และหม่อมเจ้าหญิงรัมแขสกุล ปราโมทย์ ณ อยุธยา ทรงสร้างด้วยสามัคคี ธรรมแห่งคณะญาติ และหอระฆังนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนมรุพงศ์สิริวัฒน์ทรงสร้างทั้ง ระฆังด้วย แลได้เป็นผู้ประเดิมสร้างวัดเสน่หานุกูล จังหวัดนครปฐม ส่วนวัดสิริจันทรนิมิตร จังหวัดลพบุรีนั้น (วัดนี้พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขนานนาม) สิ่งที่สําคัญที่ก่อสร้างคือ พระพุทธปฏิมากร อันมีนามว่า พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล ซึ่งมีหน้าตักกว้าง ๑๑ วา ๑ ศอก สูงทั้ง รัศมี ๑๘ วา พระอุโบสถทั้งพระประธานและพระกัจจายน์ ทั้งวิหาร ตลอดถึงถ้ําและกุฏิ ศาลา ทั้งบ่อน้ํา ทั้งได้นําในการก่อสร้างมณฑป วัดบ้านแป้ง จังหวัดสิงห์บุรีและในตอนอวสานสมัยนี้ก็ได้ พร้อมด้วยท่านผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายซื้อวิหารเก่าที่วัดเจดีย์หลวง นครเชียงใหม่
การปฏิบัติ ท่านผู้นี้เป็นผู้ยินดีในทางสัมมาปฏิบัติจัดเข้าในจํานวนที่เรียกว่า สันโดษมักน้อย ไม่ค่อยสะสมบริขารเกินกว่าเหตุ ใฝ่ใจในสัลเลขปฏิบัติ ประกอบด้วยธุดงควัตรเที่ยวรุกขมูลแทบทุกปี ขึ้นเขาลงห้วยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก ใคร่ธรรม ใคร่วินัย รักษาขนบธรรมเนียมของสมณะที่ดีไว้มั่นคง สังเกตข้อปฏิบัติไม่มีหย่อน ประหนึ่งมีสติสัมปชัญญคุณทุกเมื่อ เพราะมีความเยือกเย็น เป็นผลให้แลเห็น อาจสันนิษฐานได้ว่าคงรู้เห็นอรรถธรรมในเพราะสัมมาปฏิบัติเป็นแม่นมั่น ทั้งมีความอาจหาญอดกลั้นทนทานต่อเหตุการณ์ ยิ่งนักตัวอย่างที่จะพึงชี้ให้เห็นดังเมื่อป่วยครั้งสุดท้าย นี้แม้ถึงโรคาพาธอันมีพิษเผ็ดแสบครอบงําย่ํายีบีฑาประกอบด้วยทุกขเวทนาอันกล้าหยาบ เห็นปาน นั้นก็ไม่แสดงอาการที่ผิดแผกรักษาความเป็นปกติไว้ด้วยดีมิหนําซ้ํายังให้โอวาท แก่ผู้เยี่ยมเยือนและ ผู้ปฏิบัติเสียอีกยังกล่าวถ้อยคําอันเป็นที่จับใจบ่อย ๆ ว่า “เราเป็นนักรบ ได้ฝึกหัดวิธีรบไว้ก็ไม่เสียที ได้ผจญต่อพยาธิธรรมและมรณธรรมจริงๆ ไม่เหมือนนักรบอื่นฝึกหัดวิธีรบไว้แล้ว บางเหล่า ตายเสียเปล่าก็ไม่ได้เข้าสู่สมรภูมิ ดังนี้เหตุการณ์ครั้งนั้นจึงจัดว่าเป็นผู้อาจหาญอดกลั้นอดทนทาน ไม่สะทกสะท้านต่อพยาธิธรรมและมรณธรรมแม้ถึงในอวสานสมัยจวนแตกดับก็มีสติสัมปชัญญคุณรอบคอบไม่หลงใหลไม่ฟันเฟือน ไม่กระวนกระวาย แตกดับไปด้วยความสงบเงียบ หายดุจหลับไป” ฉะนั้น ด้วยเหตุผลทั้งปวงนี้จึงว่าท่านเป็นผู้ปฏิบัติได้ผลโดยควรแก่ภาวะแท้
ธรรมโอวาท
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ สิริจนฺโท ท่านได้แสดงธรรมโอวาทไว้ในข้อความบางตอน ของหนังสือ อัตตโนประวัติและธรรมบรรยายของท่านดังนี้ว่า
การที่เล่ามาให้ฟังตลอดเรื่อง ได้เล่าทางลาภแลยศแลกิจจานุกิจให้เห็นว่า อัตตโนมีความสุข สบาย เจริญด้วยลาภยศโดยลําดับแต่อุปสมบทมาตลอดอายุได้ ๗๐ ปีบริบูรณ์
ต่อนี้จะเล่า อตฺตตฺถจริยา ในทางธรรมปฏิบัติไว้สู่ฟังอีกโสดหนึ่ง คือในระหว่างอัตตโน มีอายุ ๒๐ ปีล่วงแล้ว อัตตโนมีความจับใจพระพุทธโอวาทข้อที่ว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็น ที่พึ่งแก่ตน เมื่ออัตตโนยังไม่ฉลาด ก็ถือว่าร่างกายจิตใจนี้เอง เป็นตน จึงได้ตั้งหน้าศึกษาเล่าเรียน พากเพียรรักษาตนให้ตั้งอยู่ในสุจริตทุกเมื่อ มีหิริโอตตัปปะประจําอยู่เสมอ ครั้นภายหลังได้ศึกษา ธรรมหนักขึ้น ได้อาศัยหนังสือสังขิตโตวาทของเจ้าคุณสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ) วัดโสมนัส แสดงว่า
“เปล่าไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ ไม่มีใครตาย นามรูป ธาตุขันธ์ อายตนะ เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไปต่างหาก”
ดังนี้ก็ตั้งใจปฏิบัติตามแต่เกิดความลังเลไม่แน่ใจ เพราะผิดความเห็นเดิมไป แต่เริ่มเห็นว่าร่างกายจิตใจเป็นตน คือ รูปนาม ธาตุ ขันธ์ อายตนะนั่นเอง ครั้นมาพิเคราะห์ตามตําราของท่านว่าไม่ใช่ตน ยิ่งเกิดความสงสัยใหญ่โตขึ้น แต่ก็คงเชื่อว่า นามรูป ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ตามท่านนั้นเอง แต่ติดอนัตตาอยู่ประมาณ ๑๐ ปี เมื่อ สังเกตดูผล คือ ความสงบ ราคะ โทสะ โมหะ ก็ไม่สู้จะมีอํานาจอะไรนัก ใจก็จางออกจากตํารายึดไตรสิกขา เชื่อแน่ว่าท่านที่เดินตามไตรสิกขาได้สําเร็จมรรคผลนับด้วยแสนด้วยโกฏิเป็นอันมาก เราจะมายึดมั่นใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่เพียงเท่านี้ จะถือเอาว่าเป็นปัญญาก็ยังกระไรอยู่ จะเสียเวลามากไป แต่นั้น ก็ตั้งหน้าเจริญสติ เพื่อจะให้เป็นองค์สัมมาสมาธิ แต่วิธีคุมใจเป็นของลําบากมาก เพราะเป็นผู้เกี่ยว อยู่ในหมู่ในคณะ พรักพร้อมอยู่ด้วยลาภแลยศ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีเวลาปลีกออกหากายวิเวกได้ บ้างบางสมัย เนื้อความในธรรมนิยามสูตรทําให้เกิดความฉลาดขึ้นมาก เหตุที่ท่านวางท่ากระเหย่งไว้ ทําให้เกิดวิจิกิจฉาขึ้นมาก ที่แสดงว่าสังขารทั้งสิ้นไม่เที่ยง สังขารทั้งสิ้นเป็นทุกข์ ธรรมทั้งสิ้นเป็น อนัตตา ทําไมจึงไม่แสดงว่าสังขารทั้งสิ้นเป็นทุกข์ ธรรมทั้งสิ้นเป็นอนัตตา ทําไมจึงไม่แสดงว่าสังขาร ทั้งสิ้นเป็นอนัตตา เกิดความสงสัยว่า สังขารกับธรรมนี้จะต่างกันอย่างไร ? สังขารก็ชื่อว่า ธรรม ส่วนธรรมนั้นจะต่างกับสังขารอย่างไร? คงได้ความตามนัยคัดคัปปสาทสูตรที่ว่า สังขตา วา อสังขตา วา วิราโค เตสัง อัคคมักขายติ สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี ผู้รู้จริงย่อมกล่าวว่า วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้ คิดจัดเอาตามชอบใจ สังขตา วา คิดจัดเป็นสังขารโลก ได้แก่จิต เจตสิก รูป ๓ ประเภท เป็นอุปาทินนกสังขาร อสังขตา วา เป็นสังขารธรรม ได้แก่นิพพาน กับบัญญัติธรรมทั้งสิ้น เป็นอนุปาทินนกสังขาร ที่ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นั้น ท่านหมายถึง สังขตธรรม และอสังขตธรรมเป็นอนัตตาแต่มีวิเศษต่างกัน ส่วนสังขตธรรมนั้น อาจดับจากตัวได้ ตามนัยที่ว่าเตสัง รูปสโม สุโข ความเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเป็นสุข คือเป็นของไม่มีอยู่แต่เดิมจึง ระงับดับได้
ส่วนอสังขตธรรมนั้น ชีวิตยังมีอยู่ดับไม่ได้ เพราะเป็นของมีอยู่แต่เดิม เป็นแต่อนัตตาคง เป็นธรรมอยู่ตามหน้าที่ คงได้ความว่า ตนเป็นธรรม ธรรมเป็นตน จึงเป็นอตฺตทีปา ธมฺมทีปา อตฺตสรณา ธมฺมสฺสรณา ตรงกับวักกลิสูตรว่า โย ธัมมัง ปัสสติ โส มัง ปัสสติ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ดังนี้ เมื่อปฏิบัติจนเห็นตัวเป็นธรรมเห็นธรรมเป็นตัวแล้ว ก็เป็นประโยชน์ในร่างกาย จิตใจทุกแผนก ที่ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน ก็ได้ความชัดเจนขึ้น แต่ก่อนเห็น ร่างกายจิตใจนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอสุจิเป็นอสุภัง หาแก่นสารมิได้ เมื่อสังขารดับแล้ว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุจิ อสุภัง ดับไปตามกันหมด ยังเหลืออยู่แต่ธรรมซึ่งเป็นของวิเศษให้เรา ได้พึ่งพาอาศัยอยู่เป็นสุขทุกวัน ร่างกายจิตใจนี้กลายเป็นแก้วสารพัดนึกสําหรับตัวเราทั้งสิ้น จะ จําแนกให้ดู ดังที่ว่าร่างกายจิตใจนั้นได้แก่ สกลกายทั้งสิ้น คือ ตา หู จมูก ปาก ทวารหนัก ทวารเบา มือ เท้า อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง ล้วนแต่เป็นสมบัติอันประเสริฐสําหรับตัวเราแต่ละอย่าง ๆ ล้วนแต่ ของเป็นเอง สําเร็จมาด้วยปุญญาภิสังขารทั้งสิ้น จึงได้บริบูรณ์เช่นนี้ ถึงแม้เราจะเป็นคนฉลาด เป็นช่างวาดช่างเขียนจะตกแต่งเพิ่มเติมให้ดีขึ้นไปอีกก็ไม่ได้ ได้มาอย่างไรก็จะต้องอาศัยใช้สอยกันไป จนวันตาย แต่งได้ก็แต่เพียงให้ประพฤติดีประพฤติชั่วเท่านี้เองที่จะแต่งให้สูงให้ต่ําให้ดําให้ขาวให้มี อายุยืนไม่รู้จักตาย แต่งไม่ได้
ที่ว่าร่างกายจิตใจเป็นแก้วสารพัดนึกนั้น พึ่งพิเคราะห์ดูเรามีตานึกจะดูอะไรก็ดูได้ เรามีหู นึกจะฟังอะไรก็ฟังได้ เรามีจมูกอยากจะรู้กลิ่นอะไรก็ได้ เรามีปากมีลิ้นนึกอยากจะรู้รสอะไรก็รู้ได้ นึกอยากจะกินอะไรก็กินได้ เรามีมือนึกอยากจะทําอะไรก็ทําได้ เรามีเท้านึกอยากเดินไปทางใดก็ไปได้ เรามีจิตมีใจนึกอยากจะน้อมนึกตรึกตรองอะไรก็ได้สมประสงค์ ผู้รู้ตนว่าเป็นของวิเศษอย่างนี้ ย่อม
เป็นเหตุให้ได้ความสุข คือใช้ตามหน้าที่ ไม่ให้วัตถุแหล่านั้นเป็นข้าศึกแก่ตน คือ เกิดปฏิฆะโทมนัส ยินดียินร้ายเพราะวัตถุของตน นิสัยของผู้ฉลาดย่อมไม่ให้วัตถุวิเศษของตนเป็นข้าศึกแก่ตน อารมณ์ ที่ผ่านไปผ่านมาเลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นประโยชน์ ส่วนที่จักเป็นโทษปล่อยให้ผ่านไปเสีย ไม่รับไม่เก็บ เข้ามาไว้ คือ หัดชําระวัตถุภายในนี้ให้ผ่องใสสมกับที่ว่าเป็นแก้วสารพัดนึกอยู่ทุกเมื่อ อาศัยความหัด บ่อย ๆ สติก็แก่ขึ้น วัตถุภายในก็ปราศจากโทษ คือ ไม่เป็นข้าศึกแก่ตน ให้ความสุขแก่ตนทุกอริยาบถ จึงสมกับพุทธโอวาทที่ทรงสั่งสอนไว้ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแก่ตน
ถ้าว่าโดยสมมติสกลกายนี้เองเป็นตน ถ้าว่าโดยสกลกายนี้เองเป็นธรรม ที่ว่า อตุตสรณา ธมมสรณา ให้มีตนเป็นที่ระลึกนี้ คือ ให้เห็นว่าตนเป็นธรรม ธรรมเป็นตน ความรู้ธรรมเป็นพุทธะ สกลกายที่ทรงคุณความดีไว้เป็นธรรม ความประพฤติให้คุณความดีมีขึ้นในตนเป็นสังฆะ ผู้ที่มี พุทธะ ธรรมะ สังฆะในตนอย่างนี้ ชื่อว่าผู้ถึงไตรสรณคมน์ในชาตินี้ ตลอดชาติชั้นศีล ชั้นสมาธิ ชั้นปัญญา ชั้นวิมุตติ ชั้นวิมุตติญาณทัสสนะ สุดแท้แต่วาสนาของใครจะถึงได้ในชั้นใด จะต้องได้รับ ผลคือความสุขตามชั้นตามภูมิของตนทั้งนั้น เล่าความประพฤติธรรมไว้ให้ศิษยานุศิษย์ฟัง เพื่อให้ พากันมีที่พึ่ง อย่าเป็นคนลังเลยึดให้มั่นคั้นให้ตาย อย่างมงายเชื่อเกจิอาจารย์ที่สอนนอกรีตนอกทาง ดังพวกที่สอนว่าให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถวิปัสสนาไหว้พระสวดมนต์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นเมถุน เว้นข้าวค่ํา เหล่านี้เป็นกิเลส ตัณหาทั้งนั้น การไม่ทํานั่นแลเป็นอันหมดกิเลสตัณหา สอน อย่างนี้เป็นลักษณะแห่งอกิริยทิฏฐิถือว่าความไม่ทําเป็นความบริสุทธิ์ เป็นมิจาทิฏฐิอย่าพากันหลงเชื่อ ถ้าใครหลงเชื่อจะพากันจนทั้งชาตินี้ชาติหน้า นิพพานเช่นนั้นเป็นนิพพานของอวิชชา อย่าพากัน หลงใหลไปตามเขา
ส่วนนิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นนิพพานอันมั่งมี ที่เรียกว่านิพพานสมบัติ คือ ทาน, ศีล เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา, แลโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐานเป็นต้น มีอัฏจังคิกมรรคเป็นที่สุด เหล่านี้เป็นนิพพานสมบัติ ถ้าไม่มีสมบัติ อย่างที่แสดงไว้นี้ มีในตนเต็มรอบหรือยัง ถ้าไม่เต็มรอบยังเป็นคนจนอยู่ไปมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นเป็น คนจนก็ไปได้ แต่นิพพานจนๆ คือนิพพานอนัตตานิพพานอวิชชาเท่านั้น พวกเราเป็นสาวกของ พระพุทธเจ้าต้องประพฤติตนให้มั่งมีเหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบริบูรณ์ด้วยลาภด้วยยศ ด้วยความสรรเสริญแลด้วยความสุข พระพุทธศาสนาตั้งมั่นถาวรมาได้กว่าสองพันปีนี้ ไม่ได้ตั้งมั่น ถาวรมาด้วยความจนเลยตั้งมั่นถาวรมาได้ด้วยความมั่งมีโดยแท้แม้ตัวของอัตตโนผู้แนะนําท่านทั้งหลาย ก็หัดเดินตามจรรยาของพระพุทธเจ้าจึงบริบูรณ์ด้วยลาภแลยศแลความสรรเสริญกับความสุข เป็นผู้มั่งมีทั้งสมบัติภายนอกแลสมบัติภายใน
ปัจฉิมบท
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เปรียญ ๔ ประโยค เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร อาพาธเนื่องด้วยโรคชราถึงมรณภาพ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ คํานวณอายุได้ ๗๗ ปี พรรษา ๕๕ ได้พระราชทานโกศโถ มีชั้นรองสองชั้นฉัตรเบญจา ๔ ประกอบศพเป็นเกียรติยศ